เมนู

ดังนี้.1 เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ 5 เท่านั้น แม้เพราะความที่วัตถุแห่งการ
ยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนก็มีขันธ์ 5 นี้เป็นอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมขันธ์
5 มีศีลขันธ์เป็นต้นอื่น ๆ ใดที่ตรัสไว้ แม้ธรรมขันธ์เหล่านั้น2 ก็ถึงการรวม
ลงในขันธ์ 5 นี้ เพราะความที่ธรรมขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า ขันธ์มี 5 เท่านั้น เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ไม่พ้นจากขันธ์นั้น
พึงทราบนัยแห่งวินิจฉัยโดยไม่หย่อนยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยความอุปมา


ก็ในข้อว่า โดยความอุปมา นี้ รูปอุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือน
โรงพยาบาล เพราะเป็นที่อยู่ของวิญญาณอุปาทานขันธ์ซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วย
ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์. เวทนาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือน
ความป่วยไข้เพราะเป็นตัวเบียดเบียน. สัญญาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือนสมุฏ-
ฐานของความป่วยไข้ เพราะเป็นแดนเกิดเวทนาที่สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ด้วยอำนาจกามสัญญาเป็นต้นนั่นแหละ. สังขารอุปาทานขันธ์ เปรียบ
เหมือนการเสพอสัปปายะ เพราะเป็นต้นเหตุแห่งความป่วยไข้ คือ ตัวเวทนา
สมดังที่ตรัสไว้ว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ฯเปฯ ภิกฺขเว
ตสฺมา สงฺขาราติ วุจฺจนฺติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า สังขาร เพราะ
อรรถว่า ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ
เวทนาโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญาโดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารทั้งหลายโดยความเป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรม
1. สํ. ขนฺธวาร. เล่มที่ 17 420/250
2. ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

คือวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ.1 อนึ่ง กายวิญญาณที่เป็นวิบากสหรคตด้วย
ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว เพราะทำคือสั่งสมอกุศลกรรมไว้แล้ว เพราะฉะนั้น วิญญาณ
อุปาทานขันธ์ จึงเปรียบเหมือนคนป่วย เพราะความไม่หลุดพ้นด้วยความป่วย-
ไข้คือตัวเวทนา.
อีกอย่างหนึ่ง อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ มีอุปมาเหมือนบุคคลผู้ท่อง-
เที่ยวไป เหมือนการณะคือเหตุ เหมือนความผิด เหมือนผู้ก่อเหตุ เหมือนผู้มี
ความผิด และเปรียบเหมือนภาชนะ เหมือนโภชนะ เหมือนกับข้าว เหมือน
ผู้เลี้ยงอาหาร เหมือนผู้บริโภค พึงทราบนัยแห่งการวินิจฉัยขันธ์ 5 โดยความ
อุปมาอย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าโดยพึงเห็นด้วยอุปมา 2 อย่าง


ข้อว่า โดยพึงเห็นด้วยอุปมา 2 อย่าง นี้ บัณฑิตพึงทราบ
นัยแห่งการวินิจฉัยในขันธ์ 5 นี้ แม้โดยพึงเห็นด้วยอุปมา 2 อย่างนี้ คือ
โดยย่อ และโดยพิสดาร.
ก็เมื่อว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 บัณฑิตพึงเห็นโดยความเป็นเหมือน
ข้าศึกผู้เงื้อดาบตามนัยที่ตรัสไว้ในอาสีวิสูปมสูตร โดยเป็นภาระ (ของหนัก)
ด้วยอำนาจภารสูตร โดยความเป็นผู้เคี้ยวกินด้วยอำนาจขัชชนียปริยายสูตร และ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสังขตะ เป็นผู้ฆ่าด้วย
อำนาจยมกสูตร. ส่วนโดยพิสดารในอุปทานขันธ์ 5 นี้ พึงเห็นรูปเหมือน
ก้อนฟองน้ำ พึงเห็นเวทนาเหมือนต่อมน้ำ พึงเห็นสัญญาเหมือนพยับแดด
1. สํ. ขนฺธวาร เล่ม 17 159/106
2. หน้าจะเทียบดังนี้ว่า รูปเหมือนบุคคลผู้ท่องเที่ยวไป เวทนาเหมือนการทำของบุคคลนั้น
สัญญาเหมือนความผิด (เช่นสัญญาวิปลาส) สังขารเหมือนผู้ก่อเหตุ วิญญาณเห็นผู้มีความ
ผิดได้รับโทษ อย่างไรก็ดีท่านไม่อธิบายไว้ ผู้แปล.