เมนู

ว่าเป็นสภาพเกิดพร้อมกัน แยกกันได้ แยกกันไม่ได้ น้อมไป และแปรผัน
เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสฬายตนะว่าเป็นอธิบดี (เป็นใหญ่ยิ่ง) เป็นโลก
เป็นทวาร เป็นเขต และเป็นอารมณ์ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งผัสสะว่าเป็น
การถูก การกระทบ การประจวบ และการประชุม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถ
แห่งเวทหาว่าเป็นการเสวยรสอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ ความวางเฉย และ
เสวยอารมณ์อันไม่มีชีวะ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งตัณหาว่าเป็นความ
เพลิดเพลิน ความปรารถนาความเพลิดเพลินนั้น เป็นของให้เต็มได้ยาก ดัง
สายลำธาร แม่น้ำ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทาน
ว่าเป็นความยืด ความถือ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทาน
เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห้งภพว่าเป็นการซัดไปในกำเนิด คติ วิญญาณฐิติ
สัตตาวาสเพราะการปรุงแต่งแห่งการทำกรรม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งชาติ
ว่าเป็นความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด และความปรากฏ
เป็นอรรถลึกซึ้ง อรรถแห่งชรามรณะว่าเป็นความสิ้น ความเสื่อม ความแตก
และความแปรปรวน เป็นอรรถลึกซึ้ง. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยการแทงตลอดใน
ภวจักรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งนัย


อนึ่ง ในภวจักรนี้ มีอรรถนัย (นัยแห่งอรรถ) 4 คือ
เอกัตตนัย นัยที่มีอรรถอย่างเดียวกัน
นานัตตนัย นัยที่มีอรรถต่างกัน

อัพยาปารนัย นัยที่ไม่มีการขวนขวาย
เอวังธัมมตานัย นัยที่มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.
เพราะฉะนั้น พึงทราบภวจักรนี้ แม้โดยความต่างนัยตามควร.
บรรดานัยที่ 4 นั้น ความไม่ขาดแห่งสันดาน (ความสืบต่อ)
เหมือนความที่เมล็ดพืชเกิดเป็นต้นไม้ โดยความมีหน่อเป็นต้น อย่างนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิด
วิญญาณ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เอกัตตนัย.
เมื่อพระโยคาวจรเห็นภวจักรโดยชอบ ย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้ เพราะ
หยั่งรู้ความไม่ขาดไปแห่งความสืบต่ออันเป็นไปอยู่ด้วยความเกี่ยวข้องกันทั้งเหตุ
และผล เมื่อเห็นผิด ย่อมยึดถือสัสสตทิฏฐิ โดยยึดเป็นอันเดียวกันแห่งความ
ไม่ขาดตอนแห่งความสืบต่อ ซึ่งกำลังเป็นไป ด้วยความพันกันซึ่งเหตุและผล.
ส่วนความกำหนดลักษณะภวจักรมีอวิชชาเป็นต้น ตามภาวะของตน
ชื่อว่า นานัตตนัย เมื่อพระโยคาวจรเห็นภวจักรโดยชอบ ย่อมละสัสสตทิฏฐิ
ได้ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งสภาวะใหม่ ๆ เมื่อเห็นผิดย่อมยึดถืออุเฉททิฏฐิ
เพราะยึดถือความต่างกัน แห่งความสืบต่อที่แตกไป ซึ่งตกไปในสันดานเดียวกัน
นั่นเอง.
ความที่อวิชชาไม่มีความขวนขวายว่า สังขารทั้งหลายอันเราพึงให้
เกิดขึ้น หรือความที่สังขารทั้งหลายไม่มีความขวนขวายว่า วิญญาณอันพวกเรา
พึงให้เกิดขึ้น ดังนี้ เป็นต้นด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า อัพยาปารนัย. เมื่อ
พระโยคาวจรเห็นอยู่โดยชอบ ย่อมละอัตตทิฏฐิ เพราะหยั่งเห็นความไม่มีผู้สร้าง

เมื่อเห็นผิดย่อมยึดถืออกิริยทิฏฐิ เพราะความไม่ยึดถือความที่เหตุอันสำเร็จโดย
กำหนดสภาวะแห่งอวิชชาเป็นต้น ในเพราะไม่มีความขวนขวายแม้นั้น.
อนึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น ด้วยเหตุทั้งหลายมี
อวิชชาเป็นต้น ไม่ใช่ธรรมเหล่าอื่น เหมือนความที่นมส้มเป็นต้น เกิดแต่นมสด
เป็นต้น ดังนี้ นี้ชื่อว่า เอวังธัมมตานัย. เมื่อพระโยคีเห็นโดยชอบย่อมละ
อเหตุกทิฏฐิและอกิริยทิฏฐิได้ เพราะหยั่งรู้ผลโดยสมควรแก่ปัจจัย เมื่อเห็นผิด
ย่อมยึดถืออเหตุกทิฏฐิ และนิยตวาทะ (ความเห็นว่าเที่ยง) เพราะไม่ยึดถือ
ความเป็นไปแห่งผลอันควรแก่ปัจจัย ไม่ยึดถือความเกิดของสภาพอะไร ๆ
แต่ที่ไหน ๆ เลย เพราะฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิต
พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็น
แดนเกิดแห่งสัจจะ 1 โดยกิจ 1 โดยการห้าม
1 โดยอุปมา 1 โดยประเภทอันลึกซึ้ง 1
โดยประเภทแห่งนัย 1 ตามควรด้วยประการ
ฉะนี้.

จริงอยู่ ภวจักรนี้ ชื่อว่า หยั่งไม่ถึง เพราะลึกซึ้ง ชื่อว่า ก้าวล่วง
ได้ยาก
เพราะต้องศึกษาเอาโดยนัยต่าง ๆ ใคร ๆ ยังไม่ทำลายภวจักร (ความ
หมุนไปแห่งภพ) อันย่ำยีอยู่เป็นนิตย์ดุจอสนิบาต ด้วยดาบคือญาณอันลับดีแล้ว
บนหินคือสมาธิอันประเสริฐแล้วจะผ่านพ้นภัยคือสังสารไม่ได้ ย่อมไม่มีแม้ในระ-
หว่างแห่งความฝัน ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง

เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นผู้ยุ่ง
เหมือนเส้นด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมกระจุกเส้นด้าย เป็นเหมือน
หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต
สังสาร
ดังนี้* เพราะฉะนั้น บัณฑิตในโลกนี้ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่ตนหรือแก่ชนเหล่าอื่น พึงละกิจที่เหลือแล้ว
พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ประกอบความ
เพียรเนือง ๆ จะพึงได้ความหยั่งลงใน
ประเภทแห่งปัจจยาการอันลึกซึ้งนี้ได้แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ
* สํ. นิทาน. เล่มที่ 16 225/111

อภิธรรมมาติกา


ปัจจยจตุกกะ


[อวชชามูลกนัย]


[274] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ 6 เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[275] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย