เมนู

ว่าด้วยการเกิดต่างขณะดับขณะเดียวกัน


คราวที่ขันธ์ 5 เกิดต่างระดับขณะเดียวกัน บัณฑิตพึงแสดงด้วย
กรรมรูปซึ่งเกิดหลังปฏิสนธิจิต ในบรรดากรรมชรูปเหล่านั้น เมื่อมีวาระจิต
16 ดวงที่สุดแห่งอายุสังขาร ก็พึงประกอบกรรมชรูปเป็น 2 พวก คือ
กรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวงข้างต้น กับกรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวง
ข้างปลาย รวมเป็นอันเดียวกัน คือ กรรมชรูป 30 ถ้วนที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะ
ของปฐมจิตในกรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวงข้างนี้ข้างต้น ย่อมดับในอุปาทขณะ
ของปฐมจิตในกรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวงเบื้องปลายนั่นแหละ.
กรรมชรูป 30 ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในฐิติขณะแห่งปฐมจิตเบื้องต้น ย่อมดับ
ไปในฐิติขณะของปฐมจิตเบื้องปลายนั่นเอง. กรรมชรูป 30 ถ้วนที่ตั้งขึ้นใน
ภังคขณะของปฐมจิตเบื้องต้น ย่อมดับไปในภังคขณะของปฐมจิตเบื้องปลาย
เหมือนกัน.
ส่วนกรรมชรูป 30 ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะของ (ภวังค) จิต
ดวงที่ 2 (ชึ่งเกิดดับต่อกันมา) ฯลฯ ของจิตดวงที่ 16 ในกรรมชรูปซึ่งเกิด
แต่จิต 16 ดวงข้างต้น ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจุติจิตทีเดียว. ที่เกิดใน
ฐิติขณะของจิตดวงที่ 2 นั้น ย่อมดับไปในฐิติขณะของจิตนั่นแหละ ที่เกิด
ในภังคขณะของจิตดวงที่ 2 นั้น ก็ดับไปในภังคขณะของจุติจิตเหมือนกัน
เบื้องหน้าแต่นั้น การสืบต่อของกรรมชรูปย่อมไม่เป็นไป ถ้าหากจะเป็นไป
อีกไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่สิ้น ไม่เสื่อม ไม่แก่ ไม่ตาย.
อนึ่ง ในการดับในภังคขณะของจุติจิตนี้ คำว่า รูปที่เกิดขึ้นในอุปาทขณะ
ของจิตดวงหนึ่ง ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจิตดวงอื่น โดยนัยมีอาทิว่า รูปนี้
ย่อมดับไปในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ 17 ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้เพราะมา

ในอรรถกถานั้น ย่อมผิดจากพระบาลีนี้ว่า ยสฺส กายสํโร นิรุชฺฌติ
ตสฺส จิตฺตสํขาโร นิรุชฺฌตีติ อามนฺตา
กายสังขารกำลังดับแก่บุคคลใด
จิตตสังขารก็กำลังดับแก่บุคคลนั้นหรือ ? ตอบว่า ถูกแล้ว ดังนี้. ผิดอย่างไร ?
ก็เพราะกายสังขารคือลมอัสสาสะและปัสสาสะมีจิตเป็นสมุฏฐาน. ก็รูปที่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน เกิดขึ้นในอุปาทขณะของจิตแล้วย่อมตั้งอยู่จนกระทั่งจิต 16 ดวงอื่น
เกิดขึ้น ย่อมดับไปพร้อมกับจิตดวงสุดท้ายทั้งหมดแห่งจิต 16 ดวงเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้นเกิดพร้อมกับจิตใดก็ดับพร้อมกับจิตดวงที่ 17 จำเดิม
แต่จิตนั้น มิใช่ดับในอุปาทขณะ หรือฐิติขณะของจิตไร ๆ แม้จะเกิดในฐิติขณะ
หรือภังคขณะก็หาไม่ นี้เป็นธรรมดาของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อามนฺตา (ถูกแล้ว) ดังนี้ เพราะดับในขณะ
เดียวกันกับจิตสังขารโดยแน่นอน.
ก็การกำหนดขณะ (ขณะนิยม) ของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานที่ข้าพเจ้า
กล่าวนี้เป็นการกำหนดขณะ (ขณะนิยม) แม้แก่รูปที่มีกรรมเป็นต้นเป็นสมุฏฐาน
นี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความในอธิการนี้โดยนัยนี้
เท่านั้นว่า กรรมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ย่อมดับพร้อมกับจิตดวงที่ 17
จำเดิมแต่ปฏิสนธินั้น. กรรมชรูปที่เกิดในฐิติขณะของปฏิสนธิจิต ย่อมดับไปใน
อุปาทขณะของจิตดวงที่ 18. กรรมชรูปที่เกิดในภังคขณะของปฏิสนธิจิตถึง
ขณะตั้งอยู่ของจิตดวงที่ 18 แล้วก็ดับไป ดังนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป การสืบต่อ
ของรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเท่านั้นย่อมดำรงอยู่ในสรีระนั้น สรีระย่อมเป็นของ
อันบุคคลพึงกล่าวว่า พวกท่านจงเอาสรีระนี้ไปเผาเถิด ดังนี้. พึงทราบความ
ที่ขันธ์ 5 เกิดต่างขณะกันดับขณะเดียวกัน ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน


ก็คำว่า โดยการเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน ความว่า รูปเกิด
พร้อมกับรูป ดับพร้อมกับรูป อรูปเกิดพร้อมกับอรูป ดับพร้อมกับอรูป พึง
ทราบความที่ขันธ์ 5 เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยเกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกัน


ก็ความที่ขันธ์ 5 เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันบัณฑิตพึงแสดงด้วย
สันตติรูป 4* จริงอยู่ สันตติรูปทั้ง 4 ในส่วนนั้น ๆ ของสรีระนี้เบื้องบน
แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ย่อมเป็นไป
โดยความเป็นกลุ่มเป็นก้อน. เมื่อสันตติรูป 4 แม้นั้นเป็นไปอย่างนี้ ก็พึง
กำหนดความที่รูปเหล่านั้นมีความเกิดเป็นต้นไม่ได้ เหมือนแถวปลวกหรือ
แถวมดแดง เมื่อบุคคลแลดูอยู่ก็จะเป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่
มิได้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เพราะในที่ใกล้ศีรษะของมดตัวหนึ่งจะมี
ศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่น ๆ ในที่ใกล้ท้องของมด
ตัวหนึ่งจะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่น ๆ ในที่ใกล้
เท้าของมดตัวหนึ่งก็จะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้าง ของมดตัวอื่น ๆ
ฉันใด แม้สันตติรูป 4 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ในอุปาทขณะของสันตติรูป
หนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้าง ของสันตติรูปอื่น ๆ ในฐิติขณะของ
สันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่น ๆ ในภังค-
ขณะของสันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่น ๆ.
พึงทราบความที่ขันธ์ 5 เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันในสันตติรูป 4 นี้ด้วย
ประการฉะนี้.
* สันตติรูป 4 คือ กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) 1 จิตตชรูป (รูปเกิดแต่จิต) 1 อุตุชรูป
(รูปเกิดแต่อุตุ) 1 อาหารชรูป (รูปเกิดแต่อาหาร) 1