เมนู

ปาทาน เพื่อเป็นกิเลสอันอรหัตมรรคพึงประหาณ นี้ลำดับการละอุปาทาน
เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็บรรดาอุปาทาน 4 เหล่านี้ ทรงแสดงกามุปาทานก่อน เพราะเป็น
กิเลสมีอารมณ์มาก และเพราะกิเลสปรากฏแล้ว จริงอยู่ กามุปาทานนั้น ชื่อว่า
มีอารมณ์มาก เพราะประกอบด้วย (โลภมูล) จิต 8 ดวง อุปาทานนอกจากนี้
มีอารมณ์น้อย เพราะประกอบด้วย (โลภมูลที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ) จิต 4 ดวง.
อนึ่ง กามุปาทานปรากฏแก่หมู่สัตว์ เพราะความอาลัยและยินดีโดยมาก อุปาทาน
นอกนี้ไม่เป็นเช่นนั้น อีกอย่างหนึ่ง กามุปาทานเป็นของมีมากแก่บุคคลผู้ถือ
มงคลตื่นข่าวเป็นต้น เพื่อบรรลุวัตถุกามทั้งหลาย สัสสตทิฏฐิหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงทิฏฐุปาทานในลำดับต่อจากกามุปาทานนั้น ทิฏฐุ-
ปาทานนั้น เมื่อจำแนกก็เป็น 2 อย่าง ด้วยสามารถแห่งสีลัพพตุปาทาน และ
อัตตวาทุปาทาน. ในอุปาทาน 2 นั้นทรงแสดงสีลัพพตุปาทานมีอารมณ์อันหยาบ
ก่อน เพราะบุคคลแม้เห็นกิริยาของโค หรือกิริยาของสุนัขแล้วก็รู้ได้ แล้ว
ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในที่สุด เพราะเป็นธรรมมีอารมณ์ละเอียด. นี้ลำดับ
แห่งเทศนาของอุปาทานทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน


ก็บรรดาอุปาทานเหล่านี้ ตัณหาเป็น
ปัจจัยอย่างเดียวแก่อุปาทานแรก ตัณหาแม้-
นั้น เป็นปัจจัย 7 อย่างบ้าง 8 อย่างบ้าง แก่
อุปาทาน 3 ที่เหลือ.

ก็ในอุปาทาน 4 ที่ทรงแสดงไว้ในนิเทศนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ กาม-
ตัณหาย่อมเป็นปัจจัยอย่างเดียว ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แก่กามุปาทานแรก
เพราะเกิดในอารมณ์ทั้งหลายที่พอใจด้วยตัณหา แต่ตัณหานั้น ย่อมเป็นปัจจัย
7 อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตต-
ปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และเหตุปัจจัย หรือเป็นปัจจัย 8 อย่าง พร้อม
ด้วยอุปนิสสยปัจจัย แก่อุปาทาน 3 ที่เหลือ อนึ่ง เมื่อใดตัณหานั้นเป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย เมื่อนั้นตัณหานั้น ย่อมเกิดพร้อมกันทีเดียว.
นิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งภพ

(บาลีข้อ 265)
ในนิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถโดยธรรม
โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ โดยการแยก
ภพและรวมภพ และโดยอุปาทานใดเป็น
ปัจจัยแก่ภพใด.

ในพระบาลีนั้น พึงทราบวินิจฉัยว่า ที่ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่ามี.
บทว่า ทุวิเธน (ภพ 2) มีอธิบายว่า กำหนดโดยอาการ 2 อย่าง อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า ทุวิเธน เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในปฐมาวิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ทุวิโธ
แปลว่า 2 อย่าง. บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่พร้อม.
ภพคือกรรม ชื่อว่า กรรมภพ. ภพคือความเกิดขึ้น ชื่อว่า
อุปปัตติภพ. ในกรรมภพและอุปปัตติภพนี้ ความเกิดขึ้น ชื่อว่า ภพ
เพราะอรรถว่า ย่อมมี ส่วนกรรม พึงทราบว่า ชื่อว่า ภพ โดยโวหารว่า