เมนู

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-
ปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนาสิการในธรรมเหล่า
นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า ย่อม
เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปัสสัทชิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ

1. การเสพโภชนะอันประณีต
2. การเสพอุตุอันสบาย
3. การเสพอิริยาบถอันสบาย
4. การประกอบความเพียรปานกลาง
5. การเว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่าย
6. การเสพบุคคลผู้มีจิตอันสงบ
7. ความน้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น
จริงอยู่ เมื่อบริโภคโภชนะอันเป็นสัปปายะอันประณีต อันเป็นที่ชอบ
ใจก็ดี เสพอุตุอันเป็นสัปปายะในฤดูทั้งหลายอันหนาวและร้อน และเสพ
อิริยาบถอันเป็นสัปปายะในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. แต่ว่า บุคคลใดผู้เป็นชาติแห่งมหาบุรุษ ย่อม
เป็นผู้อดทนในอุตุและอิริยาบถทั้งปวงเทียว ท่านมิได้กล่าวหมายเอาบุคคลผู้
เป็นมหาบุรุษชาตินั้น. ความที่บุคคลใดเป็นผู้มีสภาคะและวิสภาคะมีอยู่ เมื่อ
บุคคลนั้นนั่นแหละเว้นอุตุและอิริยาบถอันเป็นวิสภาคะ แล้วเสพอยู่ซึ่งสภาคะ

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น. การพิจารณากัมมัสสกตาทั้งของตนเองและ
ของผู้อื่น ท่านเรียกว่า การประกอบความเพียรปานกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดด้วยความเพียรอันปานกลางนั้น. บุคคลใดเบียดเบียนผู้อื่นด้วยท่อนไม้
เป็นต้นเที่ยวไป แม้เว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่ายเห็นปานนี้ ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น. แม้เสพบุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ผู้มีมือและเท้าอัน
สำรวมแล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น
แม้แก่ผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้ปัสสัทธิเกิดในอิริยาบถทั้งหลาย
มีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิด
ขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

สมาธิสัมโพชฌงค์


สมาธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต
อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น นี้
เป็นอาหารเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ใน
ข้อนั้น สมถะนั่นแหละ ชื่อว่าสมถนิมิต และชื่อว่า อัพยัคคนิมิต เพราะอรรถ
ว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

1. การทำวัตถุให้สะอาด
2. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
3. ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต
4. ความยกจิตในสมัย