เมนู

อนึ่ง ในอธิการนี้ การบริหารกายของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน โดยการอยู่ด้วยกรรม
ฐาน พึงทราบด้วย อนุปัสสนา. สัมมัปปธาน พึงทราบด้วยอาตาปะ (ความ
เพียรเผากิเลส). อุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐาน พึงทราบด้วยสติสัมปชัญญะ
ผู้มีสมถะอันได้แล้ว พึงทราบด้วยสติ หรือด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนา.
วิปัสสนา พึงทราบ ด้วยสัมปชัญญะ. และพึงทราบว่า ผลแห่งภาวนา
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยการกำจัดอภิชฌาโทมนัส ฉะนี้แล.
อรรถกถากายานุปัสสนานิทเทส จบ

อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส


แม้ในเวทนานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วใน
หนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ก็ในข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทยมาโน
เป็นต้น คำว่า สุขํ เวทนํ อธิบายว่า เมื่อเสวยสุขเวทนาอันเป็นไปทางกาย
หรือทางจิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนี้เปรียบเหมือน
ทารกทั้งหลาย แม้ยังนอนหงายอยู่ในเวลาที่ดื่มน้ำนมเป็นต้น เมื่อเสวยสุขเวทนา
ก็ย่อมรู้ว่า เราเสวยสุขเวทนา ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้
ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. ด้วยว่า ความรู้เช่นนั้น ย่อมไม่ละสัตตูปลัทธิ
(คือ ความเห็นว่าเป็นสัตว์) ย่อมไม่เพิกถอนสัตตสัญญา (คือความสำคัญ
ว่าเป็นสัตว์) ทั้งมิใช่กรรมฐาน หรือมิใช่การเจริญสติปัฏฐาน. แต่ความรู้ของ
ภิกษุนี้ ย่อมละสัตตูปลัทธิ ย่อมเพิกถอนสัตตสัญญา ทั้งเป็นกรรมฐานด้วย
เป็นการเจริญสติปัฏฐานด้วย. เพราะว่า ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเสวย