เมนู

สาบสูญเป็นต้น จึงตรัสคำว่า "ยา ฐิติ โส อสมฺโมโส" เป็นอาทิ (แปลว่า
ความดำรงอยู่ อันใด นั้น คือ ความไม่สาบสูญเป็นต้น). อันที่จริง ใน
ข้อนี้ แม้จะกล่าวว่า บทหลัง ๆ เป็นคำอธิบายเนื้อความของบทหน้า ๆ และ
บทหน้า ๆ เป็นคำอธิบายเนื้อความของบทหลัง ๆ ดังนี้ก็ควร. คำที่เหลือในที่
ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล. นี้เป็นการวรรณนาตามพระบาลีก่อน.

วินิจฉัยกถาพระบาลี


ก็พึงทราบวินิจฉัยกถาในพระบาลีต่อไป
จริงอยู่ สัมมัปปธานกถานี้ มี 2 อย่าง คือ เป็นโลกียะอย่าง
หนึ่ง เป็นโลกุตตระอย่างหนึ่ง.
ในสองอย่างนั้น สัมมัปปธานที่เป็นโลกิยะ
ย่อมมีในบุพภาคทั้งหมด. สัมมัปปธานนั้น พึงทราบในขณะที่เป็นโลกิยมรรค
โดยปริยายแห่ง กัสสปสังยุต.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ดูก่อนอาวุโส บรรดาธรรมเหล่า
นั้น สัมปปธานนี้มี 4. สัมมัปธาน 4 เป็นไฉน ? ดูก่อนอาวุโส ภิกษุ
ในศาสนานี้ ย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "อกุศล
ธรรมอันลามกของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดพึงเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหาย" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยคิดว่า "อกุศล
ธรรมอันลามกของเราที่เกิดขึ้นแล้ว อันเราไม่ละเสีย ก็จะพึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียร ด้วยคิดว่า "กุศล-
ธรรมทั้งหลายของเรา ที่ยังไม่เกิด เมื่อไม่เกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความ
พินาศ" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "กุศล
ธรรมทั้งหลายของเรา ที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไป (หมายความถึงการ
เสื่อมไป) ก็จะพึงเป็นไปเพื่อความพินาศ" ดังนี้.

ก็ในคำว่า "กุศลธรรมของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น" นี้ ได้แก่ สมถ-
วิปัสสนา และ มรรค.
สมถวิปัสสนานั่นแหละ ชื่อว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนมรรค
เกิดครั้งเดียวแล้วก็ดับไป ย่อมชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อความพินาศ เพราะว่ามรรค
นั้น ให้ความเป็นปัจจัยแก่ผลเท่านั้นแล้ว ก็ดับไป.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ว่า สมถวิปัสสนาในกุศลอันมีมาก่อนนั้น
แหละก็พึงถือเอา. แต่ข้อนั้นหาควรไม่ เพราะบรรดากุศลธรรมทั้งหลายมี
สมถวิปัสสนาและมรรคนั้น สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไปย่อม
เป็นไปเพื่อความพินาศ แล.
เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความ พึงทราบเรื่องต่อไปนี้
ได้ยินว่า พระเถระผู้ขีณาสพองค์หนึ่ง กับสามเณรผู้ได้สมาบัติเป็น
ผู้ถือภัณฑะ มาสู่มหาวิหารจากชนบท ท่านคิดว่า "เราจักไหว้พระเจดีย์ และ
มหาโพธิ์" ดังนี้ แล้วได้เข้าไปสู่ปิงครบริเวณ. เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไหว้
พระเจดีย์อยู่ในเวลาเย็น ท่านมิได้ออกไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์. ถามว่า
เพราะเหตุใด. ตอบว่า เพราะพระขีณาสพทั้งหลายเป็นผู้เคารพในพระรัตนตรัย
มาก ฉะนั้น เมื่อภิกษุสงฆ์ไหว้แล้วหลีกไปแล้ว พระเถระจึงคิดว่า "ในเวลา
ที่มนุษย์ทั้งหลายกินถั่ว (ของกินหลังอาหาร) ตอนเย็น เราจักไม่ให้ใคร ๆ รู้
แม้แต่สามเณร แล้วจักไปไหว้พระเจดีย์" ดังนี้ เป็นผู้เดียวเท่านั้นออกไปแล้ว.
สามเณรคิดว่า "เหตุอะไรหนอ พระเถระจึงเป็นผู้เดียวไปในเวลาที่
ไม่สมควร เราจักทราบเหตุนั้น" จึงติดตามอุปัชฌาย์ของตนออกไป. พระเถระ
ไม่พิจารณา จึงไม่ทราบการมาของสามเณรนั้น ท่านได้ขึ้นไปสู่ลานของพระ-
มหาเจดีย์ทางประตูด้านทิศทักษิณ. แม้สามเณรก็ขึ้นไปตามทางนั้นเหมือนกัน.

พระมหาเถระแลดูพระมหาเจดีย์แล้วถือเอาปีติอันมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ แล้วก็
ประมวลมาซึ่งพุทธคุณทั้งปวงด้วยใจ เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วไหว้พระ-
มหาเจดีย์อยู่. แม้สามเณรเห็นอาการต่อกิริยาที่ไหว้ของพระเถระแล้ว จึงคิด
ว่า "อุปัชฌาย์ของเรา มีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งไหว้อยู่ ท่านได้ดอกไม้แล้วหรือ
จึงทำการบูชา" ดังนี้. เมื่อพระเถระไหว้แล้วลุกขึ้นแล้ว ก็ตั้งอัญชลีโดยเคารพ
ยืนแลดูพระมหาเจดีย์อยู่ สามเณรจึงกระแอมไอ ให้พระเถระทราบความที่
ตนมาแล้ว.
พระเถระหันมาดูแล้วถามว่า "เธอมาเมื่อไร" สามเณรจึงเรียนว่า
"ท่านขอรับในกาลที่ท่านไหว้พระเจดีย์ ท่านมีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งไหว้พระเจดีย์
ท่านได้ดอกไม้ทั้งหลายบูชาหรือ พระเถระกล่าวว่า "เออ สามเณร ชื่อว่า
การบรรจุพระธาตุมีประมาณเท่านี้ ในที่ใดที่หนึ่งเหมือนพระเจดีย์นี้มิได้มี
มหาสถูปเห็นปานนี้ไม่เป็นเช่นกับสถูปอื่น ใคร ๆ ได้ดอกไม้ทั้งหลายแล้วจะไม่
พึงบูชาเล่า"
สามเณรจึงเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงรอ
กระผมจักนำดอกไม้มา" แล้วเข้าฌาน ในขณะนั้นนั่นแหละไปสู่หิมวันต์ด้วย
ฤทธิ์ ถือเอาดอกไม้ทั้งหลาย อันถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น ให้เต็มธมกรก
(กระบอกกรองน้ำ)แล้ว เมื่อพระเถระไปจากมุขด้านทิศใต้ ยังไม่ทันถึงมุขด้าน
ทิศตะวันตก มาแล้ว เรียนท่านว่า "ท่านขอรับ ขอท่านวางธมกรกดอกไม้ที่มือ
แล้วบูชาเถิด" พระเถระกล่าวว่า "สามเณร ดอกไม้ของเราน้อยมาก" สาม-
เณรเรียนท่านว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนึกถึงคุณทั้งหลายของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วบูชาเถิด".

พระเถระก้าวขึ้นไปตามบันไดที่ติดมุขทางทิศตะวันตกแล้ว เริ่มกระทํา
การบูชาด้วยดอกไม่ ณ แท่นบูชา ซึ่งตั้งอยู่ภายในที่นั้นแล พื้นที่แห่งแท่น
บูชาก็เต็มไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย และตกลงไปยังพื้นชั้นล่าง ให้เต็มสูงขึ้นมี
ประมาณถึงหัวเข่า จากนั้น พระเถระก็หยั่งลงสู่ระเบียงเบื้องหลังบนฐาน
สำหรับบูชาแล้วบูชาอยู่ แม้ดอกไม้ก็เต็มรอบแล้ว พระเถระทราบความที่
ดอกไม้เหล่านั้นเต็มรอบแล้ว จึงเกลี่ยดอกไม้ไปในพื้นเบื้องต่ำแล้วจึงไป ลาน
แห่งพระเจดีย์ทั้งปวงก็มีดอกไม้เต็มรอบแล้ว เมื่อลานพระเจดีย์มีดอกไม้เต็ม
รอบแล้วจึงกล่าวว่า "สามเณร ดอกไม้ยังไม่หมด" สามเณรเรียนท่านว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงคว่ำธมกรก พระเถระจึงคว่ำปากธมกรกแล้ว
สะบัด ดอกไม้ทั้งหลายจึงสิ้นไปในกาลนั้น.
พระเถระให้ธมกรกคืนแก่สามเณรแล้วทำปทักษิณพระเจดีย์เดินไปตาม
กำแพงประมาณ 60 ศอก แล้วไหว้ในทิศทั้ง 4 ขณะที่กำลังเดินไปสู่บริเวณ
ก็คิดว่า "สามเณรนี้มีฤทธิ์มาก จักอาจเพื่อรักษาอิทธานุภาพนี้ได้ตลอดไปหรือ
ไม่หนอ" ในลำดับนั้นก็ทราบว่า สามเณรนี้จักไม่อาจรักษาฤทธานุภาพไว้ได้
จึงได้กล่าวกะสามเณรว่า "สามเณร บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก แต่ในกาลสุดท้ายที่
ฤทธิ์เห็นปานนี้พินาศไปแล้ว เธอจักดื่มน้ำข้าวอันช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือ
ขยำแล้ว" ดังนี้. ก็ข้อที่ฤทธิ์เสื่อมไปนี้ เป็นข้อบกพร่องของความเป็นคนหนุ่ม
สามเณรนั้นสลดจิตด้วยคำของอุปัชฌาย์ ทั้งมิได้กล่าวขอกรรมฐานว่า " ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงบอกกรรมฐานแก่กระผม" ดังนี้ แต่คิดว่า "อุปัชฌาย์
ของเราพูดอะไร" ได้เดินไปแล้ว เหมือนบุคคลผู้ไม่ได้ยินถ้อยคำนั้น.
พระเถระครั้นไหว้มหาเจดีย์และมหาโพธิ์แล้ว ให้สามเณรถือบาตร
และจีวร ได้ไปสู่มหาวิหารชื่อว่า กุเฏฬิติสละโดยลำดับ. สามเณรผู้ติดตาม

อุปัชฌาย์ ไม่ปรารถนาจะเดินไปภิกขาจาร จึงถามท่านว่า ท่านขอรับ ท่าน
จะเข้าไปสู่บ้านไหน เมื่อทราบว่า บัดนี้ อุปัชฌาย์ของตนจักถึงประตูบ้านแล้ว จึง
ถือเอาบาตรและจีวรของตนและของอุปัชฌาย์มาทางอากาศ ถวายบาตรและจีวร
แก่พระเถระแล้วจึงเข้าไปเพื่อบิณฑบาต. พระเถระได้กล่าวตักเตือนสามเณร
ตลอดกาลทั้งปวงว่า "สามเณร เธออย่าได้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าฤทธิ์
ของปุถุชน เป็นสภาพหวั่นไหว ไม่แน่นอน ได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น
อันเป็นอสัปปายะแล้ว ย่อมแตกไปโดยเหตุ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อ
สมาบัติอันมีอยู่เสื่อมไปแล้ว ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่อาจตั้งมั่นในการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์
" ดังนี้. สามเณรคิดว่า อุปัชฌาย์ของเราพูดอะไร
มิได้ปรารถนาจะฟัง กระทำอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ. พระเถระเมื่อทำการไหว้
พระเจดีย์โดยลำดับแล้วไปสู่วิหาร ชื่อกัมพุเปณฑวิหาร. เมื่อพระเถระแม้อยู่
ในวิหารนั้น สามเณรก็ยังกระทำอยู่อย่างนั้น.
ภายหลังวันหนึ่ง ธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ซึ่งมีรูปงาม ดำรงอยู่
ในปฐมวัยออกจากบ้านที่อาศัยแล้ว ก้าวลงสู่สระบัวร้องเพลงขับเด็ดดอกบัวอยู่.
ก็ในสมัยนั้นสามเณรผู้ไปสู่สระบัวฟังเสียงแห่งเพลงขับของหญิงแล้ว
เป็นราวกะว่าแมลงตาบอดติดอยู่ในรสน้ำหวาน ในขณะนั้นทีเดียว
ฤทธิ์อันตรธานไปแล้ว ได้เป็นราวกะนกกาปีกขาดฉะนั้น
แต่ด้วยกำลัง
แห่งสมาบัติยังมีอยู่ สามเณรจึงมิได้ตกไปในพื้นน้ำมัน ได้ยืนอยู่แล้วที่ฝั่งแห่ง
สระดอกบัว เป็นราวกะว่าปุยไม้งิ้วค่อย ๆ ลอยตกไป. สามเณรนั้นกลับมา
โดยเร็วแล้วถวายบาตรและจีวรแก่อุปัชฌาย์แล้วก็ไป. พระมหาเถระไม่กล่าว
คำอะไร ๆ ด้วยคิดว่า "เรื่องนั้นเราเห็นแล้ว แม้เราจะห้ามเธออยู่ก็จะไม่

กลับมา" ดังนี้ จึงไปบิณฑบาต. ฝ่ายสามเณรไปยืนอยู่ที่ฝั่งแห่งสระบัว คอย
ท่าธิดาช่างหูกนั้นขึ้นมาอยู่.
แต่ธิดานั้น ก็เห็นสามเณรผู้ไปทางอากาศและกลับมาอีก ก็ทราบได้
ว่า "สามเณรนี้อาศัยเราจึงมีความกระสัน" ดังนี้ จึงกล่าวว่า "สามเณร จง
หลีกไป" สามเณรนั้นก็หลีกไป ธิดาช่างหูกขึ้นจากสระบัว นุ่งห่มผ้าแล้วเข้า
ไปหาสามเณรถามว่า "มีอะไรหรือ" สามเณรนั้นได้บอกเนื้อความนั้นแล้ว
ธิดานั้นแม้แสดงโทษในการอยู่ครองเรือนด้วยเหตุมากมาย และแสดงอานิสงส์
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ตักเตือนอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อให้สามเณรนั้นบรรเทา
ความกระสันได้ จึงคิดว่า "สามเณรนี้เสื่อมจากฤทธิ์เห็นปานนี้เพราะเรา บัดนี้
เราไม่ควรจะทอดทิ้งเธอ" ดังนี้ จึงกล่าวว่า จงยืนอยู่ที่นี่ก่อน แล้วกลับไป
บ้าน ได้บอกเรื่องนั้นแก่มารดาและบิดาของเธอ.
มารดาและบิดาไปแล้วให้โอวาทแก่สามเณรมีประการต่าง ๆ ได้กล่าว
ถ้อยคำอันไม่ต้อนรับว่า "ท่านอย่าสำคัญว่าพวกเรามีตระกูลสูง เราทุกคนเป็น
ช่างหูก ท่านสามารถจะกระทำการงานของช่างหูกได้หรือ" สามเณรกล่าวว่า
"ดูก่อนอุบาสก ขึ้นชื่อว่าเป็นคฤหัสถ์ก็ต้องทำอะไร ๆ จะเป็นการงานของช่าง
หูกหรือจะเป็นการงานของคนมัดฟ่อนไม้ก็ตาม ขอท่านอย่าได้หวงผ้าสำหรับ
นุ่งด้วยเหตุนี้เลย" นายช่างหูกได้ให้ผ้าสาฎกอันพันไว้ที่เอว และนำไปสู่บ้าน
แล้วยกธิดาให้.
มาณพนั้น (สามเณรที่สึกแล้ว) เรียนการงานของช่างหูกแล้ว ก็กระ-
ทำการงานที่ศาลากับด้วยช่างหูกทั้งหลาย. หญิงทั้งหลายของครอบครัวอื่น
จัดแจงอาหารแล้วนำมาแต่เช้าตรู่ แต่ภรรยาของมาณพนั้นยังมิได้มา เมื่อชน
ทั้งหลายพักการงานบริโภคอาหารกัน มาณพนั้นยังนั่งกรอด้ายอยู่ ภริยาของ

เขามาในภายหลัง. ลำดับนั้น มาณพนั้นจึงคุกคามภริยาด้วยคำว่า "เธอมาช้า
เกินไป".
ก็ธรรมดามาตุคามทราบจิตอันใคร ๆ มีความรักในตนแล้ว
ย่อมสำคัญบุคคลทั้งหลาย แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชว่าเป็นราว
กะทาส.

เพราะฉะนั้น หญิงนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ในเรือนของชนอื่น เขามีคน
นำวัตถุ เครื่องใช้ มีฟืน ใบไม้ เกลือเป็นต้น จากภายนอกมาเก็บเตรียม
ไว้แล้ว ก็ดิฉันเป็นผู้เดียว แม้ท่านก็ไม่รู้ว่า ในบ้านของเรา สิ่งนี้มี สิ่งนี้ไม่มี
ถ้าท่านต้องการก็จงบริโภค ถ้าไม่ต้องการก็อย่าบริโภค มาณพนั้นโกรธ
แล้วโดยคิดว่า หญิงนี้ไม่ใช่แต่นำอาหารมาในเวลาสายเกินไปอย่างเดียว ยังเสียด
สีเราแม้ด้วยวาจาดังนี้ เมื่อไม่เห็นเครื่องประหารอื่น จึงถอดไม้กระสวยทอผ้า
นั้นนั่นแหละออกแล้วขว้างไป. เมื่อหญิงนั้นกำลังจะหลบอยู่ ปลายท่อนไม้
ของกระสวยก็เข้าไปกระทบที่ปลายแห่งลูกตา หญิงนั้นได้เอามือทั้งสองกุมลูกตา
โดยเร็ว โลหิตไหลออกแล้วจากที่เป็นที่แตกแล้ว.
มาณพนั้น ระลึกถึงคำของอุปัชฌาย์ได้ในเวลานั้น จึงเริ่มร้องไห้
คร่ำครวญด้วยเสียงอันดังว่า "อุปัชฌาย์กล่าวกะเราหมายเอาเหตุนี้ว่า ในอนาคต
เธอจักดื่มกินน้ำข้าวที่ช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำ" ดังนี้ เหตุอันนี้ จัก
เป็นอันพระเถระเห็นแล้ว โอ พระผู้เป็นเจ้าเห็นการณ์ไกลหนอ. ช่างหูกทั้ง
หลายเหล่าอื่นกล่าวตอบว่า "อย่าเลยเธอ อย่าร้องไห้ไปเลย ธรรมดาว่า
นัยน์ตาแตกแล้ว อันบุคคลผู้ร้องไห้ไม่อาจเพื่อกระทำนัยน์ตาให้เป็นปกติได้.
มาณพนั้นกล่าวว่า "กระผมมิได้ร้องไห้เพื่อเหตุนี้ แต่ว่ากระผมร้องไห้หมาย
เอาเรื่องนี้" แล้วจึงได้บอกความเป็นไปทั้งหมดโดยลำดับ แล.

สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไป ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ
ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกเรื่องหนึ่ง


ภิกษุประมาณ 30 รูป ไหว้พระมหาเจดีย์อันงดงามแล้วก็ก้าวไปสู่ทาง
ใหญ่ โดยหนทางอันเป็นป่าทึบ ในระหว่างทางได้พบมนุษย์คนหนึ่งผู้ทำการ
งานไร่อันไฟไหม้แล้วกำลังเดินทางมา ร่างกายของเขาแปดเปื้อนด้วยเขม่าไฟ
เมื่อใคร ๆ แลดูเขาผู้มีผ้านุ่งอันเปื้อนเขม่าไฟนั้นแหละด้วย ผ้านุ่งที่เขาหนีบ
ไว้ที่รักแร้ผืนหนึ่งด้วย ก็จะปรากฏเป็นราวกะว่าตอไม้อันไฟไหม้แล้ว. เขา
กระทำการงานในเวลากลางวันเสร็จแล้วจึงยกมัดฟืนซึ่งไฟไหม้แล้วครึ่งหนึ่งขึ้น
บนหลัง มีผมอันยุ่งเหยิงเดินมาผิดทาง ได้มาหยุดอยู่ตรงหน้าภิกษุทั้งหลาย.
พวกสามเณรเห็นแล้วก็แลดูซึ่งกันและกันแล้วพูดว่า "พ่อของเธอ
ปู่ของเธอ ลุงของเธอ." ดังนี้ หัวเราะกันอยู่แล้วถามว่า "ดูก่อนอุบาสก ท่าน
ชื่ออะไร ".
มนุษย์นั้นถูกถามถึงชื่อ ก็มีความเร่าร้อนใจ โยนมัดฟืนทิ้งแล้วจัดแจง
นุ่งห่มผ้า ไหว้พระมหาเถระแล้วเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงหยุด
ก่อน".
พระมหาเถระได้หยุดแล้ว พวกสามเณรหนุ่ม ๆ แม้มาแล้วต่อหน้า
พระมหาเถระทั้งหลายก็ยังกระทำความรื่นเริงกัน.
อุบาสกกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกท่านเห็นกระผมแล้วหัวเราะ
กันใหญ่เข้าใจว่า พวกเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ทีเดียว เมื่อ
ก่อนแม้กระผมก็ได้เป็นสมณะเช่นเดียวกับพวกท่านนั่นแหละ ก็เหตุสักว่าความ
เป็นเอกัคคตาแห่งจิตของพวกท่านก็ยังไม่มี ส่วนกระผมได้เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี