เมนู

ว่าด้วยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน


ก็คำว่า โดยการเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน ความว่า รูปเกิด
พร้อมกับรูป ดับพร้อมกับรูป อรูปเกิดพร้อมกับอรูป ดับพร้อมกับอรูป พึง
ทราบความที่ขันธ์ 5 เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยเกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกัน


ก็ความที่ขันธ์ 5 เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันบัณฑิตพึงแสดงด้วย
สันตติรูป 4* จริงอยู่ สันตติรูปทั้ง 4 ในส่วนนั้น ๆ ของสรีระนี้เบื้องบน
แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ย่อมเป็นไป
โดยความเป็นกลุ่มเป็นก้อน. เมื่อสันตติรูป 4 แม้นั้นเป็นไปอย่างนี้ ก็พึง
กำหนดความที่รูปเหล่านั้นมีความเกิดเป็นต้นไม่ได้ เหมือนแถวปลวกหรือ
แถวมดแดง เมื่อบุคคลแลดูอยู่ก็จะเป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่
มิได้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เพราะในที่ใกล้ศีรษะของมดตัวหนึ่งจะมี
ศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่น ๆ ในที่ใกล้ท้องของมด
ตัวหนึ่งจะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่น ๆ ในที่ใกล้
เท้าของมดตัวหนึ่งก็จะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้าง ของมดตัวอื่น ๆ
ฉันใด แม้สันตติรูป 4 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ในอุปาทขณะของสันตติรูป
หนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้าง ของสันตติรูปอื่น ๆ ในฐิติขณะของ
สันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่น ๆ ในภังค-
ขณะของสันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่น ๆ.
พึงทราบความที่ขันธ์ 5 เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันในสันตติรูป 4 นี้ด้วย
ประการฉะนี้.
* สันตติรูป 4 คือ กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) 1 จิตตชรูป (รูปเกิดแต่จิต) 1 อุตุชรูป
(รูปเกิดแต่อุตุ) 1 อาหารชรูป (รูปเกิดแต่อาหาร) 1

ว่าด้วยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น


ก็ขันธ์ 5 ที่เป็นอดีตเป็นต้นมีทุรทุกะ (รูปไกลรูปใกล้) เป็นที่สุด
มาในพระบาลีทั้งหมด แม้ปัจจัยและสมุฏฐานทั้งหลายข้าพเจ้าก็กล่าวไว้ในหน
หลังโดยนัยมีอาทิว่า กมฺมชํ กมฺมปจฺจยํ อุตุสมุฏฺฐานํ* (รูปเกิดแต่กรรม
มีกรรมเป็นปัจจัย มีอุตุเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นต้น.
ก็ขันธ์แม้ทั้ง 5 เป็นของสำเร็จแล้ว แต่กรรมเป็นปัจจัยมีอุตุเกิดแต่
กรรมเป็นสมุฏฐานมิใช่เป็นของไม่สำเร็จแล้ว เป็นสังขตะเท่านั้น มิใช่เป็น
อสังขตะ อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ 5 นั้นชื่อว่าเป็นของสำเร็จแล้วอย่างนั้นแหละมีอยู่
เพราะบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นธรรม
ไม่สำเร็จแต่ปัจจัย เป็นธรรมไม่เกิดขึ้นแล้ว. ก็ถามว่า นิโรธสมาบัติ นาม
และบัญญัติเป็นอย่างไร ? ตอบว่า นิโรธสมาบัติ ใคร ๆ ไม่พึงเรียกว่าเป็น
โลกิยโลกุตระ หรือสังขตอสังขตะ เป็นของสำเร็จแล้วหรือไม่สำเร็จแล้ว แต่ว่า
นิโรธสมาบัตินั้นเป็นของอันบุคคลให้สำเร็จ ไม่ใช่ไม่สำเร็จเพราะเป็นธรรมอัน
พระอริยบุคคลพึงเข้าด้วยสมาบัติ นาม และบัญญัติก็อย่างนั้น เพราะนามและ
บัญญัติแม้นั้นย่อมไม่ได้ชื่ออันต่างด้วยโลกิยะเป็นต้น แต่เป็นสภาพอันบุคคลให้
สำเร็จแล้วมิใช่ไม่ให้สำเร็จแล้ว เพราะเมื่อบุคคลจะตั้งชื่อจึงถือเอาทีเดียวดังนี้แล.

แสดงนัยการวินิจฉัยขันธ์ 5


นักปราชญ์ครั้นทราบขันธ์ 5 โดย
ปกิณกะอย่างนี้แล้ว เพื่อความแตกฉาน
แห่งญาณในขันธ์ 5 เหล่านี้แหละอีก พึงทราบ
นัยแห่งการวินิจฉัยโดยชอบ โดยลำดับ

* พม่าเป็น กมฺมชํ กมฺมปจฺจยํ กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏฐานํ