เมนู

เวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกล
จากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา
สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนา
ไกล.
เวทนาใกล้ เป็นไฉน ?
อกุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนา
ใกล้กับกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอัพยากตเวทนา ทุกข-
เวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับสุขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
เวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนาใกล้
หรือพึงทราบเวทนาไกลเวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป.

สัญญาขันธ์


[14] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญอนาคต สัญญา-
ปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ สัญญา-

ละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล สัญญาใกล้
ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์.
[15] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน ?
สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า
กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา
สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา
นี้เรียกว่าสัญญาอดีต.
สัญญาอนาคต เป็นไฉน ?
สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง
ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง
ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัส-
สชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต.
สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน ?
สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด
ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม
แล้วที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา
ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน.
[16] สัญญาภายใน เป็นไฉน ?
สัญญาใดของสัตว์นั้น ๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน
เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา-
สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน.

สัญญาภายนอก เป็นไฉน ?
สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน
เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ
สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก.
[17] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน ?
สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา
หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา
ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา
หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
หรือพึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา
นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.
[18] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน ?
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญา
เป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัม-

ปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขม
สุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญา
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา
ทราม สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต
หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา
นั้น ๆ เป็นชั้นๆ ไป.
[19] สัญญาไกล เป็นไฉน ?
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล-
สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ
อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกเวทนาและอทุกขสุขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัม-
ปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจาก
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแสะทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญา
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้า
สมาบัติ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
สัญญาไกล.
สัญญาใกล้ เป็นไฉน ?
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้
กับกุศลสัญญา อัพยกตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่าสัญญาใกล้
หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป.

สังขารขันธ์


[20] สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?
สังขารเหล่าหนึ่ง คือ สังขารอดีต สังขารอนาคต สังขาร
ปัจจุบัน สังขารภายใน สังขารภายนอก สังขารหยาบ สังขาร
ละเอียด สังขารทราม สังขารประณีต สังขารไกล สังขารใกล้

ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสังขารขันธ์.