เมนู

อรรถกถาธัมมานุปัสสนานิทเทส


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการกำหนดรูปขันธ์ ด้วยกายานุปัสสนา
ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ ด้วยเวทนานุปัสสนา และตรัสการกำหนด
วิญญาณขันธ์ ด้วยจิตตานุปัสสนานั่นแหละ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพราะ
ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกำหนดสัญญาขันธ์แสะสังขารขันธ์ โดยถือเอาหัว
ข้อแห่งสัมปยุตตธรรม แสดงธัมมานุปัสสนา จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขุ เป็น
อาทิ.

อรรถกถานีวรณปัพพะ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ คือ (เมื่อกามฉันทะภายในจิต)
มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งการปรากฏเนือง ๆ. บทว่า อสนฺตํ คือ ไม่มีอยู่
ด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏ หรือว่าเพราะละได้แล้ว. คำว่า ยถา จ คือ
กามฉันทะจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุใด. คำว่า ตญฺจ ปชานาติ ได้แก่ ย่อม
ทราบชัดซึ่งเหตุนั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยนัยนี้แล.
ในบทเหล่านั้น กามฉันทะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิต.
ขึ้นชื่อว่า สุภนิมิต แม้สิ่งที่งาม ก็เป็นสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่งาม ก็เป็น
สุภนิมิต. ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ คือ ไม่มนสิการในอุบาย (วิธีที่ควร)
มนสิการผิดทาง คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นสุข หรือในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรมทั้ง 4 เหล่านั้น กามฉันทะ
ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สุภนินิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้น
นี้เป็นอาหาร เพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อ
ให้กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้งอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ดังนี้.
อนึ่ง กามฉันทะนั้นละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต. ขึ้นชื่อว่า
อสุภนิมิต แม้สิ่งที่ไม่งาม ก็เป็นอสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่ไม่งาม ก็เป็น
อสุภนิมิต. ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ คือ มนสิการในอุบาย มนสิการถูกทาง
คือ มนสิการ ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็น
ทุกข์ หรือในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา ว่าเป็นอนัตตา หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่าไม่งาม
ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรม 4 เหล่านั้นอยู่ ย่อมละกาม-
ฉันทะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อสุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า
เพื่อการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ
1. การเรียนอสุภนิมิต
2. การประกอบเนือง ๆ ในอสุภภาวนา
3. ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. สัปปายกถา
จริงอยู่ เมือพระโยคาวจรเรียนเอาอสุภนิมิ 10 อย่างก็ดี ย่อมละกาม-
ฉันทะได้ เมื่อเจริญอสุภะก็ดี เมื่อมีทวารอันเขาปิดแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี

เมื่อเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เพราะเมื่อโอกาสแห่งคำข้าว 4- 5
คำ มีอยู่ ก็ดื่มน้ำแทนแล้วให้ชีวิตเป็นไปโดยปกติก็ดี ย่อมละกามฉันทะได้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
ไม่บริโภคอาหารอีก 4-5 คำ แล้ว
พึงดื่มน้ำแทนเป็นการเพียงพอเพื่ออยู่เป็น
สุขของภิกษุผู้มีความเพียร.

แม้เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระติสสเถระ
ผู้เจริญอสุภกรรมฐาน ก็ย่อมละกามฉันทะได้. ย่อมละกามฉันทะได้ แม้ด้วย
สัปปายกถาอันอาศัยอสุภะ 10 ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมทั้ง 6 ประการย่อมเป็นไป
เพื่อการละกามฉันทะ ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า กามฉันทะอันละแล้ว
ด้วยธรรมทั้ง 6 ประการเหล่านี้ ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.
ก็พยาบาทเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ในคำเหล่า
นั้นแม้ปฏิฆะ ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต แม้อารมณ์ในปฏิฆะ ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต.
อโยนิโสมนสิการมีลักษณะอย่างเดียวกันในที่ทั้งปวงนั่นแหละ. เมื่อยังมนสิการ
นิมิตนั้นให้เป็นไปมากในนิมิตนั้น พยาบาทย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร
เพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อให้พยาบาทที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์มากขึ้น
ดังนี้.
อนึ่ง พยาบาทนั้นละได้ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ ในคำเหล่านั้น อัปปนา
ก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมควรในคำที่ท่านกล่าวว่า เมตตา. แต่คำว่า เจโต-
วิมุตติ
ได้แก่ อัปปนาเท่านั้น. โยนิโสมนสิการ มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ. เมื่อยังมนสิการให้เป็นไป มากในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมละ
พยาบาทได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมน-
สิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาท คือ
1. การเรียนเมตตานิมิต
2. การประกอบเนือง ๆ ในเมตตาภาวนา
3. การพิจารณากัมมัสสกตา
4. การกระทำการใคร่ครวญให้มาก
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. สัปปายกถา
จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนเมตตา ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปสู่ทิศโดยเจาะ
จงและไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. แม้เมื่อเจริยเมตตา
ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปสู่ทิศเจาะจงและไม่เจาะจง ก็ย่อมละพยาบาทได้. แม้
เมื่อพิจารณากัมมัสสกตา ของตนและของผู้อื่น อย่างนี้ว่า ท่านโกรธ
เขาแล้วจักทำอะไร จักอาจเพื่อยังคุณมีศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศ
ไปได้หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน ท่านก็จักไปด้วยกรรมของตน
นั่นแหละ มิใช่หรือ.
ขึ้นชื่อว่า ความโกรธผู้อื่น ย่อมเป็นเช่นกับผู้ต้อง
การจับถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว จับซี่เหล็กอันร้อนและคูถเป็นต้นแล้วประ-
หารผู้อื่น แม่ความโกรธของท่านนี้จักทำอะไร จักอาจเพื่อยังคุณมี
ศีลเป็นต้นของเราไห้พินาศไปได้หรือ เรามาด้วยกรรมของตนแล้ว

จักไปด้วยกรรมของตนเท่านั้น ความโกรธนี้จักตกไปเบื้องบนของเขา
แน่นอน เหมือนกับของขวัญที่บุคคลไม่ยอมรับ และเหมือนกับกำธุลีซัดไป
ทวนลม ดังนี้ ก็ย่อมละความโกรธได้. เมื่อตั้งอยู่ในความใคร่ครวญพิจารณา
กัมมัสสกตาของตนและของคนอื่นอย่างนี้ครั้นใคร่ครวญพิจารณาแล้วซึ่ง
กัมมัสสกตาทั้งสองแล้วตั้งอยู่ในการใคร่ครวญพิจารณาก็ดี, เมื่อเสพกัลยาณมิตร
ผู้ยินดีในเมตตาภาวนา เช่นกับพระอัสสคุตตเถระก็ดี, ย่อมละพยาบาทได้.
ย่อมละพยาบาทได้แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยซึ่งเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลายมี
การยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรม
6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาทดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า
พยาบาทอันละด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้ไม่เกิดต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค
ดังนี้.
ความเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะในธรรมทั้งหลายมีอรติเป็นต้น ย่อมมีด้วย
อโยนิโสมนสิการ. ความไม่พอใจ ชื่อว่า อรติ. ความเกียจคร้านทางกาย
(หรือความเฉื่อยชาทางกาย) ชื่อว่า ตันที. ความบิดกาย (หรือความบิด
ขี้เกียจ) ชื่อว่า วิชัมภิตา. ความซบเซาเพราะภัต ความกระวนกระวายเพราะภัต
(ความเมาภัต) ชื่อว่า ภัตตสัมมทะ. อาการหดหู่แห่งจิต ชื่อว่า เจตโส ลีนัตตัง.
เมื่อให้อโยนิโสมนสิการเป็นไปให้มากในธรรมมีอรติเป็นต้นเหล่านี้ ถีนมิทธะย่อม
เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อรติ (ความไม่พอไจ) ตันที (ความเกียจคร้านทางกาย) วิชัมภิตา
(ความน้อมกายหรือบิดกาย) ภัตตสัมมทะ (ความเมาภัต) และความ
ที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อความ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
" ดังนี้.

อนึ่ง การละถีนมิทธะ ย่อมมีด้วยโยนิโสมนสิการ ในอารัพภธาตุ
เป็นต้น. ความเพียรที่เริ่มครั้งแรก ชื่อว่า อารัพภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลัง
มากกว่าอารัพภธาตุนั้นเพราะขจัดความเกียจคร้านได้แล้ว ชื่อว่า นิกกมธาตุ.
ความเพียรที่มีกำลังกว่าแม้นิกกมธาตุนั้น เพราะย่ำยีฐานะอื่น ๆ ชื่อว่า ปรัก-
กมธาตุ.
เมื่อยังมนสิการในความเพียร 3 ประเภทนี้เป็นไปให้มาก ย่อมละ
ถีนมิทธะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโส-
มนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด
ขึ้นมิให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
" ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะคือ
1. การถือเอานิมิตในอติโภชนะ (บริโภคมากเกินไป)
2. การเปลี่ยนอิริยาบถ
3. มนสิการในอาโลกสัญญา
4. การอยู่กลางแจ้ง
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. สัปปายกถา
จริงอยู่ เมื่อบริโภคอาหารอันควรแก่การนำมาซึ่งประโยชน์เพียงพอ
แก่ความต้องการแล้ว นุ่งห่มผ้าสาฎกอันมีค่าน้อยนั่งอยู่ในทีพักอันเป็นเวลากลาง-
คืนหรือกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมมาท่วมทับ เป็นราวกะ
ว่าถูกช้างใหญ่ทับอยู่. ถือเอานิมิตในโภชนะอันเกินว่า " ก็โภชนะอันเกินนี้
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เว้นโอกาส (ช่องว่าง) แห่งคำข้าวอีก 4-5 คำ
แล้วดื่มน้ำยังอัตภาพให้เป็นไปตามปกติ
" ดังนี้ย่อมละถีนมิทธะได้. ถีน-

มิทธะย่อมครอบงำในอิริยาบถใด เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอื่นจากนั้นก็ดี มนสิการ
แสงสว่างแห่งพระจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่งดวงไฟในเวลา
ราตรี และแสงสว่างแห่งอาทิตย์ในเวลากลางวัน ก็ดี เมื่ออยู่ที่กลางแจ้ง ก็ดี
เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะเช่นกับพระมหากัสสปเถระ ก็ดี ย่อม
ละถีนมิทธะได้. ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยซึ่งธุดงค์ ใน
อิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย 6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะ
ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็ถีนมิทธะอันละแล้วด้วยธรรม 6 ประการ
เหล่านั้นไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยอรหัตมรรค " ดังนี้.
อุทธัจจกุกกุจจะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการ ในเพราะความไม่เข้า
ไปสงบแห่งจิต. อาการแห่งจิตอันไม่เข้าไปสงบ ชื่อว่า อวูปสมะ แต่เมื่อว่าโดย
อรรถ คำว่าอวูปสมะนี้ก็คือ อุทธัจจกุกกุจจะนั่นแหละ. เมื่อยังอโยนิโสมนสิการ
ในอุทธัจจกุกกุจจะนั้นให้เป็นไปมากอยู่ อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่เข้าไป
สงบแห่งจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า
เพื่อความไพบูลย์มากขึ้น แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
" ดังนี้.
อนึ่ง การละอุทธัจจกุกกุจจะย่อมมีด้วยโยนิโสมนสิการ ในเพราะ
ความสงบแห่งจิต กล่าวคือ สมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเข้าไปสงบแห่งจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้อุทธัจจกุกกุจจะ
ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้น
แล้ว
" ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละ
อุทธัจจกุกกุจจะ คือ

1. ความเป็นพหูสูตร (การสดับตรับฟังมาก)
2. ปริปุจฉกถา (การสอบถาม)
3. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย
4. การคบบุคคลผู้เจริญ
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. สัปปายกถา
จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ 1 นิกาย หรือว่า 2-3-4-5
นิกาย แม้ด้วยการสดับมาก ก็ย่อมละอุทธัจกุกกุจจะได้. เมื่อเป็นผู้มากด้วยการ
สอบถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี เมื่อเป็นผู้รู้ชำนาญในพระวินัยบัญญัติ
เพราะความเป็นผู้ชำนาญอันตนประพฤติแล้วก็ดี เมื่อเข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่
ผู้เจริญ เช่นกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ย่อมละอุทธัจจะ
กุกกุจจะได้ แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร. ด้วยเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ธรรม 6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละอุทธัจจ-
กุกกุจจะดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็อุทธัจจะอันละด้วยธรรม 6 ประการ
เหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตมรรค และกุกกุจจะอันละได้ด้วยธรรม 6
ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอนาคามิมรรค " ดังนี้.
วิจิกิจฉาเกิดขึ้นเพราะอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความสงสัย. วิจิกิจฉานั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย เพราะ
ความเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อย ๆ. เมื่อให้อโยนิโสมนสิการในธรรมอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความสงสัยนั้นเป็นไปให้มาก วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งเเห่งความสงสัยมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรม
เหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า
เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อนึ่ง วิจิกิจฉานั้นละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในกุศลธรรมเป็นต้น. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
อันเป็นกุศลและอกุศล อันเป็นโทษและไม่เป็นโทษ อันควรเสพ
และไม่ควรเสพ อันเลวและประณีต อันเปรียบด้วยมรรคดำและ
ธรรมขาว มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อ
การละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา คือ
1. ความเป็นพหูสูต
2. ความเป็นผู้สอบถาม
3. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย
4. ความเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. สัปปายกถา
จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ 1 นิกาย หรือว่า 2-3-4-5
นิกาย แม้ด้วยความเป็นผู้สดับฟังมาก ก็ย่อมละวิจิกิจฉาได้. เมื่อปรารภพระรัตน-
ตรัยมากด้วยการสอบถามก็ดี เป็นผู้ชำนาญในการประพฤติวินัยก็ดี เมื่อมากด้วย
อธิโมกข์ กล่าวคือความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยก็ดี เมื่อเสพกัลยาณมิตร เช่น

กับพระเถระชื่อว่าวักกลิ ผู้น้อมไปด้วยศรัทธาก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้. และย่อม
ละวิจิกิจฉาได้แม้ด้วยสัปปายกถา อันอาศัยคุณของพระรัตนตรัยในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมทราบ
ชัดว่า ก็วิจิกิจฉาอันละได้ด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย
โสดาปัตติมรรคดังนี้.
อรรถกถานีวรณปัพพะ จบ

อรรถกถาโพชฌังคปัพพะ


สติสัมโพชฌงค์


ในโพชฌังคปัพพะ คำว่า "สนฺตํ" ได้แก่ มีอยู่ด้วยสามารถแห่งการ
ได้เฉพาะ. คำว่า "อสนฺตํ" ได้แก่ ไม่มีด้วยสามารถแห่งการไม่ได้. ก็ใน
คำว่า "ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส" เป็นต้น พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งสติสัม-
โพชฌงค์ก่อน อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่
ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการใน
ธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสติ
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สติสัมโพชฌงค์.
โยนิโสมนสิการมีลักษณะตามที่กล่าวแล้วนั่นแหล่ะ. เมื่อ