เมนู

อธิบายอายุของมนุษย์และเทวดา


คำว่า อปฺปํ วา ภิยฺโย อธิบายว่า อายุของเหล่ามนุษย์นั้น ไม่ถึง
200 ปี คือว่ามีอายุร้อยปี เกิน 20 ปี หรือว่า 30, 40, 50, ปี หรือว่า 60 ปี
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺปํ (อายุน้อย) ดังนี้ เพราะ
ไม่ถึง 200 ปี.
พึงทราบ วินิจฉัยในพรหมปาริสัชชา เป็นต้น พรหมทั้งหลาย
เป็นผู้แวดล้อมคือ เพราะเป็นบริวารผู้บำเรอมหาพรหม. เหตุนั้น ชื่อว่า
พรหมปาริสัชชา. ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา เพราะตั้งอยู่ในความเป็นปุโรหิต
(อาจารย์) ของพรหมเหล่านั้น. ชื่อว่า มหาพรหมา เพราะเป็นพรหมใหญ่
โดยความเป็นผู้มีวรรณะงามและความเป็นผู้มีอายุยืน. ชนแม้ทั้ง 3 เหล่านี้
ย่อมอยู่ในปฐมฌานภูมิอันเป็นพื้นเดียวกัน. ก็แต่ว่าอายุแห่งพรหมเหล่านั้น
ต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตาภา เพราะมีรัศมีน้อย. ชื่อว่า อัปปมาณาภา
เพราะมีรัศมีหาประมาณมิได้. ที่ชื่อว่า อาภัสสรา เพราะรัศมีจากสรีระของ
พรหมเหล่านั้นเป็นราวกะเปลวไฟจากประทีบมีด้ามซ่านไป ซ่านออกไปสู่ที่
ต่าง ๆ ราวกะถึงการเจาะทะลุไป. ชนทั้ง 3 แม้เหล่านี้ ย่อมอยู่ระดับเดียวกัน
ในทุติยฌานภูมิ. ก็แต่ว่าการกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตสุภา เพระความงามของพรหมเหล่านั้นน้อย.
ชื่อว่า อัปปมาณสุภา เพราะความงามของพรหมเหล่านั้นไม่มีประมาณ. ชื่อ
ว่า สุภกิณหา เพราะพรหมเหล่านั้น มีความงามเดียรดาษกว้างขวาง มีรัศมี
แห่งสรีระงดงาม มีสีแห่งกายเป็นอันเดียวกัน มีสิริดุจแท่งทองคำรุ่งเรืองสุกใส
ตั้งอยู่ในหีบทองคำฉะนั้น. ชนเหล่านี้แม้ทั้ง 3 ย่อมอยู่ในตติยฌานภูมิอันเป็น
ระดับเดียวกัน. แต่ว่า การกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.