เมนู

อรรถกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส


แม้ในจิตตานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหน
หลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในข้อว่า สราคํ วา จิตฺตํ เป็นต้น
บทว่า สราคํ คือ จิตสหรคตด้วยโลภะ 8 อย่าง. บทว่า วีตราคํ คือจิต
เป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์. แต่เพราะการพิจารณานี้ ไม่ใช่ธรรมสโมธาน
ฉะนั้น จึงไม่ได้โลกุตรจิตแม้สักบทเดียวในที่นี้. อกุศลจิตเหล่าใด เป็นไป
กับด้วยราคะเป็นต้น อันพระโยคาวจรย่อมละได้ ด้วยสามารถแห่งอรรถอัน
หนึ่ง คือ ปหานะ อกุศลจิตเหล่านั้น ท่านก็ไม่ถือเอา เพราะไม่ได้ในบท
ทั้งสองนี้โดยตรง. อกุศลจิต 4 ที่เหลือไม่เกี่ยวกับบทหน้าและบทหลัง.
บทว่า สโทสํ คือ จิตสหรคตด้วยโทมนัส 2 อย่าง. บทว่า วีตโทสํ
คือ จิตที่เป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์. อกุศลจิต 10 ที่เหลือ ไม่เกี่ยวกับ
บทหน้าและบทหลัง.
บทว่า สโมหํ ได้แก่ จิต 2 อย่าง คือ จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลจิตทั้งปวง
ฉะนั้น อกุศลจิต แม้ที่เหลือย่อมเป็นไปในที่นี้ทั้งหมด เพราะว่า อกุศลจิต 12
ท่านถือเอาแล้วในทุกะนี้เหมือนกัน. บทว่า วีตโมหํ คือ จิตที่เป็นกุศลและ
อัพยากตะฝ่ายโลกีย์.
บทว่า สํขิตฺตํ คือ จิตที่ตกไปในถีนมิทธะ (คือ ความซบเซา)
จริงอยู่ จิตนั้น ชื่อว่า หดหู่แล้ว. บทว่า วิกฺขิตฺตํ คือ จิตที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะ. จริงอยู่ จิตนั้น ชื่อว่า จิตซ่านไปแล้ว.

บทว่า มหคฺคตํ คือ รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต. บทว่า
อมหคฺคตํ คือ กามาวจรจิต.
บทว่า สอุตฺตรํ คือ กามาวจรจิต. บทว่า อนุตฺตรํ คือ รูปาวจรจิต
และอรูปาวจรจิต. อีกอย่างหนึ่งในจิตทั้งสองนี้ สอุตตรจิต ได้แก่ รูปาวจรจิต
และอนุตตรจิต ได้แก่ อรูปาวจรจิต นั่นแหละ.
บทว่า สมาหิตํ ได้แก่ จิตของผู้มีอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาหิตํ คือ จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง.
บทว่า วิมุตฺตํ คือ จิตที่หลุดพ้นแล้ว ด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัม-
ภนวิมุตติ. บทว่า อวิมุตฺตํ คือ จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในที่นี้.
ข้อว่า สราคมสฺส จิตฺตํ ได้แก่ จิตของเขาผู้นั้น มีราคะ. คำที่
เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ในข้อแม้นี้
ท่านก็กล่าววิปัสสนาล้วน ๆ ฉะนี้แล.
อรรถกกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส จบ

อรรถกถาธัมมานุปัสสนานิทเทส


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการกำหนดรูปขันธ์ ด้วยกายานุปัสสนา
ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ ด้วยเวทนานุปัสสนา และตรัสการกำหนด
วิญญาณขันธ์ ด้วยจิตตานุปัสสนานั่นแหละ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพราะ
ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกำหนดสัญญาขันธ์แสะสังขารขันธ์ โดยถือเอาหัว
ข้อแห่งสัมปยุตตธรรม แสดงธัมมานุปัสสนา จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขุ เป็น
อาทิ.

อรรถกถานีวรณปัพพะ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ คือ (เมื่อกามฉันทะภายในจิต)
มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งการปรากฏเนือง ๆ. บทว่า อสนฺตํ คือ ไม่มีอยู่
ด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏ หรือว่าเพราะละได้แล้ว. คำว่า ยถา จ คือ
กามฉันทะจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุใด. คำว่า ตญฺจ ปชานาติ ได้แก่ ย่อม
ทราบชัดซึ่งเหตุนั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยนัยนี้แล.
ในบทเหล่านั้น กามฉันทะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิต.
ขึ้นชื่อว่า สุภนิมิต แม้สิ่งที่งาม ก็เป็นสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่งาม ก็เป็น
สุภนิมิต. ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ คือ ไม่มนสิการในอุบาย (วิธีที่ควร)
มนสิการผิดทาง คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นสุข หรือในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรมทั้ง 4 เหล่านั้น กามฉันทะ
ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย