เมนู

ดังนี้.1 เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ 5 เท่านั้น แม้เพราะความที่วัตถุแห่งการ
ยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนก็มีขันธ์ 5 นี้เป็นอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมขันธ์
5 มีศีลขันธ์เป็นต้นอื่น ๆ ใดที่ตรัสไว้ แม้ธรรมขันธ์เหล่านั้น2 ก็ถึงการรวม
ลงในขันธ์ 5 นี้ เพราะความที่ธรรมขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า ขันธ์มี 5 เท่านั้น เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ไม่พ้นจากขันธ์นั้น
พึงทราบนัยแห่งวินิจฉัยโดยไม่หย่อนยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยความอุปมา


ก็ในข้อว่า โดยความอุปมา นี้ รูปอุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือน
โรงพยาบาล เพราะเป็นที่อยู่ของวิญญาณอุปาทานขันธ์ซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วย
ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์. เวทนาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือน
ความป่วยไข้เพราะเป็นตัวเบียดเบียน. สัญญาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือนสมุฏ-
ฐานของความป่วยไข้ เพราะเป็นแดนเกิดเวทนาที่สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ด้วยอำนาจกามสัญญาเป็นต้นนั่นแหละ. สังขารอุปาทานขันธ์ เปรียบ
เหมือนการเสพอสัปปายะ เพราะเป็นต้นเหตุแห่งความป่วยไข้ คือ ตัวเวทนา
สมดังที่ตรัสไว้ว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ฯเปฯ ภิกฺขเว
ตสฺมา สงฺขาราติ วุจฺจนฺติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า สังขาร เพราะ
อรรถว่า ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ
เวทนาโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญาโดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารทั้งหลายโดยความเป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรม
1. สํ. ขนฺธวาร. เล่มที่ 17 420/250
2. ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์