เมนู

คำว่า อตฺถิ กาเย (มีอยู่ในกาย) นี้ ท่านไม่ประสงค์เอากาย
ของตนและกายของผู้อื่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า มีอยู่ในกายนี้. ก็ในข้ออื่น เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมว่า ปฏิกูล
ในสรีระอันมีอยู่ของตน อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำบริกรรม
ว่า ปฏิกูล ในสรีระอันมีอยู่ของผู้อื่น อัปปนาย่อมไม่เกิด อุปจาระก็ไม่เกิด.
ถามว่า ก็ปฏิกูลแม้ทั้งสองย่อมเกิดในอสุภ 10 มิใช่หรือ ? ตอบว่า ใช่
เพราะอสุภ 10 เหล่านั้นดำรงอยู่ในฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร ฉะนั้น อัปปนาก็ดี
อุปจาระก็ดี จึงเกิดขึ้นได้ในอสุภ 10 เหล่านั้น ส่วนปฏิกูลในสรีระของผู้อื่นนี้
ตั้งอยู่ในฝ่ายอุปาทินนกสังขาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อัปปนาและอุปจาระแม้
ทั้งสอง จึงไม่เกิดในที่นั้น. ก็วิปัสสนา กล่าวคือ การตามเห็นอสุภ พึงทราบ
ว่า เป็นภาวนา. ถามว่า ในข้อนี้ ท่านเรียกว่าอะไร. ตอบว่า ท่านเรียก
ว่า สมถวิปัสสนา. บัดนี้ พึงทราบปกิณณกะที่ทั่วไปแก่การมนสิการทั้งปวง
ในที่นี้ ต่อไป.

ว่าโดยนิมิตเป็นต้น


จริงอยู่ การวินิจฉัยผมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบ โดยนิมิต โดย
ลักษณะ โดยธาตุ โดยสุญญตะ
และ โดยขันธ์ เป็นต้น.
ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยนิมิต คือ พระโยคาวจร ย่อมกำหนด
อาการ 32 โดยโกฏฐาส ด้วยสามารถแห่งนิมิต 160 มีอยู่ในอาการ 23 คือ
ผม มีนิมิต 5 ได้แก่ วัณณนิมิต สัณฐานนิมิต ทิสานิมิต โอกาสนิมิต และ
ปริเฉทนิมิต. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (32 * 5 = 160).
ข้อว่า โดยลักษณะ คือ พระโยคาวจร ย่อมมนสิการอาการ 32
โดยลักษณะด้วยสามารถแห่งลักษณะ 128 ในอาการ 32 คือ ผม มีลักษณะ