เมนู

สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง เพราะอรรถว่ายังกิจ
4 อย่างให้สำเร็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ในขณะแห่ง
มรรค สติปัฏฐาน 4 ย่อมได้ในจิตอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


สติปัฏฐานมีกายานุปัสสนาเป็นต้น แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเพียงหัวข้อนัยแห่งเทศนา อันจำแนกแล้วในธัมมสังคณี แต่มิได้
ทรงตั้งไว้เป็นแบบแผน เหมือนในโลกิยสติปัฏฐานทั้งหลายมีกายเป็นต้น
เป็นอารมณ์ เพราะในอภิธรรมภาชนีย์ ทรงปรารภเทศนาด้วยสามารถแห่ง
โลกุตตรสติปัฏฐาน. พึงทราบประเภทแห่งนัย ในอภิธรรมภาชนีย์. คือ
อย่างไร ?
คือในการตั้งมั่นด้วยฌานในโสดาปัตติมรรคแห่งกายานุปัสสนา
ก่อน มี 10 นัย ด้วยสามารถแห่งจตุกกะและปัญจกะอย่างละ 2 ในฐานะ 5
เหล่านี้ คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิกสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตะ
อัปปณิหิตปฏิปทา (รวมเป็นจตุกกะ 5 นัย และปัญจกะ 5 นัย). ในนัยทั้ง
หลายแม้ที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในการตั้งมั่น* 20 มี 200 นัย. 200 นัยนั้น
คูณด้วยอธิบดี 4 ก็เป็น 800นัย. นัยแม้ทั้งปวงจึงมี 1,000 นัย คือ สุทธิกนัย
200นัยและ สาธิปติ 700 นัย ด้วยประการฉะนี้. ก็ในสุทธิกสติปัฏฐาน ใน
* ในการตั้งมั่น คือ มหานัย 20 คือ ฌาน, มรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิปาท,
อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะวิปัสสนา, ธรรม, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ,
อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิตตาภินิเวส.

เวทนานุปัสสนาเป็นต้น ก็เหมือนกัน คือ ในโสดาปัตติมรรคมี 5,000นัย.
อนึ่ง ในโสดาปัตติมรรค ฉันใด แม้ในมรรคที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในกุศล
มี 20,000นัย. แต่ว่าโดยประเภทสุญญตะและอัปปณิหิตนิมิต ในวิบากเป็น
ตรีคูณจากนัยแห่งกุศลนั้น จึงเป็น 60,000 นัย นิทเทสแห่งอภิธรรมภาชนีย์มี
2 อย่าง ด้วยสามารถแห่งนิทเทสแห่งสติปัฏฐานที่เป็นกุศลและวิบาก คือ เป็น
การยังกิจของตนให้สำเร็จอย่างหนึ่ง เป็นกิจที่สำเร็จด้วยดีอย่างหนึ่งมี 10
ประเภท ด้วยสามารถแห่งนิทเทสวาระ 10 คือ ฝ่ายกุศล 5 ฝ่ายวิบาก 5 ด้วย
สามารถแห่งกายานุปัสสนาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งสุทธิกะซึ่งประดับแล้ว
ด้วยนัย 80,000 นัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ พึงทราบความที่สติปัฏฐานเป็นกุศลเป็นต้น
โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะ สติปัฏฐานเหล่า
นั้นแม้ทั้งหมดเป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะปรารภพระนิพพานอันเป็น
อัปปมาณธรรม ไม่เป็นมัคคารัมมณะ แต่เป็นมัคคเหตุกะด้วยสามารถแห่ง
สหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติในการเจริญมรรค เพราะทำวิริยะ หรือวิมังสาให้เป็น
ประธาน ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติเพราะเจริญมรรคอันกระทำฉันทะหรือ
จิตตะให้เป็นประธาน แม้ในกาลแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวเหมือนกัน. ในอตีตะเป็น