เมนู

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรกุศลจิต


[370] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เช้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม
เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ
เกิดเพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะ
เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ
อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น
ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[371] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ
ในกุศลมูลเหล่านั้น อโมหะ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้
เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เล่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร
เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้
เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด
นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์
นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ
คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น
ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรม
เหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉะนี้แล.
กุศลนิเทศ จบ

อธิบายกุศลนิเทศ

(บาลีข้อ 358)
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เพื่อทรงแสดงปัจจยาการใน
กุศลจิตเป็นต้น โดยนัยนี้แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมมา กุสลา
(ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) ดังนี้.
ก็ในอกุศลจิต พระองค์ทรงตั้งมาติกาไว้ก่อนแล้วทรงทำนิเทศไว้ใน
ภายหลัง แต่ในกุศลนิเทศนี้ พระองค์มิได้ทรงทำเช่นนั้น เพราะเหตุไร ?
เพราะความต่างกันในวาระว่าด้วยอัปปนา ด้วยว่าในโลกิยกุศลจิตเป็นต้น
ย่อมเป็นอัปปนา โดยพระบาลีว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺ-
ธสฺส
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ เพราะความที่ธรรมเหล่านั้น
เนื่องในทุกขสัจจะ ในโลกุตรกุศลเป็นต้น ย่อมเป็นอัปปนาแก่ธรรมเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น ในกุศลเป็นต้นนี้ จึงไม่อาจเพื่อทรงตั้งมาติกา
โดยสาธารณะ จึงทรงยกมาติกาแห่งกุศลเป็นต้นเหล่านั้น ๆ ขึ้นแสดงแต่ละอย่าง
แล้วทรงทำนิเทศ ในกุศลเหล่านั้น เพราะไม่มีอวิชชารวมกับกุศลสังขารใน
ขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสอวิชชานั้น แล้วตรัสกุศลมูลโดย
เป็นรากเหง้าแห่งกุศลทั้งหลาย เหมือนอวิชชาเป็นรากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย
และเพราะความไม่มีตัณหาอุปาทาน จึงตรัสปสาทะ (ความผ่องใส) อันหยั่ง
ลงในภายในอารมณ์ เหมือนตัณหาตั้งอยู่ในที่แห่งตัณหา ตรัสอธิโมกข์ ชื่อว่า
การตกลงใจอย่างมั่นคงเหมือนอุปาทานตั้งอยู่ในที่แห่งอุปาทานฉะนั้น. คำที่
เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั้นแหละ ฉะนี้แล.
กุศลนิเทศ จบ