เมนู

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง


ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความลึกซึ้ง
โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยเทศนาบ้าง โดยการแทงตลอดบ้างจึงตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งที่มีกระแสความลึกซึ้ง"
ดังนี้.* ฉะนั้น ภวจักรแม้นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง
ตามควร.
ในความลึกซึ้งโดยอรรถเป็นต้นเหล่านั้น เพราะชรามรณะจะไม่มีมา
แต่ชาติ (ความเกิด) ก็หาไม่ และเว้นชาติเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดจากสิ่งอื่น
และย่อมปรากฏเพราะชาติแน่แท้ เพราะฉะนั้น อรรถว่าเกิดและปรากฏ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะอรรถปรากฏขึ้นเพราะชาติ
เป็นปัจจัยอันสัตว์ตรัสรู้ได้ โดยยาก ด้วยประการฉะนี้. อรรถว่าเกิดและปรากฏ
เพราะภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย
ก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง ฉะนั้น ภวจักรนี้ ชื่อว่า ลึกซึ้งโดยอรรถ. นี้เป็นความ
ลึกซึ้งโดยอรรถในภวจักรนี้ก่อน.
ก็ผลอันเกิดแต่เหตุ ตรัสเรียกว่า อรรถ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ
(ความรู้) ในผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา เป็นต้น .
อนึ่ง เพราะอวิชชามีกิริยาที่ตั้งลงอันใด โดยอาการใด จึงเป็นปัจจัย
แก่สังขารเหล่านั้น ๆ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายของอวิชชา เพราะ
กิริยาและอาการนั้นอันสัตว์ตรัสรู้ได้ยาก จึงชื่อว่า ลึกซึ้ง อรรถว่าเป็นปัจจัย
แก่วิญญาณของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะของชาติ
* สํ.นิทาน. เล่มที่ 16. 225/111

ก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง เหมือนกัน ฉะนั้น ภวจักร จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยธรรม.
นี้เป็นความลึกซึ้งโดยธรรมในภวจักรนี้.
ก็คำว่า ธรรม นี้เป็นชื่อของเหตุ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ
(ความรู้) ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา" เป็นต้น อนึ่ง เพราะแม้เทศนา
ซึ่งภวจักรนั้นชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะพระองค์ทรงให้เป็นไปโดยเหตุนั้น ๆ
โดยประการนั้น ๆ ญาณอื่น ๆ นอกจากสัพพัญญุตญาณแล้วย่อมไม่ได้ความ
มั่นคงในเทศนานั้น เพราะภวจักรนี้ในพระสูตรบางแห่งทรงแสดงโดยอนุโลม
บางแห่งทรงแสดงโดยปฏิโลม บางแห่งทรงแสดงตั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม
บางแห่งก็ทรงแสดงโดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้างตั้งแต่ท่ามกลางไป บางแห่ง
ก็ทรงแสดงเป็นสนธิ 3 และสังเขป 4 บางแห่งทรงแสดงสนธิ 2 และสังเขป 3
บางแห่งทรงแสดงสนธิ 1 และสังเขป 2 ฉะนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้ง
โดยเทศนา.
นี้เป็นความลึกซึ้งโดยเทศนา ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ สภาวะแห่งธรรมมีอวิชชาเป็นต้น อันใด
ธรรมมีอวิชชาเป็นต้นย่อมเป็นธรรมอันบุคคลแทงตลอดโดยลักษณะ. ของตน
ด้วยการแทงตลอดอันใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะหยั่งลงได้โดยยาก
ฉะนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยการแทงตลอด เพราะในภวจักรนี้
อรรถแห่งอวิชชาเป็นอัญญาณ (ความไม่รู้) เป็นอทรรศนะ (ความไม่เห็น)
และการไม่แทงตลอดสัจจะซึ่งเป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสังขารทั้งหลายว่าเป็น
สภาพปรุงแต่ง การประกอบกรรม เป็นไปกับราคะและปราศจากราคะ เป็น
อรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งวิญญาณว่าเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) ไม่ขวนขวาย
ไม่เคลื่อนไป และปรากฏเป็นปฏิสนธิ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งนามรูป

ว่าเป็นสภาพเกิดพร้อมกัน แยกกันได้ แยกกันไม่ได้ น้อมไป และแปรผัน
เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสฬายตนะว่าเป็นอธิบดี (เป็นใหญ่ยิ่ง) เป็นโลก
เป็นทวาร เป็นเขต และเป็นอารมณ์ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งผัสสะว่าเป็น
การถูก การกระทบ การประจวบ และการประชุม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถ
แห่งเวทหาว่าเป็นการเสวยรสอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ ความวางเฉย และ
เสวยอารมณ์อันไม่มีชีวะ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งตัณหาว่าเป็นความ
เพลิดเพลิน ความปรารถนาความเพลิดเพลินนั้น เป็นของให้เต็มได้ยาก ดัง
สายลำธาร แม่น้ำ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทาน
ว่าเป็นความยืด ความถือ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทาน
เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห้งภพว่าเป็นการซัดไปในกำเนิด คติ วิญญาณฐิติ
สัตตาวาสเพราะการปรุงแต่งแห่งการทำกรรม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งชาติ
ว่าเป็นความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด และความปรากฏ
เป็นอรรถลึกซึ้ง อรรถแห่งชรามรณะว่าเป็นความสิ้น ความเสื่อม ความแตก
และความแปรปรวน เป็นอรรถลึกซึ้ง. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยการแทงตลอดใน
ภวจักรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งนัย


อนึ่ง ในภวจักรนี้ มีอรรถนัย (นัยแห่งอรรถ) 4 คือ
เอกัตตนัย นัยที่มีอรรถอย่างเดียวกัน
นานัตตนัย นัยที่มีอรรถต่างกัน