เมนู

วัฏฏภัยได้ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้น ก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้เดินได้
คนเดียว แล้วปล่อยเท้าสำหรับเหยียบ มัวแลดูข้างโน้นข้างนี้พลัดตกลงไป ถึง
ความเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงมนสิการ
เกสาทั้งหลาย ครั้นมนสิการเกสาทั้งหลายแล้ว ก็จะห้ามมิให้จิตตุปบาทฟุ้ง
ไปภายนอก โดยจิตอันหมดจดอยู่นั่นแหละ พึงมนสิการต่อไปว่า โลมา นขา
ทนฺตา ตโจ
เมื่อมนสิการอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมก้าว
ล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมานั้นนั่นแหละ


ให้เป็นไปโดยสิ้นเชิง


พึงทราบว่า การที่ภิกษุผู้ฉลาด มนสิการผมทั้งหลาย ห้ามมิให้
จิตตุปบาทฟุ้งไปในภายนอกแล้ว ด้วยจิตอันหมดจดนั่นแหละ พึงมนสิการอยู่
ซึ่งคำว่า โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ดังนี้ ไม่ให้เสื่อมจากกรรมฐาน จึง
ก้าวล่วงวัฏฏะภัยได้ เปรียบเหมือน การที่บุรุษผู้ฉลาด ยังบุคคลให้ชำระหนี้
หนึ่งพันได้กำไรแล้วก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้ ระมัดระวังเครื่องนุ่งห่ม กระทำ
ธาตุ คือ กายให้ทะมัดทะแมงไปจนถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี. แม้เมื่อเธอ
ห้ามความฟุ้งซ่านไปในภายนอกอย่างนี้แล้ว พึงมนสิการ โดยการก้าวล่วง
บัญญัติ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. คือ พึงปล่อยบัญญัติว่า
เกสา โลมา เสีย แล้วตั้งสติว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ดังนี้. ก็กรรมฐานแรกนั้น
แหละยังมิได้ปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล ตราบใดกรรมฐานยังมิได้ปรากฏโดย
ความเป็นปฏิกูล ก็ไม่พึงสละบัญญัติก่อน. กาลใด กรรมฐานปรากฏโดยความ
เป็นปฏิกูล กาลนั้น พึงสละบัญญัติ มนสิการซึ่งคำว่า ปฏิกูล ดังนี้. ก็ภิกษุ

เมื่อกระทำ พึงมนสิการกรรมฐาน โดยความเป็นปฏิกูลโดยอาการ 5 อย่าง โดย
นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ เพราะว่าในตจปัญจกะ ย่อมได้ความเป็น
ปฏิกูลแม้ทั้ง 5 อย่าง ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ (ที่อาศัย)
และโอกาส (ที่ตั้ง) นั่นแหละ. แม้ในกรรมฐานที่เหลือ ภิกษุได้ปฏิกูลใด ๆ
ก็พึงให้มนสิการเป็นไปด้วยสามารถแห่งส่วนนั้น ๆ. บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น
โกฏฐาส 5 มีผมเป็นต้น ถึงการนับว่า เป็นสุภนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งราคะ
เป็นอิฏฐารมณ์ ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้ยังยินดีเหล่าใดเหล่าหนึ่ง สัตว์เหล่า
นั้นทั้งหมดย่อมยินดีในโกฏฐาส 5 เหล่านี้.
แต่ว่า ภิกษุนี้ย่อมบรรลุ
อัปปนาในโกฏฐาสอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีของมหาชนว่า เป็นของปฏิกูลได้
จำเดิมแต่การบรรลุอัปปนาในโกฏฐาส 5 เหล่านั้น ต่อจากโกฏฐาสนั้นไป เธอ
เป็นผู้ไม่ลำบากเลยที่จะบรรลุอัปปนาเทียว. ในข้อนั้น พึงทราบความอุปมา
ดังนี้.
เปรียบเหมือน นายขมังธนูผู้ฉลาด ให้พระราชาโปรดปรานแล้ว
ได้บ้านส่วยซึ่งมีรายได้แสนหนึ่ง ผูกสอดอาวุธ 5 อย่าง ไปในบ้านนั้น ใน
ระหว่างทางพบพวกโจร 32 คน บรรดาโจรเหล่านั้น เขาพึงฆ่าหัวหน้าโจร
ทั้ง 5 คน จำเดิมแต่โจรเหล่านั้นถูกฆ่าแล้ว ในโจรเหล่านั้น โจร 2 คน
ชื่อว่าเดินไปทางเดียวกันย่อมไม่มี ฉันใด อุปไมยนี้ พึงทราบฉันนั้น. กาล
ที่ภิกษุนี้ เรียนกรรมฐานในสำนักอาจารย์ ดำรงอยู่ เปรียบเหมือน กาลที่
นายขมังธนู ให้พระราชาโปรดปรานแล้วได้บ้านส่วย. โกฏฐาส 32 เปรียบ
เหมือนโจร 32 คน โกฏฐาส 5 มีเกสา เป็นต้น เปรียบเหมือนหัวหน้าโจร
5 คน. กาลที่ภิกษุนี้ บรรลุอัปปนาในตจปัญจกะอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
ของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นของปฏิกูล ดังนี้ เปรียบเหมือน กาลที่หัวหน้าโจร

ทั้ง 5 ถูกฆ่าตายแล้ว. พึงทราบว่า การบรรลุอัปปนาของภิกษุผู้ไม่ลำบากอยู่
ในโกฏฐาสที่เหลือนั่นแหละ เปรียบเหมือน กาลที่พวกโจรที่เหลือหนีไปโดย
เพียงการปรบมือของนายขมังธนูเท่านั้น. ภิกษุผู้ก้าวล่วงบัญญัติอยู่อย่างนี้ พึงให้
มนสิการเป็นไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือ เมื่อมนสิการผมทั้งหลายซ้ำ ๆ
อยู่นั่นแหละ
ครั้นฝักใฝ่ในผมทั้งหลายแล้ว พึงส่งสติไปในโลมาทั้งหลาย
ตราบใดโลมายังมิได้ปรากฏ ก็พึงมนสิการว่า เกสา เกสา ไปก่อน แต่
เมื่อใดโลมาทั้งหลายปรากฏอยู่ ในกาลนั้น พึงเว้นเกสาทั้งหลายแล้วให้สติเข้า
ไปตั้งไว้ในโลมาทั้งหลาย. ในโกฏฐาสทั้งหลาย แม้มีนขาเป็นต้น ก็พึงให้
มนสิการเป็นไปอย่างนี้. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาต่อไป.
เหมือนอย่างว่า ปลิงเมื่อจะไป ยังไม่ได้ที่พึ่งข้างหน้าก็ยังไม่ปล่อยที่ที่
หางเกาะไว้ข้างหลัง แต่เมื่อใดได้ที่พึ่งข้างหน้า เวลานั้นก็จะยกหางขึ้นไปเกาะ
อยู่ในที่ใกล้ปากจับไว้ ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อมนสิการเกสา
ซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหละ ฝักใฝ่ในเกสาแล้ว ก็พึงส่งสติไปในโลมา ตราบใดโลมา
ยังมิได้ปรากฏ ก็พึงมนสิการว่า เกสา เกสา ก่อน เวลาใดโลมาปรากฏ
เวลานั้น พึงปล่อยเกสาแล้วจึงให้สติตั้งไว้ในโลมา. แม้ในนขา (เล็บ) เป็นต้น
ก็พึงให้มนสิการเป็นไปอย่างนี้ อัปปนาย่อมเกิดโดยนัยอันเป็นไปแล้วอย่างนี้
เพราะฉะนั้น พึงยังมนสิการโกศลตามที่กล่าวแล้วให้ถึงพร้อม. คืออย่างไร ?
คือว่า
เมื่อมนสิการอัปปนากรรมฐานนี้อยู่ ก็ย่อมบรรลุอัปปนาได้ ครั้งแรก
ทีเดียวอัปปนายังไม่ปรากฏก่อน จริงอยู่ จิตที่เคยเจริญกรรมฐานมาแล้วใน
สังสารวัฏอันหาที่สุดมิได้ ซึ่งเป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ มีอยู่ ครั้นเมื่อเธอรำพึง
ว่า เกสา โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายดำเนินไปตั้งอยู่ที่ มตฺถลุงคํ
และสักว่ารำพึงว่า มตฺถลุงคํ โดยกระแสแห่งการสาธยายดำเนินไปตั้งอยู่ที่

เกสา ก็เมื่อมนสิการซ้ำ ๆ อยู่ โกฏฐาสนั้น ๆ ย่อมปรากฏ สติก็ตั้งมั่น
ดำรงอยู่เป็นไป. ด้วยเหตุนั้น โกฏฐาสใด ๆ ปรากฏยิ่งกว่า พึงทำความเพียร
ในโกฎฐาสนั้น ๆ โดยทวีคูณแล้วจะพึงบรรลุอัปปนา. จำเดิมแต่กาลที่บรรลุ
อัปปนาแล้วอย่างนี้ เธอย่อมบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสที่เหลือได้โดยไม่ลำบาก
เลย. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาเหมือนลิงในป่าตาล แล.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบการประกอบความแม้อย่างนี้ว่า
ลิงอาศัยอยู่ในป่าตาล 32 ต้น. นายพรานต้องการจะจับลิงนั้น จึงยืนอยู่ใกล้
ต้นตาล ฯลฯ ในที่สุดได้กระทำเสียงขับไล่. ลิงผู้มีมานชาติ (มีชาติแห่งสัตว์
มีมานะ คือการถือตัว) โลดไปสู่ตาลต้นนั้น ๆ แล้วหยุดอยู่ทีตาลต้นสุดท้าย.
นายพรานไปในที่แม้นั้นแล้วได้ทำเสียงขับไล่. ลิงจึงไปหยุดอยู่ที่ตาลต้นแรกนั้น
นั่นแหละ. ลิงนั้นถูกนายพรานติดตามขับอยู่บ่อย ๆ เหน็ดเหนื่อยอยู่ ก็หยุด
อยู่ที่ตาลต้นนั้น ๆ นั่นแหละ ในกาลที่นายพรานทำเสียงขับไล่ ๆ มันจึงจะลุก
ขึ้นไป. เมื่อมันเหน็ดเหนื่อยมากก็จะยึดยอดใบตาลของต้นตาลต้นหนึ่งไว้แน่น
แม้ถูกนายพรานยิงด้วยธนูจับมาก็ไม่หนีไป. ในข้อนั้น โกฏฐาส 32 เปรียบ
เหมือนตาล 32 ต้น. จิต
(ของพระโยคาวจร) เปรียบเหมือนลิง.
พระโยคาวจร เปรียบเหมือนนายพราน.
การที่พระโยคาวจรมีจิตเคย
อบรมแล้วในสังสารวัฏอันหาที่สุดมิได้ และในอารมณ์ต่าง ๆ พอเธอรำพึงว่า
เกสา โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายไปตั้งอยู่ที่ มตฺถลุงคํ เปรียบ-
เหมือน กาลที่ลิงผู้มีมานชาติในขณะที่ถูกนายพรานยืนอยู่ใกล้ต้นตาลทำเสียง
ขับไล่ จึงหนีไปหยุดอยู่ที่ตาลต้นสุดท้าย. การที่พระโยคาวจรเพียงรำพึงว่า
มตฺถลุงคํ โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายมาหยุดอยู่ที่ เกสา เปรียบเหมือน
กาลที่ลิงอยู่ที่ตาลต้นสุดท้าย เมื่อถูกนายพรานทำเสียงขับไล่ ก็กลับมาในที่สุด

แห่งตาลข้างนี้. การที่พระโยคาวจรมนสิการซ้ำ ๆ อยู่ เมื่อโกฏฐาสนั้น ๆ
ปรากฏอยู่ สติก็จะตั้งมั่น ดำรงอยู่เป็นไป เปรียบเหมือน กาลที่ลิงนั้นถูกนาย
พรานติดตามอยู่บ่อย ๆ เหน็ดเหนื่อยอยู่ จึงลุกขึ้นไปในขณะที่ถูกนายพรานขับ
ไล่ ๆ. การที่โกฏฐาสใดปรากฏยิ่งกว่า (ชัดกว่า) แล้วจึงทำมนสิการในโกฏฐาส
นั้นให้ทวีคูณไปจนบรรลุอัปปนา เปรียบเหมือน กาลที่ลิงแม้ถูกนายพรานยิง
ด้วยธนูจับตัวมาก็ไม่หนีไป ฉะนั้น. ในโกฏฐาสเหล่านั้น จำเดิมแต่บรรลุ
อัปปนาแล้ว จักบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสที่เหลือได้โดยไม่ลำบากเลย. เพราะ
ฉะนั้น พระโยคาวจรพึงรำพึงว่า ปฏิกูล ปฏิกูล บ่อย ๆ พึงนำปฏิกูลมาตรึก
บ่อย ๆ เมื่อทำอยู่อย่างนี้ นามขันธ์ 4 ย่อมมีอารมณ์ปฏิกูลก็จะบรรลุอัปปนา
ได้. คำทั้งปวงที่ว่า ปุพภาคจิตทั้งหลาย มีวิตก วิจาร กล่าวคือ บริกรรม
และอุปจาระ เป็นต้น เช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. แต่ว่าเมื่อ
มนสิการโกฏฐาสหนึ่ง ปฐมฌานหนึ่งเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดย
เฉพาะแต่ละโกฏฐาส ปฐมฌาน 32 ย่อมเกิดขึ้น.
คำว่า โส ตํ นิมิตฺตํ ได้แก่ ภิกษุนั้น. . . ซึ่งนิมิตแห่งกรรมฐาน
นั้น. คำว่า อาเสวติ คือ ย่อมเสพ ย่อมคบ. คำว่า ภาเวติ คือ ย่อม
เจริญ. คำว่า พหุลีกโร คือ กระทำบ่อย ๆ. คำว่า สฺวาวตฺถิตํ ววตฺถเปติ
คือ กระทำกำหนดให้ดี. ข้อว่า พหิทฺธา กาเย จิตฺตํ อุปสํหรติ (แปลว่า
ย่อมน้อมจิตไปในกายภายนอก) อธิบายว่า ครั้นกระทำอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อม
คือย่อมให้จิตไป ย่อมส่งจิตของตนไปในกายของผู้อื่นอันเป็นไปภายนอก
คำว่า อตฺถิสฺส กาเย คือ มีอยู่ในกายของผู้นั้น. ข้อว่า อชฺฌตฺต-
ทหิทฺธา กาเย จิตฺตํ อุปสํหรติ
(แปลว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายทั้งภายใน
และภายนอก) อธิบายว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายของตนตามกาลสมควร
น้อมจิตไปในกายของผู้อื่นตามกาลสมควร.

คำว่า อตฺถิ กาเย (มีอยู่ในกาย) นี้ ท่านไม่ประสงค์เอากาย
ของตนและกายของผู้อื่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า มีอยู่ในกายนี้. ก็ในข้ออื่น เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมว่า ปฏิกูล
ในสรีระอันมีอยู่ของตน อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำบริกรรม
ว่า ปฏิกูล ในสรีระอันมีอยู่ของผู้อื่น อัปปนาย่อมไม่เกิด อุปจาระก็ไม่เกิด.
ถามว่า ก็ปฏิกูลแม้ทั้งสองย่อมเกิดในอสุภ 10 มิใช่หรือ ? ตอบว่า ใช่
เพราะอสุภ 10 เหล่านั้นดำรงอยู่ในฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร ฉะนั้น อัปปนาก็ดี
อุปจาระก็ดี จึงเกิดขึ้นได้ในอสุภ 10 เหล่านั้น ส่วนปฏิกูลในสรีระของผู้อื่นนี้
ตั้งอยู่ในฝ่ายอุปาทินนกสังขาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อัปปนาและอุปจาระแม้
ทั้งสอง จึงไม่เกิดในที่นั้น. ก็วิปัสสนา กล่าวคือ การตามเห็นอสุภ พึงทราบ
ว่า เป็นภาวนา. ถามว่า ในข้อนี้ ท่านเรียกว่าอะไร. ตอบว่า ท่านเรียก
ว่า สมถวิปัสสนา. บัดนี้ พึงทราบปกิณณกะที่ทั่วไปแก่การมนสิการทั้งปวง
ในที่นี้ ต่อไป.

ว่าโดยนิมิตเป็นต้น


จริงอยู่ การวินิจฉัยผมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบ โดยนิมิต โดย
ลักษณะ โดยธาตุ โดยสุญญตะ
และ โดยขันธ์ เป็นต้น.
ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยนิมิต คือ พระโยคาวจร ย่อมกำหนด
อาการ 32 โดยโกฏฐาส ด้วยสามารถแห่งนิมิต 160 มีอยู่ในอาการ 23 คือ
ผม มีนิมิต 5 ได้แก่ วัณณนิมิต สัณฐานนิมิต ทิสานิมิต โอกาสนิมิต และ
ปริเฉทนิมิต. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (32 * 5 = 160).
ข้อว่า โดยลักษณะ คือ พระโยคาวจร ย่อมมนสิการอาการ 32
โดยลักษณะด้วยสามารถแห่งลักษณะ 128 ในอาการ 32 คือ ผม มีลักษณะ