เมนู

พระอริยเจ้าไม่พึงละ ลำดับแห่งการปฏิบัติก็ไม่ควรเพราะขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็น
ของไม่พึงปฏิบัติ ลำดับแห่งภูมิก็ไม่ควรเพราะเวทนาเป็นต้นเป็นธรรมนับเนื่อง
ด้วยภูมิ 4.
แต่ว่า ลำดับแห่งเทศนา ย่อมควรเพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ใคร่ในประโยชน์เกื้อกูลมีพระประสงค์จะทรงเปลื้องเวไนยชนใดผู้ตกไปในการ
ยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นอัตตา จากความยึดถือว่าเป็นอัตตาโดยการแสดงแยก
ฆนะที่ประชุมกัน เพื่อความถือเอาโดยง่ายของชนนั้น จึงทรงแสดงรูปขันธ์
อันหยาบก่อนซึ่งเป็นอารมณ์ของวิญญาณมีจักษุเป็นต้น โดยไม่ต่างกัน. จาก
นั้นก็ทรงแสดงเวทนาอันรู้สึกพร้อมซึ่งมีรูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา
เป็นอารมณ์ ทรงแสดงสัญญาที่ถือเอาโดยอาการของอารมณ์เวทนาอย่างนี้ว่า
ยํ เวทิยติ ตํ สญฺชานาติ (เสวยอยู่ซึ่งอารมณ์ใดก็จำได้ซึ่งอารมณ์นั้น) ดังนี้
ทรงแสดงสังขารทั้งหลายตัวปรุงแต่งด้วยอำนาจแห่งสัญญา ทรงแสดงวิญญาณ
อันเป็นที่อาศัยและเป็นใหญ่ของขันธ์มีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น. พึงทราบนัยแห่ง
วินิจฉัยโดยลำดับอย่างนี้ก่อน.

ว่าโดยความแปลกกัน


ชื่อว่า โดยความแปลกกัน คือ ความแปลกกันแห่งขันธ์และ
อุปาทานขันธ์ ก็อะไรเล่าเป็นความแปลกกันแห่งขันธ์และอุปาทานขันธ์เหล่านั้น
บรรดาขันธ์เหล่านี้ ขันธ์ทั้งหลายตรัสไว้โดยไม่แปลกกันก่อน. อุปาทานขันธ์
ทั้งหลายตรัสไว้ให้แปลกกัน โดยเป็นขันธ์มีอาสวะและเป็นที่ตั้งของอุปาทาน
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และ
อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ขันธ์ 5 เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่

เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือว่า รูปใกล้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ฯลฯ
หรือวิญญาณใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เราเรียกว่า ขันธ์ 5 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปใกล้
มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ คือ รูป
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบัน ฯลฯ หรือวิญญาณใกล้ มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ธรรมเหล่านี้ เราเรียกว่า อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5
ดังนี้.
อนึ่ง ในขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ นามขันธ์ 4 มีเวทนา
เป็นต้นที่ไม่มีอาสวะก็มี ที่มีอาสวะก็มี ฉันใด รูปขันธ์ย่อมเป็นฉันนั้นหามิได้
ก็เพราะความที่รูปนี้ควรเป็นขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นกอง ฉะนั้นจึงตรัสไว้ใน
พวกขันธ์ทั้งหลาย และเพราะความที่ขันธ์เหล่านั้นควรเป็นอุปาทานขันธ์ ด้วย
อรรถว่าเป็นกอง และด้วยอรรถว่ามีอาสวะ ฉะนั้น จึงตรัสขันธ์เหล่านั้นไว้ใน
อุปาทานขันธ์ ส่วนนามขันธ์มีเวทนาเป็นต้นที่ไม่มีอาสวะ ตรัสไว้ในพวกขันธ์
ที่มีอาสวะตรัสไว้ในพวกอุปาทานขันธ์ ก็ในข้อว่า อุปาทานขันธ์ นี้ พึงทราบ
เนื้อความอย่างนี้ว่า ขันธ์ที่มีอุปาทานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ดังนี้
แต่ในอธิการนี้ พระองค์ทรงประสงค์รวมขันธ์เหล่านั้น แม้ทั้งหมดว่าเป็นขันธ์
แล.

ว่าโดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง


ก็ข้อว่า โดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ ถามว่า เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสขันธ์ว่ามี 5 เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ดังนี้. ตอบว่า
เพราะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน
เพราะวัตถุเครื่องยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนนี้มีขันธ์ 5 เป็นอย่างยิ่ง และ
เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ก็ไม่นอกจากขันธ์ 5 นั้น.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมมีประเภท
มิใช่น้อยเข้าด้วยอำนาจที่มีส่วนเสมอกัน รูปก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วยอำนาจการ
สงเคราะห์รูปที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน. เวทนาก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วย
อำนาจการสงเคราะห์เวทนาที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน แม้ในสัญญา
ขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ 5 เท่านั้น เพราะทรง
สงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันไว้เป็นพวกเดียวกัน. อนึ่ง วัตถุ
แห่งการยึดถือว่าเป็นตนเป็นของเนื่องด้วยตนนี้ คือ ขันธ์ 5 นี้มีรูปเป็นต้น
เป็นอย่างยิ่ง ข้อนี้สมกับพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่
ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) อาศัยรูป ยึดมั่นรูป ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เอตํ มม
เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา เวทนาย ฯเปฯ สญฺญา ฯเปฯ สํขาเรสุ
ฯเปฯ วิญฺญาเณ สติ วิญฺญาณํ อุปาทาย วิญฺญาณํ อภินิวิสฺส
เอวํ ทิฏฺฐิ อุปฺปชฺชติ เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา

(นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่
ฯลฯ เมื่อสังขารทั้งหลายมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ ทิฏฐิ อาศัยวิญญาณ
ยึดมั่นวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา