เมนู

8. สัมมัปปธานวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[465] สัมมัปปธาน 4 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

2. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

3. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น.

4. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ
ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว.

เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น


[466] ก็ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร ?
ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?

อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท
เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียก
ว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น.
ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
ด้วยประการฉะนี้.
[467] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด
ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด
ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด.
[468] บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว
เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความ
พยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.
[469] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็น
ไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง
ความเพียร ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร.
[470] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก
ว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมถ์ ค้ำชู ซึ่งจิตนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.
[471] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ. อันใด นี้เรียกว่า
ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร.

เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


[472] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น
อย่างไร ?
ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท
เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.