เมนู

คำว่า อตฺถิ กาเย (มีอยู่ในกาย) นี้ ท่านไม่ประสงค์เอากาย
ของตนและกายของผู้อื่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า มีอยู่ในกายนี้. ก็ในข้ออื่น เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมว่า ปฏิกูล
ในสรีระอันมีอยู่ของตน อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำบริกรรม
ว่า ปฏิกูล ในสรีระอันมีอยู่ของผู้อื่น อัปปนาย่อมไม่เกิด อุปจาระก็ไม่เกิด.
ถามว่า ก็ปฏิกูลแม้ทั้งสองย่อมเกิดในอสุภ 10 มิใช่หรือ ? ตอบว่า ใช่
เพราะอสุภ 10 เหล่านั้นดำรงอยู่ในฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร ฉะนั้น อัปปนาก็ดี
อุปจาระก็ดี จึงเกิดขึ้นได้ในอสุภ 10 เหล่านั้น ส่วนปฏิกูลในสรีระของผู้อื่นนี้
ตั้งอยู่ในฝ่ายอุปาทินนกสังขาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อัปปนาและอุปจาระแม้
ทั้งสอง จึงไม่เกิดในที่นั้น. ก็วิปัสสนา กล่าวคือ การตามเห็นอสุภ พึงทราบ
ว่า เป็นภาวนา. ถามว่า ในข้อนี้ ท่านเรียกว่าอะไร. ตอบว่า ท่านเรียก
ว่า สมถวิปัสสนา. บัดนี้ พึงทราบปกิณณกะที่ทั่วไปแก่การมนสิการทั้งปวง
ในที่นี้ ต่อไป.

ว่าโดยนิมิตเป็นต้น


จริงอยู่ การวินิจฉัยผมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบ โดยนิมิต โดย
ลักษณะ โดยธาตุ โดยสุญญตะ
และ โดยขันธ์ เป็นต้น.
ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยนิมิต คือ พระโยคาวจร ย่อมกำหนด
อาการ 32 โดยโกฏฐาส ด้วยสามารถแห่งนิมิต 160 มีอยู่ในอาการ 23 คือ
ผม มีนิมิต 5 ได้แก่ วัณณนิมิต สัณฐานนิมิต ทิสานิมิต โอกาสนิมิต และ
ปริเฉทนิมิต. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (32 * 5 = 160).
ข้อว่า โดยลักษณะ คือ พระโยคาวจร ย่อมมนสิการอาการ 32
โดยลักษณะด้วยสามารถแห่งลักษณะ 128 ในอาการ 32 คือ ผม มีลักษณะ

4 ได้แก่ ถทฺธตฺตลกฺขณํ (มีความแข็งเป็นลักษณะ) อาพนฺธนลกฺขณํ
(มีการเกาะกุมเป็นลักษณะ) อุณฺหตฺตลกฺขณํ (มีความร้อนเป็นลักษณะ)
วิตฺถมฺภนลกฺขณํ (มีการขยายตัวเป็นลักษณะ) แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่น
แหละ (32 * 4 = 128).
ข้อว่า โดยธาตุ คือ พระโยคาวจร ย่อมกำหนดอาการ 32 โดย
ธาตุ ด้วยสามารถแห่งธาตุ 128 ในอาการ 32 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ 4 ดังนี้ ผมมีธาตุ 4 คือ ความแข็ง
เป็นปฐวีธาตุ ความเกาะกุมเป็นอาโปธาตุ ความร้อนเป็นเตโชธาตุ ความขยาย
ตัวเป็นวาโยธาตุ. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (32 * 4 = 128).
ข้อว่า โดยสุญญตะ คือ พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นอาการ
32 ด้วยสามารถแห่งสุญญตะ 96 ในอาการ 32 คือ ผม มีสุญญตะ 3 ก่อน
คือ อตฺตสุสญฺญตา (ว่างจากตน) อตฺตนิยสุญฺญตา (ว่างจากสิ่งที่เป็นของ
ตน) นิจฺจภาวสุญฺญตา (ว่างจากความเป็นของเที่ยง) เพราะอรรถว่า ผม
ทั้งหลาย ว่างจากตน หรือจากสิ่งที่เป็นของตน ...จากความแน่นอน...จาก
ความมั่นคง ... จากความเที่ยง... จากธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง. แม้ในขนเป็น
ต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (32 * 3 = 96).
ข้อว่า โดยขันธ์เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ โดยนัยว่า เมื่อ
พระโยคาวจรกำหนดอาการ 32 ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นอาทิ ในโกฏฐาสทั้ง
หลายมีผมเป็นต้น คือว่า ผมทั้งหลายเป็นขันธ์เท่าไร เป็นอายตนะเท่าไร เป็น
ธาตุเท่าไร เป็นสัจจะเท่าไร และเป็นสติปัฏฐานเท่าไร เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกายานุปัสสนาโดยพิสดาร 3 อย่าง
โดยแยกเป็นกายภายในเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงปรารภคำว่า อนุปสฺสี

