เมนู

อภิธรรมภาชนีย์


[483] สัมมัปปธาน 4 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

2. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

3. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น.

4. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ
ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น


[484] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้
เกิดขึ้น เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป
จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียรเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.
[485] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่าฉันทะ
เป็นไฉน ?
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด
ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ. ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้
เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วย
เหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด.
[486] บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ
หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง
ธุระ ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมา-
วายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด
นี้เรียกว่า ความพยายาม. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบ
แล้วด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.
[487] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็น
ไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร.

ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร,
[488] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?
จิต มโน มนัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เสมอกัน อันใด นี้เรียกว่า
จิต. ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วย
เหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.
[489] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ
เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ
ธรรมทั้งหลายทีเหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


[490] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น
อย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.