เมนู

มหาสาละ. อีกอย่างหนึ่ง คหบดีทั้งหลายนั่นแหละเป็นผู้มหาศาล หรือว่า
ความมหาศาลทั้งหลาย มีอยู่ในคหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น คหบดีเหล่านั้น
จึงชื่อว่า คหบดีมหาศาล. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.

คหบดีมหาศาล


ในบุคคลเหล่านั้น ในบ้านของบุคคลเหล่าใด มีทรัพย์ต้นทุนเก็บไว้
อย่างต่ำสุด 40 โกฏิ และย่อมใช้จ่ายกหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารประจำวันละ
5 อัมพณะ ผู้นี้ ชื่อว่า คหบดีมหาศาล.

พราหมณ์มหาศาล


ก็ในบ้านของบุคคลใด มีทรัพย์ต้นทุนอย่างต่ำสุด 80 โกฏิ และย่อม
ใช้กหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารวันละ 10 อัมพณะ บุคคลนี้ ชื่อว่า พราหมณ์
มหาศาล
.

กษัตริย์มหาศาล


ในพระราชมณเฑียรของพระราชาองค์ใด มีพระราชทรัพย์คงพระคลัง
อย่างต่ำสุด 100 โกฏิ และย่อมใช้กหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารวันละ 20
อัมพณะ พระราชานี้ชื่อว่า กษัตริย์มหาศาล.
คำว่า สหพฺยตํ ได้แก่ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน (เป็นสหายกัน).
อธิบายว่า เกิดเสมอกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า จาตุมหาราชิกานํ เป็นต้น เทวดาทั้งหลาย
ชื่อว่า จาตุมมหาราชิกา ย่อมมี ณ ท่ามกลางแห่งภูเขา ชื่อ สิเนรุ. ในเทวดา
เหล่านั้นบางพวกดำรงอยู่ที่ภูเขา บางพวกดำรงอยู่ที่อากาศ. ลำดับแห่งเทวดา
เหล่านั้นถึงภูเขาจักรวาล. เทวดาเหล่านั้น คือ ชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะ ชื่อว่า
มโนปโทสิกะ ชื่อว่าสีตวลาหก ชื่อว่าอุณหวลาหก ชื่อว่าจันทิมเทวบุตร ชื่อ
ว่าสุริยเทวบุตร แม้ทั้งปวงดำรงอยู่ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาเท่านั้น.
ชนทั้งหลาย 33 คน บังเกิดแล้วในเทวโลกนั้น เพราะเหตุนั้น
เทวโลกนั้น จึงชื่อว่า ดาวดึงส์ (แปลว่า เทวโลกเป็นที่อยู่ของเทวดา 33 ตน).
ก็เทวดาแม้เหล่านั้นดำรงอยู่ที่ภูเขาก็มี ดำรงอยู่ที่อากาศก็มี. อันดับแห่งเทวดา
เหล่านั้น ก็ถึงภูเขาจักรวาล. อันดับของเทวดายามาเป็นต้น ก็เหมือนกัน จริง
อยู่ แม้ในเทวโลกเดียว อันดับของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าไม่ถึงภูเขาจักรวาล
ย่อมไม่มี.
ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ยังชีวิตให้ดำเนินไป ยังชีวิตให้
เป็นไปทั่ว ยังชีวิตให้ถึงพร้อมซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ เพราะเหตุนั้น เทวดา
เหล่านั้น จึงชื่อว่า ยามา.
เทวดาเหล่าใดเป็นผู้ยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่า
นั้น จึงชื่อว่า ดุสิต.
เทวดาเหล่าใดเนรมิตแล้ว ๆ ย่อมยินดีในการบริโภคกาม (กามโภค)
ตามชอบใจในเวลาที่ปรารถนาเพื่อยินดีอันยิ่ง โดยความเป็นอารมณ์อันตกแต่ง
ตามปกติ เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า นิมมานรดี.
เทวดาเหล่าใด ทราบซึ่งอาจาระแห่งจิตแล้วยังอำนาจให้เป็นไปอยู่ใน
โภคะทั้งหลายอันผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึง
ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี.

อธิบายอายุของมนุษย์และเทวดา


คำว่า อปฺปํ วา ภิยฺโย อธิบายว่า อายุของเหล่ามนุษย์นั้น ไม่ถึง
200 ปี คือว่ามีอายุร้อยปี เกิน 20 ปี หรือว่า 30, 40, 50, ปี หรือว่า 60 ปี
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺปํ (อายุน้อย) ดังนี้ เพราะ
ไม่ถึง 200 ปี.
พึงทราบ วินิจฉัยในพรหมปาริสัชชา เป็นต้น พรหมทั้งหลาย
เป็นผู้แวดล้อมคือ เพราะเป็นบริวารผู้บำเรอมหาพรหม. เหตุนั้น ชื่อว่า
พรหมปาริสัชชา. ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา เพราะตั้งอยู่ในความเป็นปุโรหิต
(อาจารย์) ของพรหมเหล่านั้น. ชื่อว่า มหาพรหมา เพราะเป็นพรหมใหญ่
โดยความเป็นผู้มีวรรณะงามและความเป็นผู้มีอายุยืน. ชนแม้ทั้ง 3 เหล่านี้
ย่อมอยู่ในปฐมฌานภูมิอันเป็นพื้นเดียวกัน. ก็แต่ว่าอายุแห่งพรหมเหล่านั้น
ต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตาภา เพราะมีรัศมีน้อย. ชื่อว่า อัปปมาณาภา
เพราะมีรัศมีหาประมาณมิได้. ที่ชื่อว่า อาภัสสรา เพราะรัศมีจากสรีระของ
พรหมเหล่านั้นเป็นราวกะเปลวไฟจากประทีบมีด้ามซ่านไป ซ่านออกไปสู่ที่
ต่าง ๆ ราวกะถึงการเจาะทะลุไป. ชนทั้ง 3 แม้เหล่านี้ ย่อมอยู่ระดับเดียวกัน
ในทุติยฌานภูมิ. ก็แต่ว่าการกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.
พรหมที่ชื่อว่า ปริตตสุภา เพระความงามของพรหมเหล่านั้นน้อย.
ชื่อว่า อัปปมาณสุภา เพราะความงามของพรหมเหล่านั้นไม่มีประมาณ. ชื่อ
ว่า สุภกิณหา เพราะพรหมเหล่านั้น มีความงามเดียรดาษกว้างขวาง มีรัศมี
แห่งสรีระงดงาม มีสีแห่งกายเป็นอันเดียวกัน มีสิริดุจแท่งทองคำรุ่งเรืองสุกใส
ตั้งอยู่ในหีบทองคำฉะนั้น. ชนเหล่านี้แม้ทั้ง 3 ย่อมอยู่ในตติยฌานภูมิอันเป็น
ระดับเดียวกัน. แต่ว่า การกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.