เป็นต้น เพื่อจะแจกบทว่า กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน เป็น
ต้น ออกไป.
ในข้อนั้น เพื่อแสดงอนุปัสสนา ที่ชื่อว่า กายานุปสฺสี นั้น
จึงตรัสว่า "ในบทเหล่านั้น การพิจารณาเนือง ๆ (อนุปัสสนา) เป็นไฉน
ปัญญาใด ปชานนา" เป็นอาทิ แม้ในคำทั้งหลายมี อาตาปี เป็นต้นก็นัยนี้
นั่นแหละ. คำว่า ปัญญา ปชานนา พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถา
แห่งจิตตุปปาทกัณฑ์ แล.
คำทั้งปวงว่า อุเปโต (ผู้เข้าไปถึงแล้ว) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ
กันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุเปโต ด้วยสามารถแห่งอาเสวนะ (การ
ซ่องเสพ) ชื่อว่า สมุเปโต (เข้าไปถึงแล้วด้วยดี) เพราะเข้าถึงด้วยดี ด้วย
สามารถแห่งภาวนา. แม้คำเป็นคู่ ๆ กันว่า อุปาคโต (ผู้เข้ามาถึงแล้ว) สมุ-
ปาคโต
(ผู้เข้ามาถึงแล้วด้วยดี) อุปปนฺโน (ผู้เข้าถึงแล้ว ) สมฺปนฺโน
(ผู้เข้าถึงแล้วด้วยดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ พึงทราบการเชื่อมความ
อย่างนี้ว่า ก็ชื่อว่า ผู้ประกอบแล้ว เพราะสามารถกระทำให้มาก. แม้
คำว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้วด้วยความเพียรเป็นต้น ก็นัยนี้.
ในบทว่า วิหรติ (อยู่) พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อแสดงโดย
เทศนาปุคคลาธิษฐาน จึงตรัสคำว่า อิริยติ (พระพฤติเป็นไปอยู่) เป็นต้น
โดยไม่ทำคำถามว่า บรรดาคำเหล่านั้น วิหารเป็นไฉน. เนื้อความแห่งคำนั้น
ชื่อว่า อิริยติ เพราะความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอิริยาบถ 4. ชื่อว่า วตฺตติ (เป็นไปอยู่) เพราะเป็นไปด้วยเกวียน คือ
กาย ซึ่งเป็นไปด้วยอิริยาบถ 4 เหล่านั้น. ชื่อว่า ปาเลติ (รักษาอยู่) เพราะ
การกำจัดอิริยาบถหนึ่งอันเป็นทุกข์ ด้วยอิริยาบถอื่นแล้วรักษาสรีระไว้โดยความ

เป็นผู้ดำรงอยู่ยั่งยืน. ชื่อว่า ยาเปติ (ให้เป็นไปอยู่) เพราะไม่ดำรงอยู่ใน
อิริยาบถเดียว คือเป็นไปด้วยอิริยาบถทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ยาเปติ
เพราะยังกายนั้น ๆ ให้เป็นไปด้วยอิริยาบถนั้น ๆ. ชื่อว่า จรติ (เที่ยวไปอยู่)
เพราะให้ร่างกายเป็นไปได้ตลอดกาลนาน. ชื่อว่า วิหรติ (อยู่) เพราะเปลี่ยน
อิริยาบถด้วยอิริยาบถแล้วนำชีวิตไป.
ข้อว่า กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก ความว่า ภิกษุมีปรกติตามเห็น
กายในกายใดอยู่ กายนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าเสื่อม
สลายไป
แต่เพราะอภิชฌาโทมนัส อันบุคคลใดละได้ในกาย บุคคลนั้น
ชื่อว่า ย่อมละได้แม้ในเวทนาเป็นต้นนั่นแหละ ฉะนั้น แม้อุปาทานขันธ์ 5
ก็ชื่อว่า โลก.
พึงทราบวินิจฉัย แม้ในคำว่า สนฺตา เป็นต้น (อภิชฌาโทมนัสดัง
กล่าวนี้) ชื่อว่า สนฺตา (สงบ) เพราะความสงบแล้วด้วยสามารถแห่งนิโรธ.
ชื่อว่า สมิตา (ระงับ) เพราะระงับแล้วด้วยภาวนา. ชื่อว่า วูปสนฺตา (เข้า
ไปสงบ) เพราะความสงบโดยความไม่มีต่อไปแห่งการกำหนดรู้ซึ่งวัตถุ (วัตถุ
สัจจะ). ชื่อว่า อัสดงคต (ดับไป) เพราะถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ กล่าว
คือ นิโรธ. ชื่อว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ดับไปอย่างราบคาบ) เพราะถึงการดับ
อย่างยวดยิ่ง เหตุที่กำจัดความเกิดบ่อย ๆ เสียได้. คำว่า อปฺปิตา คือ ถูก
ทำให้พินาศไป คือ ไม่ให้มีต่อไป. คำว่า พฺยปฺปิตา คือ ถูกทำให้พินาศไป
ด้วยดี คือไม่มีเลย. ชื่อว่าโสสิตา (ถูกทำให้เหือดแห้ง) เพราะความให้เหือด
แห้งแล้วอย่างนี้ คือ มิให้มีอาสวะเกิดขึ้นอีกในภายหลัง. ชื่อว่า วิโสสิตา
(ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี) เพราะเหือดแห้งด้วยดี คือถูกทำให้แห้งแล้ว. ชื่อ
ว่า พฺยนฺติกตา (ถูกทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว) เพราะทำให้ปราศจากไป.

อนึ่ง ในอธิการนี้ การบริหารกายของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน โดยการอยู่ด้วยกรรม
ฐาน พึงทราบด้วย อนุปัสสนา. สัมมัปปธาน พึงทราบด้วยอาตาปะ (ความ
เพียรเผากิเลส). อุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐาน พึงทราบด้วยสติสัมปชัญญะ
ผู้มีสมถะอันได้แล้ว พึงทราบด้วยสติ หรือด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนา.
วิปัสสนา พึงทราบ ด้วยสัมปชัญญะ. และพึงทราบว่า ผลแห่งภาวนา
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยการกำจัดอภิชฌาโทมนัส ฉะนี้แล.
อรรถกถากายานุปัสสนานิทเทส จบ

อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส


แม้ในเวทนานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วใน
หนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ก็ในข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทยมาโน
เป็นต้น คำว่า สุขํ เวทนํ อธิบายว่า เมื่อเสวยสุขเวทนาอันเป็นไปทางกาย
หรือทางจิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนี้เปรียบเหมือน
ทารกทั้งหลาย แม้ยังนอนหงายอยู่ในเวลาที่ดื่มน้ำนมเป็นต้น เมื่อเสวยสุขเวทนา
ก็ย่อมรู้ว่า เราเสวยสุขเวทนา ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้
ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. ด้วยว่า ความรู้เช่นนั้น ย่อมไม่ละสัตตูปลัทธิ
(คือ ความเห็นว่าเป็นสัตว์) ย่อมไม่เพิกถอนสัตตสัญญา (คือความสำคัญ
ว่าเป็นสัตว์) ทั้งมิใช่กรรมฐาน หรือมิใช่การเจริญสติปัฏฐาน. แต่ความรู้ของ
ภิกษุนี้ ย่อมละสัตตูปลัทธิ ย่อมเพิกถอนสัตตสัญญา ทั้งเป็นกรรมฐานด้วย
เป็นการเจริญสติปัฏฐานด้วย. เพราะว่า ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเสวย