เมนู

พึงทราบภวจักรโดยกิจ


อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมยังเหล่าสัตว์ให้หลงใหลในวัตถุ
ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัย เพราะความปรากฏแห่งสังขารทั้งหลาย อนึ่ง
สังขารทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม และย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ. แม้
วิญญาณก็ย่อมรู้ชัดซึ่งวัตถุ และย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป. แม้นามรูปก็อุปถัมภ์
ซึ่งกันและกัน และย่อมเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ. แม้สฬายตนะก็ย่อมเป็นไปใน
วิสัยของตน และย่อมเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ. แม้ผัสสะก็ถูกต้องซึ่งอารมณ์ และ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา. แม้เวทนาก็เสวยซึ่งรสอารมณ์ และย่อมเป็นปัจจัย
แก่ตัณหา. แม้ตัณหาก็กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด และ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. แม้อุปาทานก็ยึดถือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ยึดถือ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพ. แม้ภพก็สับสนไปในคติต่าง ๆ และย่อมเป็น
ปัจจัยแก่ชาติ. แม้ชาติก็ยังขันธ์ทั้งหลายให้เกิด เพราะขันธ์เหล่านั้นเป็นไปด้วย
ภาวะคือความเกิดโดยเฉพาะ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ. แม้ชรามรณะก็
ตั้งอยู่เฉพาะซึ่งความแก่และความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัยแก่
ความปรากฏในภพอื่น เพราะความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นที่รองรับความโศกเป็นต้น
ฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยกิจอันเป็นไป 2 อย่าง ในบท
ทั้งปวงตามสมควร.

พึงทราบภวจักรโดยการห้าม


อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ คํวว่า "สังขารทั้งหลายเกิดเพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย"
ดังนี้ เป็นการห้ามความเห็นว่ามีผู้สร้าง. คำว่า วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นี้เป็นการห้ามความเห็นว่าอัตตาเคลื่อนจากที่
(หนึ่งไปที่หนึ่ง) ได้. คำว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้
เป็นการห้ามความสำคัญว่าเป็นก้อย เพราะเห็นการแตกไปแห่งวัตถุที่กำหนด
กันว่ามีอัตตา. ในคำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนานรูปเป็นปัจจัย ดังนี้
เป็นต้น เป็นการห้ามความเห็นมีอาทิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมเห็น ฯลฯ ย่อมรู้
ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมยึด ย่อมถือมั่น ย่อมมี ย่อมเกิด ย่อมแก่
ย่อมตาย" ดังนี้ ฉะนั้น พึงทราบภวจักรแม้นี้โดยการห้ามความเห็นผิด
ตามควรเถิด.

พึงทราบภวจักรโดยการอุปมา


ก็เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาเปรียบเหมือนคนบอด เพราะไม่เห็นธรรม
ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสภาวลักษณะและสามัญลักษณะ. สังขารทั้งหลาย
ที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการลื่นถลาของของคนบอด. วิญญาณ
ที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการล้มของคนบอดผู้ลื่นถลา
นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความปรากฏแผลฝีของ
คนบอดที่ล้มแล้ว. สฬายตนะที่เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เปรียบเหมือน
ต่อมที่แตกของหัวฝี. ผัสสะที่เกิดเพราะสฬายเป็นปัจจัย เปรียบเหมือน
การกระทบกับหัวฝี . เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความ
ไม่สบาย (ทุกข์) เพราะการกระทบ. ตัณหาที่เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
เปรียบเหมือนผู้ต้องการบำบัดทุกข์. อุปาทานที่เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
เปรียบเหมือนการถือเอาเภสัชที่เป็นอสัปปายะมาโดยปรารถนาจะบำบัดโรค.