เมนู

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกันแต่ดับต่างขณะกัน


คำนี้ว่า การเกิดขณะเดียวกัน แต่ดับต่างขณะกัน (ของขันธ์ 5)
นี้ บัณฑิตพึงแสดงเว้นกรรมชรูปดวงสุดท้าย* จริงอยู่ปฏิสนธิเป็นจิตดวงที่
หนึ่ง จิตดวงที่ 2 เป็นภวังค์ ดวงที่ 3 ก็เป็นภวังค์ ฯลฯ ดวงที่ 16 ก็เป็น
ภวังค์. ในบรรดาจิต 16 ดวงเหล่านั้น แต่ละดวงมี 3 ขณะด้วยอำนาจอุปาทขณะ
ฐีติขณะ และภังคขณะ ในขณะแห่งจิตทั้ง 3 เหล่านั้น จิตแต่ละดวงมีกรรมชรูป
เกิดขึ้นขณะละ 30 รูปถ้วน บรรดากรรมชรูปเหล่านั้น กรรมชรูปตั้งขึ้นใน
อุปาทขณะของปฏิสนธิจิตย่อมดับในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ 17 ทีเดียว.
กรรมชรูปทั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่
17 นั่นแหละ. กรรมชรูปที่ตั้งขึ้นในภังคขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในภังคขณะ
ของภวังคจิตดวงที่ 17 นั่นแหละ.
ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทำภวังคจิตดวงที่ 2 (ปฏิสนธิจิตเป็นที่ 1)
ประกอบกับจิตดวงที่ 17 ของตน ๆ นั่นแหละแล้วขยายนัยไป. จิต 16 ดวง
มีกรรมชรูปดวงละ 3 รวมกรรมชรูป 48 รูป ด้วยประการฉะนี้. นี้ชื่อว่า
ประเพณี คือ เชื้อสายของกรรมชรูป 48 รูป. ก็ประเพณี คือ เชื้อสายของ
กรรมชรูป 48 รูปนี้นั้นย่อมเป็นไปแม้แก่ผู้กำลังเคี้ยวกิน แม้แก่ผู้บริโภค
แม้แก่ผู้หลับ แม้แก่ผู้ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน เหมือนกระแสแห่ง
แม่น้ำกำลังเป็นไปอยู่ฉะนั้นแล.
พึงทราบความที่ขันธ์ 5 มีการเกิดขณะเดียวกัน ดับต่างขณะกันอย่างนี้.
* กรรมชรูปดวงสุดท้ายนั้น คือ นับกรรมชรูปตั้งแต่ปฏิสนธิจิตไป 17 ขณะจิตภังคขณะของจิต
ดวงนี้ดับพร้อมกับกรรมชรูป (ดูปริเฉท 4 นามวิถีและรูปวิถี)