เมนู

อธิบายอกุศลนิเทศ


ปฐมจตุกะ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอากุศล (ในปัจจยาการ) ก่อน
เพราะนิเทศอกุศลนี้ มิได้ทรงตั้งมาติกาเหมือนในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง
ซึ่งทรงกระทำกุศลติกะไว้เป็นเบื้องต้นแล้วทรงจำแนกกุศลก่อนโดยลำดับมาติกา
ที่ทรงตั้งไว้ เพื่อจะทรงจำแนกแสดงองค์ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นตาม
ลำดับที่ทรงตั้งไว้ในมาติกา ด้วยอำนาจอกุศลธรรมว่า อวิชฺชาปจฺจยา
สํขาโร
(สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) เท่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า
กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน). เนื้อความแห่งพระ
บาลีนั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.
อนึ่ง เพราะตัณหาและกามุปาทานย่อมไม่เกิดในขณะแห่งจิตเดียว
กันฉะนั้นในที่นี้ เพื่อทรงแสดงอุปาทานที่ได้เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั้นนั่นแหละ
จึงตรัสคำมีอาทิว่า ทิฏฐิ ทิฏฺฐิคตํ ดังนี้.
อนึ่ง เพราะในนิเทศแห่งภพ อุปาทานถึงการสงเคราะห์เข้าในสังขาร
ขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณ-
ขันธ์ เว้นอุปาทาน
ดังนี้เป็นต้น เพราะเมื่อตรัสอยู่อย่างนี้ก็จะพึงปรากฏ
ความที่อุปาทานเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน ก็อุปาทานนั้นนั่นแหละย่อมไม่เป็นปัจจัย
แก่อุปาทานนั้น.
ในนิเทศแห่งชาติเป็นต้น เพราะธรรมเหล่านั้นมีชาติเป็นต้นเป็นความ
เกิดเป็นต้นของอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ความที่ฟันหัก ความ
ที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น จุติกิริยาที่จุติ
ดังนี้

พระองค์ทรงตั้งวาระที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว ต่อไปก็ทรงแสดงปัจจยาการ
ในวาระที่ 2 โดยวาระที่ 1 ในสมัยนั้นแหละ เพื่อทรงแสดงปัจจยาการโดยนัย
แม้อื่นอีก จึงไม่ตรัสวาระกำหนดสมัยไว้ต่างหากแล้วทรงทำเทศนาโดยนัยมีอาทิ
ว่า ตสฺมึ สมเย อวิชฺชาปจจฺยา สํขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย ในสมัยนั้น).
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เว้นผัสสะ นี้ตรัสไว้เพื่อทรงนำผัสสะ
ออกจากนาม เพราะแม้ผัสสะก็นับเนื่องด้วยนาม.
ในวาระที่ 3 วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อรูปมีจิต
เป็นสมุฏฐานกำลังเป็นไปอยู่ เพราะความที่จักขายตนะเบื้องต้นอันรูปมีจิตเป็น
สมุฏฐานนั้นค้ำจุนแล้วย่อมปรากฏ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จกฺขฺวายตนสฺส
อุปจโย
(ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ) เป็นต้น. อนึ่ง เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย ด้วยปัจจฉาชาตปัจจัยแม้นก็กรรมชรูปซึ่งกำลังเป็นไปในสมัยนั้น แม้
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ ในวาระที่ 3 นั้น ทรงถือเอาสันตติ 2 คือ
สันตติรูปเกิดแต่กรรม และสันตติรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
สันตติ 2 แม้นอกนี้ก็พึงถือเอา เพราะวิญญาณก็เป็นปัจจัยแก่สันตติ 2 นอกนี้
เหมือนกัน.
ส่วนในวาระที่ 4 ก็เพราะแม้ในขณะจิตเดียวกันจักขวายตนะเป็นต้น มี
มหาภูตรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 มีหทยรูปเป็นปัจจัย และอายตนะแม้ทั้ง
หมด มีเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไปด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย และสหชาต
ปัจจัยเป็นต้น ตามควรฉะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตฺมํ นามรูปปจฺจยา
สฬายตนํ จกฺขวายตนํ
ในปัจจยาการนั้นสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็น
ปัจจัยเป็นไฉน ? คือจักขวายตนะ.
ปฐมจตุกนิเทศ จบ

นิเทศจตุกะที่ 2


คำทั้งหมดในจตุกะที่ 2 ตื้นทั้งนั้น.

นิเทศจตุกะที่ 3


ในจตุกะที่ 3 ความเป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่มีแก่ปัจจัยใด ปัจจยาการใด
มี เพื่อทรงแสดงปัจจยาการนั้น ๆ ไว้แผนกหนึ่ง จึงตรัสว่า อิทํ วุจฺจติ
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญฺญาณสมฺปยุตฺตํ นามํ
นี้เรียกว่านามรูป
เรียกว่า นามสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
ตติยจตุกนิเทศ จบ

นิเทศจตุกะที่ 4


นิเทศแห่งนามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยในจตุกะที่ 4 แม้มิได้ตรัสว่า
"เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย" ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะได้ตรัสว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ" ดังนี้ ในนิเทศบทอดีตโดยลำดับ นั้นแม้มิได้ตรัส
ก็นับว่าเป็นอันตรัสแล้วโดยแท้ เพราะนามใดเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้นแหละ แม้
ผัสสะก็เป็นปัจจัยแก่นามนั้น เหมือนกันฉะนี้แล.
จตุตถจตุกนิเทศ จบ

อนึ่ง พึงทราบนัย 8 แม้มีสังขารเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่หนึ่ง
มีอวิชชาเป็นมูลซึ่งจำแนกไว้ 16 วาระ ในจตุกะ 4 ที่ทรงประกาศในอกุศลจิต