เมนู

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกันแต่ดับต่างขณะกัน


คำนี้ว่า การเกิดขณะเดียวกัน แต่ดับต่างขณะกัน (ของขันธ์ 5)
นี้ บัณฑิตพึงแสดงเว้นกรรมชรูปดวงสุดท้าย* จริงอยู่ปฏิสนธิเป็นจิตดวงที่
หนึ่ง จิตดวงที่ 2 เป็นภวังค์ ดวงที่ 3 ก็เป็นภวังค์ ฯลฯ ดวงที่ 16 ก็เป็น
ภวังค์. ในบรรดาจิต 16 ดวงเหล่านั้น แต่ละดวงมี 3 ขณะด้วยอำนาจอุปาทขณะ
ฐีติขณะ และภังคขณะ ในขณะแห่งจิตทั้ง 3 เหล่านั้น จิตแต่ละดวงมีกรรมชรูป
เกิดขึ้นขณะละ 30 รูปถ้วน บรรดากรรมชรูปเหล่านั้น กรรมชรูปตั้งขึ้นใน
อุปาทขณะของปฏิสนธิจิตย่อมดับในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ 17 ทีเดียว.
กรรมชรูปทั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่
17 นั่นแหละ. กรรมชรูปที่ตั้งขึ้นในภังคขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในภังคขณะ
ของภวังคจิตดวงที่ 17 นั่นแหละ.
ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทำภวังคจิตดวงที่ 2 (ปฏิสนธิจิตเป็นที่ 1)
ประกอบกับจิตดวงที่ 17 ของตน ๆ นั่นแหละแล้วขยายนัยไป. จิต 16 ดวง
มีกรรมชรูปดวงละ 3 รวมกรรมชรูป 48 รูป ด้วยประการฉะนี้. นี้ชื่อว่า
ประเพณี คือ เชื้อสายของกรรมชรูป 48 รูป. ก็ประเพณี คือ เชื้อสายของ
กรรมชรูป 48 รูปนี้นั้นย่อมเป็นไปแม้แก่ผู้กำลังเคี้ยวกิน แม้แก่ผู้บริโภค
แม้แก่ผู้หลับ แม้แก่ผู้ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน เหมือนกระแสแห่ง
แม่น้ำกำลังเป็นไปอยู่ฉะนั้นแล.
พึงทราบความที่ขันธ์ 5 มีการเกิดขณะเดียวกัน ดับต่างขณะกันอย่างนี้.
* กรรมชรูปดวงสุดท้ายนั้น คือ นับกรรมชรูปตั้งแต่ปฏิสนธิจิตไป 17 ขณะจิตภังคขณะของจิต
ดวงนี้ดับพร้อมกับกรรมชรูป (ดูปริเฉท 4 นามวิถีและรูปวิถี)

ว่าด้วยการเกิดต่างขณะดับขณะเดียวกัน


คราวที่ขันธ์ 5 เกิดต่างระดับขณะเดียวกัน บัณฑิตพึงแสดงด้วย
กรรมรูปซึ่งเกิดหลังปฏิสนธิจิต ในบรรดากรรมชรูปเหล่านั้น เมื่อมีวาระจิต
16 ดวงที่สุดแห่งอายุสังขาร ก็พึงประกอบกรรมชรูปเป็น 2 พวก คือ
กรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวงข้างต้น กับกรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวง
ข้างปลาย รวมเป็นอันเดียวกัน คือ กรรมชรูป 30 ถ้วนที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะ
ของปฐมจิตในกรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวงข้างนี้ข้างต้น ย่อมดับในอุปาทขณะ
ของปฐมจิตในกรรมชรูปที่เกิดกับจิต 16 ดวงเบื้องปลายนั่นแหละ.
กรรมชรูป 30 ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในฐิติขณะแห่งปฐมจิตเบื้องต้น ย่อมดับ
ไปในฐิติขณะของปฐมจิตเบื้องปลายนั่นเอง. กรรมชรูป 30 ถ้วนที่ตั้งขึ้นใน
ภังคขณะของปฐมจิตเบื้องต้น ย่อมดับไปในภังคขณะของปฐมจิตเบื้องปลาย
เหมือนกัน.
ส่วนกรรมชรูป 30 ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะของ (ภวังค) จิต
ดวงที่ 2 (ชึ่งเกิดดับต่อกันมา) ฯลฯ ของจิตดวงที่ 16 ในกรรมชรูปซึ่งเกิด
แต่จิต 16 ดวงข้างต้น ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจุติจิตทีเดียว. ที่เกิดใน
ฐิติขณะของจิตดวงที่ 2 นั้น ย่อมดับไปในฐิติขณะของจิตนั่นแหละ ที่เกิด
ในภังคขณะของจิตดวงที่ 2 นั้น ก็ดับไปในภังคขณะของจุติจิตเหมือนกัน
เบื้องหน้าแต่นั้น การสืบต่อของกรรมชรูปย่อมไม่เป็นไป ถ้าหากจะเป็นไป
อีกไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่สิ้น ไม่เสื่อม ไม่แก่ ไม่ตาย.
อนึ่ง ในการดับในภังคขณะของจุติจิตนี้ คำว่า รูปที่เกิดขึ้นในอุปาทขณะ
ของจิตดวงหนึ่ง ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจิตดวงอื่น โดยนัยมีอาทิว่า รูปนี้
ย่อมดับไปในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ 17 ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้เพราะมา