เมนู

อธิบายอายุของมนุษย์และเทวดา


คำว่า อปฺปํ วา ภิยฺโย อธิบายว่า อายุของเหล่ามนุษย์นั้น ไม่ถึง
200 ปี คือว่ามีอายุร้อยปี เกิน 20 ปี หรือว่า 30, 40, 50, ปี หรือว่า 60 ปี
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺปํ (อายุน้อย) ดังนี้ เพราะ
ไม่ถึง 200 ปี.
พึงทราบ วินิจฉัยในพรหมปาริสัชชา เป็นต้น พรหมทั้งหลาย
เป็นผู้แวดล้อมคือ เพราะเป็นบริวารผู้บำเรอมหาพรหม. เหตุนั้น ชื่อว่า
พรหมปาริสัชชา. ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา เพราะตั้งอยู่ในความเป็นปุโรหิต
(อาจารย์) ของพรหมเหล่านั้น. ชื่อว่า มหาพรหมา เพราะเป็นพรหมใหญ่
โดยความเป็นผู้มีวรรณะงามและความเป็นผู้มีอายุยืน. ชนแม้ทั้ง 3 เหล่านี้
ย่อมอยู่ในปฐมฌานภูมิอันเป็นพื้นเดียวกัน. ก็แต่ว่าอายุแห่งพรหมเหล่านั้น
ต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตาภา เพราะมีรัศมีน้อย. ชื่อว่า อัปปมาณาภา
เพราะมีรัศมีหาประมาณมิได้. ที่ชื่อว่า อาภัสสรา เพราะรัศมีจากสรีระของ
พรหมเหล่านั้นเป็นราวกะเปลวไฟจากประทีบมีด้ามซ่านไป ซ่านออกไปสู่ที่
ต่าง ๆ ราวกะถึงการเจาะทะลุไป. ชนทั้ง 3 แม้เหล่านี้ ย่อมอยู่ระดับเดียวกัน
ในทุติยฌานภูมิ. ก็แต่ว่าการกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตสุภา เพระความงามของพรหมเหล่านั้นน้อย.
ชื่อว่า อัปปมาณสุภา เพราะความงามของพรหมเหล่านั้นไม่มีประมาณ. ชื่อ
ว่า สุภกิณหา เพราะพรหมเหล่านั้น มีความงามเดียรดาษกว้างขวาง มีรัศมี
แห่งสรีระงดงาม มีสีแห่งกายเป็นอันเดียวกัน มีสิริดุจแท่งทองคำรุ่งเรืองสุกใส
ตั้งอยู่ในหีบทองคำฉะนั้น. ชนเหล่านี้แม้ทั้ง 3 ย่อมอยู่ในตติยฌานภูมิอันเป็น
ระดับเดียวกัน. แต่ว่า การกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.

ว่า อารมฺมณนานตฺตตา (แปลว่า เพราะอารมณ์ที่ต่างกัน) ได้
แก่ความเป็นผู้มีอารมณ์ต่างกัน. ในคำว่า มนสิการนานตฺตตา เป็นต้น
(แปลว่า เพราะมนสิการที่ต่างกัน) ก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบในการต่างกัน
แห่งอารมณ์นั้นดังนี้ คือ ปฐวีกสิณ ย่อมเป็นอารมณ์ของบุคคลคนหนึ่ง ฯลฯ
โอทาตกสิณเป็นอารมณ์ของบุคคลคนหนึ่ง ดังนี้ ชื่อว่า อารัมมณนานัตตะ ซึ่ง
แปลว่า มีอารมณ์ต่างกัน. คำว่าบุคคลหนึ่งมีฉันทะในปฐวีกสิณ ฯลฯ บุคคล
หนึ่งมีฉันทะในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีฉันทะต่างกัน คำว่า
บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมกระทำการปรารถนาในปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่งย่อมกระทำ
ความปรารถนาในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีปณิธิต่างกัน. คำว่า
ผู้หนึ่งย่อมน้อมใจไปด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่งย่อมน้อมใจไปใน
โอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความน้อมใจเชื่อต่างกัน. คำว่า บุคคลผู้
หนึ่งย่อมยังจิตให้มุ่งไปด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่ง ย่อมให้จิคมุ่งไป
ด้วยสามารถแห่งโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีอภินีหารต่างกัน. คำว่า
บุคคลผู้หนึ่งมีปัญญาสามารถกำหนดปถวีกสิณ ฯลฯ คนหนึ่งมีปัญญาสามารถ
กำหนดโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีปัญญาต่างกัน.
ในอธิการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอารมณ์และมนสิการไว้โดย
ส่วนเบื้องต้น. ฉันทะ ปณิธิ ความน้อมใจเชื่อ และอภินีหาร ย่อมเป็นไปใน
อัปปนาบ้าง ในอุปจาระบ้าง. ส่วนปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น
มิสสกะ คือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.
คำว่า อสญฺญสตฺตานํ ได้แก่ สัตว์ที่เว้นจากสัญญา. จริงอยู่ สมณะ
พราหมณ์บางพวกบวชในลัทธิต่าง ๆ เห็นโทษในจิตว่า เพราะอาศัยจิต ชื่อว่า
ความยินดี ความยินร้าย และความหลงใหล จึงมี ดังนี้ แล้วจึงยัง สัญญา-

วิราคะ (ความหมดความยินดีในสัญญา) ให้เกิด มนสิการว่า ชื่อว่า ความ
เป็นผู้ไม่มีจิต เป็นสิ่งที่พอใจ และนั่นเป็นทิฏฐธัมมนิพพาน ดังนี้ แล้วเจริญ
สมาบัติเข้าถึงสัญญาวิราคะนั้น จึงเกิดขึ้นในภพที่ไม่มีสัญญานั้น. ในขณะแห่ง
การเกิดของอสัญญสัตตพรหมเหล่านั้น รูปขันธ์อย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น.
พรหมเหล่านั้นเมื่อยืนเกิด ก็ย่อมยืนอยู่นั่นแหละ เมื่อนั่งเกิด ก็ย่อมนั่งอยู่
นั่นแหละ เมื่อนอนเกิด ก็ย่อมนอนอยู่นั่นแหละ เป็นดังเช่นรูปจิตรกรรม
(รูปวาด) ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอด 500 กัป ในที่สุดแห่งพรหมเหล่านั้น รูป
กายนั้น ย่อมอันตรธานไป กามาวจรสัญญา ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น
เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏว่า เคลื่อนแล้วจากกายนั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่ง
สัญญาในโลกนี้ดังนี้.
พรหมเหล่านั้น ที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะผลของเขาเหล่านั้น
ไพบูลย์. ชื่อว่า อวิหา เพราะย่อมไม่เสื่อม ไม่สูญไปจากสมาบัติของตน.
ชื่อว่า อตัปปา เพราะย่อมไม่ยังสัตว์ไร ๆ ให้เดือนร้อน. ชื่อว่า สุทัสสา
เพราะอรรถว่า เห็นดี มีรูปงามน่าเลื่อมใส. ชื่อว่า สุทัสสี เพราะเทวดา
เหล่านั้น ย่อมเห็นด้วยดี หรือว่า การเห็นของเทวดาเหล่านั้นดี. ชื่อว่า
อกนิฏฐา เพราะเป็นผู้เจริญที่สุด ด้วยคุณทั้งหมดทีเดียว และด้วยภวสมบัติ
สำหรับผู้ที่มีคุณธรรมน้อย ย่อมไม่มีในที่นี้.
คำว่า อากาสานญฺจายตนํ อุปคตา ได้แก่ เข้าถึงอากาสานัญ-
จายตนะ. ในคำแม้นอกนี้ก็นัยนี้แหละ.
ภูมิคือ กามาวจร 6 พรหมโลก 9 สุทธาวาส 5 อรูป 4 อสัญญสัตตา
1 และเวหัปผลา 1 รวมเป็นเทวโลก 26 ภูมิ และมนุษยโลกอีกหนึ่ง จึงเป็น
27 ภูมิด้วยประการฉะนี้. บรรดาภูมิทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง
กำหนดอายุของมนุษย์และเทวดา มิได้ทรงกำหนดอายุสัตว์ในอบายภูมิ 4 และ
ในภุมมเทวดาทั้งหลาย.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงมิได้ทรงกำหนดอายุในอบาย 4 และ
ภุมมเทวดาเหล่านั้น.

ตอบว่า ในนรกก่อน กรรมเท่านั้น เป็นประมาณ คือว่า กรรมยัง
ไม่สิ้นไปตราบใด ก็ย่อมไหม้อยู่ในนรกตราบนั้น ในอบายที่เหลือก็เหมือนกัน.
กรรมนั่นแหละเป็นประมาณแม้ของภุมมเทวดาทั้งหลาย. จริงอยู่ เทวดาบาง
พวกเกิดแล้วในภูมินั้น ย่อมตั้งอยู่เพียง 7 วัน บางพวกตั้งอยู่กึ่งเดือน บางพวก
ตั้งอยู่หนึ่งเดือน แม้ตั้งอยู่ถึงหนึ่งกัปก็มี. ในเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
พระโสดาบันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ในมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบรรลุซึ่ง
สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง. บรรดาพระอริยะเหล่านั้น
พระโสดาบันเป็นต้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต พระขีณาสพทั้งหลายเท่านั้น ย่อม
ปรินิพพาน หรือว่า ย่อมบวช. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่า
ธรรมดาว่าพระอรหัตมีคุณอันประเสริฐที่สุด แต่เพศคฤหัสถ์เป็นเพศต่ำ. เพศ
แห่งคฤหัสถ์จึงไม่อาจเพื่อทรงคุณอันสูงสุดนั้น เพราะความเป็นเพศต่ำ. เพราะ
ฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงใคร่เพื่อจะปรินิพพาน หรือว่าเพื่อจะบวช.
ส่วนภุมมเทวดา แม้บรรลุพระอรหัต แล้วย่อมดำรงอยู่ตลอด
ชีวิต. พระโสดาบันและพระสกทาคามีนั่นแหละ ในเทวดากามาวจร
6 ชั้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดกาลแห่งชีวิต. พระอนาคามีควรไปสู่
รูปภพ. แต่พระขีณาสพ ควรเพื่อปรินิพพาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความไม่มีโอกาส (ที่ว่าง) เพื่อหลีกเร้น. พระอริยะ
แม้ทั้งหมดในรูปาวจร และอรูปาวจร ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต. พระโสดาบัน
พระสกทาคามี ผู้บังเกิดในรูปาวจรนั้น ย่อมไม่กลับมาในโลกนี้อีก ย่อมปริ-

นิพพานในภพนั้นนั่นแหละ. เพระว่า พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่า
นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่กลับมาเพราะฌานลาภี (หมายถึงพระโสดาบัน พระ-
สกทาคามีในรูปภพมีชื่อว่า ฌานลาภีอนาคามีผู้ไม่กลับมาเพราะได้ฌาน)
ถามว่า ก็อะไร ว ย่อมกำหนดการได้สมาบัติ 8 ?
ตอบว่า ฌานอันคล่องแคล่ว ย่อมกำหนด คือว่า ฌานใดของ
บุคคลนั้นคล่องแคล่ว เพราะความที่ฌานคล่องแคล่วนั้น สมาบัติ 8 จึงเกิดขึ้น.
ถามว่า ก็อะไร ย่อมกำหนดฌานทั้งหลายทั้งปวงอันคล่องแคล่ว ?
ตอบว่า ความปรารถนากำหนด คือบุคคลใด ย่อมปรารถนาการ
เกิดขึ้นในที่ใด ย่อมทำฌานแล้วเกิดขึ้นในที่นั้นนั่นแหละ.
ถามว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี อะไร ย่อมกำหนด ?
ตอบว่า สมาบัติอันผู้นั้นเข้าถึงแล้วในสมัยใกล้มรณะย่อมกำหนด.
ถามว่า สมาบัติที่ถึงพร้อมแล้วในสมัยใกล้มรณะไม่มี อะไร ย่อม
กำหนดเล่า ?

ตอบว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อม
บังเกิดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนภพโดยส่วนเดียว. ความบังเกิดขึ้นในที่นั้น
นั่นแหละก็ดี การเกิดขึ้นในเบื้องบนก็ดี ย่อมมีแก่พระอริยสาวกผู้บังเกิดใน
พรหมโลก 9 หามีการเกิดขึ้นในภพเบื้องต่ำไม่. ส่วนการเกิดในภพนั้นก็ดี
การเกิดในภพที่สูงขึ้นไปก็ดี การเกิดในภพเบื้องต่ำก็ดี ย่อมมีแก่ปุถุชนทั้งหลาย
ความเกิดขึ้นในภพนั้นก็ดี การเกิดขึ้นในภพที่สูงขึ้นไปก็ดี ย่อมมีแก่พระอริย-
สาวกในสัทธาวาส 5 และในอรูปภพ 4. พระอนาคามีผู้บังเกิดในปฐมฌานภูมิ
ชำระพรหมโลก 9 ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นสูงสุดแล้ว จึงปรินิพพาน-
เทวโลกทั้ง 3 เหล่านั้น คือ เวหัปผลา อกนิฏฐา เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ชื่อว่า ภพอันประเสริฐที่สุด. พระอนาคามีในภพทั้ง 3 เหล่านี้ ย่อมไม่ไปสู่ภพ
เบื้องบนและไม่ลงมาสู่ภพเบื้องต่ำ ย่อมปรินิพพานในภพนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้
นี้เป็นปกิณณกะในวาระที่ 6 แล.

อภิญเญยยาทิวาระที่ 7


ในวาระที่ 7

บัณฑิตพึงทราบความเป็นแห่งอภิญเญยยะ (ธรรม
ที่พึงรู้ยิ่ง หรือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง) ด้วยสามารถแห่งการรู้ยิ่งซึ่งการกำหนดธรรม
อันเป็นไปกับด้วยลักษณะ. ความเป็นแห่งปริญเญยยะ (แปลว่าธรรมควร
กำหนดรู้) พึงทราบด้วยสามารถแห่งปริญญาทั้งหลาย คือ ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ก็ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่ง
ญาตปริญญาและตีรณปริญญาเท่านั้น. ในคำว่า รูปขันธ์เป็นอภิญเญยยะ
เป็นปริญเญยยะ ไม่ใช่ปหาตัพพะ
เป็นต้น นั่นแหละ.
สมุทยสัจจะ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งปหานปริญญา ในคำว่า
สมุทยสัจจะ เป็นอภิญเญยยะ เป็นปริญเญยยะ เป็นปหาตัพพะ
เป็นต้น.

อธิบายสารัมมณานารัมมณาทิวาระที่ 8


ในวาระที่ 8

บัณฑิตพึงทราบ ความไม่มีอารมณ์ (อนารัมมณะ)
และมีอารมณ์ (อารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น
และแห่งวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น.

อธิบายทัสสนวาระที่ 9


ในวาระที่ 9

มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.