เมนู

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นี้เป็นการห้ามความเห็นว่าอัตตาเคลื่อนจากที่
(หนึ่งไปที่หนึ่ง) ได้. คำว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้
เป็นการห้ามความสำคัญว่าเป็นก้อย เพราะเห็นการแตกไปแห่งวัตถุที่กำหนด
กันว่ามีอัตตา. ในคำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนานรูปเป็นปัจจัย ดังนี้
เป็นต้น เป็นการห้ามความเห็นมีอาทิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมเห็น ฯลฯ ย่อมรู้
ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมยึด ย่อมถือมั่น ย่อมมี ย่อมเกิด ย่อมแก่
ย่อมตาย" ดังนี้ ฉะนั้น พึงทราบภวจักรแม้นี้โดยการห้ามความเห็นผิด
ตามควรเถิด.

พึงทราบภวจักรโดยการอุปมา


ก็เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาเปรียบเหมือนคนบอด เพราะไม่เห็นธรรม
ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสภาวลักษณะและสามัญลักษณะ. สังขารทั้งหลาย
ที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการลื่นถลาของของคนบอด. วิญญาณ
ที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการล้มของคนบอดผู้ลื่นถลา
นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความปรากฏแผลฝีของ
คนบอดที่ล้มแล้ว. สฬายตนะที่เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เปรียบเหมือน
ต่อมที่แตกของหัวฝี. ผัสสะที่เกิดเพราะสฬายเป็นปัจจัย เปรียบเหมือน
การกระทบกับหัวฝี . เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความ
ไม่สบาย (ทุกข์) เพราะการกระทบ. ตัณหาที่เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
เปรียบเหมือนผู้ต้องการบำบัดทุกข์. อุปาทานที่เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
เปรียบเหมือนการถือเอาเภสัชที่เป็นอสัปปายะมาโดยปรารถนาจะบำบัดโรค.

ภพที่เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการพอกยาอสัปปายะที่ตน
เก็บมา. ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการปรากฏเป็นฝีกลาย
ด้วยการพอกยาที่เป็นอสัปปายะ. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เปรียบ-
เหมือนการแตกแห่งฝีเพราะฝีกลาย.
ก็หรือว่า เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย โดย
ภาวะที่ไม่ปฏิบัติ และภาวะที่ปฏิบัติผิด ดุจผ้าปิดดวงตา ก็คนพาลถูกอวิชชา
ครอบงำแล้ว ย่อมผูกคนไว้ด้วยสังขารทั้งหลาย อันให้เกิดในภพใหม่ ดุจตัวไหม
รัดตัวไว้โดยส่วนแห่งรังไหม. วิญญาณที่กำหนดไว้ด้วยสังขาร ย่อมได้ที่อาศัย
ในคติทั้งหลาย ดุจพระราชกุมารผู้อันปริณายกประคองแล้ว ย่อมได้เสวยราช-
สมบัติ. วิญญาณย่อมยังนามรูปมีประการอเนกให้บังเกิดในปฏิสนธิ เพราะ
กำหนดนิมิตแห่งการอุบัติ ดุจนายมายากรยังมายากลให้เกิด. สฬายตนะอาศัย
นามรูปแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูล ดุจกอไม้ป่าอาศัยในภูมิภาค
อันดี. ผัสสะย่อมเกิดเพราะการกระทบแห่งอายตนะ ดุจไฟเกิดเพราะการสีกัน
แห่งไม้สีไฟ. เวทนาย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้กระทบด้วยผัสสะ ดุจความร้อน
ของบุคคลผู้ถูกต้องไฟ. ตัณหาย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่ ดุจความ
กระหายของผู้ดื่มน้ำเค็มเพิ่มขึ้น บุคคลผู้กระหายแล้วย่อมทำความปรารถนาใน
ภพทั้งหลาย ดุจบุคคลกระหายในการดื่มน้ำ. การทำความอยากนั้นเป็นอุปาทาน
ของเรา ย่อมยึดถือภพด้วยอุปาทาน ดุจปลาติดเบ็ด ด้วยความโลภในเหยื่อ.
เมื่อภพมี ชาติก็ย่อมมี ดุจเมื่อเมล็ดพืชมี หน่อก็ต้องมี. บุคคลเกิดแล้ว ย่อม
เข้าถึงชรามรณะแน่นอน ดุจต้นไม้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องล้มไป ฉะนั้น ภวจักรนี้
บัณฑิตพึงทราบด้วยการอุปมาทั้งหลายตามควร ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง


ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความลึกซึ้ง
โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยเทศนาบ้าง โดยการแทงตลอดบ้างจึงตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งที่มีกระแสความลึกซึ้ง"
ดังนี้.* ฉะนั้น ภวจักรแม้นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง
ตามควร.
ในความลึกซึ้งโดยอรรถเป็นต้นเหล่านั้น เพราะชรามรณะจะไม่มีมา
แต่ชาติ (ความเกิด) ก็หาไม่ และเว้นชาติเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดจากสิ่งอื่น
และย่อมปรากฏเพราะชาติแน่แท้ เพราะฉะนั้น อรรถว่าเกิดและปรากฏ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะอรรถปรากฏขึ้นเพราะชาติ
เป็นปัจจัยอันสัตว์ตรัสรู้ได้ โดยยาก ด้วยประการฉะนี้. อรรถว่าเกิดและปรากฏ
เพราะภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย
ก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง ฉะนั้น ภวจักรนี้ ชื่อว่า ลึกซึ้งโดยอรรถ. นี้เป็นความ
ลึกซึ้งโดยอรรถในภวจักรนี้ก่อน.
ก็ผลอันเกิดแต่เหตุ ตรัสเรียกว่า อรรถ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ
(ความรู้) ในผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา เป็นต้น .
อนึ่ง เพราะอวิชชามีกิริยาที่ตั้งลงอันใด โดยอาการใด จึงเป็นปัจจัย
แก่สังขารเหล่านั้น ๆ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายของอวิชชา เพราะ
กิริยาและอาการนั้นอันสัตว์ตรัสรู้ได้ยาก จึงชื่อว่า ลึกซึ้ง อรรถว่าเป็นปัจจัย
แก่วิญญาณของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะของชาติ
* สํ.นิทาน. เล่มที่ 16. 225/111