เมนู

ยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มาก ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์นั้น
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์ คือ

1. สติสัมปชัญญะ
2. ความเว้นจากบุคคลผู้หลงลืมสติ
3. การเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
4. ความเป็นผู้น้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น
จริงอยู่ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานะทั้ง
7 มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการเว้นบุคคลผู้หลงลืมสติเช่นกับในเรื่อง
พนักงานคลังแห่งภัต ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นกับด้วยพระติสสทัตต-
เถระ และพระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อ
ให้สติเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่ง เป็นต้น. ภิกษุนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยเหตุ 4 อย่างนี้ย่อมบริบูรณ์ด้วย
อรหัตมรรค ดังนี้.

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์


ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ อันเปรียบด้วยธรรมดำ
และธรรมขาวมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้
เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
หรือว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว.