เมนู

ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ การถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า อัตตวา
ทุปาทาน
ดังนี้. นี้เป็นความย่อและความพิสดารแห่งธรรมในอธิการนี้.

ว่าโดยลำดับ


ก็ในข้อว่า โดยลำดับ นี้ ลำดับมี 3 อย่าง คือ
อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด
ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ และ
เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.
บรรดาลำดับทั้ง 3 นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย
ไม่ตรัสไว้โดยนิปปริยาย (โดยตรง) เพราะไม่มีคำว่า อุปาทานนี้เกิดขึ้นก่อนใน
สังสารมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว แต่ก็ตรัสไว้โดยปริยาย (โดย
อ้อม) ว่าเป็นความยึดมั่นในสัสสตะและอุจเฉทะซึ่งมีความยึดถืออัตตาเป็นใหญ่
ในภพหนึ่งโดยมาก ต่อจากนั้น เมื่อยึดถือว่า "อัตตานี้เที่ยง" ดังนี้ จึงเกิด
สีลัพพตุปาทาน เพื่อความปฏิบัติอันบริสุทธิ์แห่งอัตตา เมื่อยึดถือว่า "อัตตา
ย่อมขาดสูญ" ดังนี้ ก็จะเกิดกามุปาทานแก่บุคคลผู้ไม่มีความอาลัยในโลกอื่น
เพราะฉะนั้น อัตตาทุปาทานจึงเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้นก็เกิดทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทานและกามุปาทาน ดังนี้ เป็นลำดับแห่งความเกิดขึ้นของอุปาทาน
เหล่านั้นในภพหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในข้อว่า ลำดับแห่งการละนี้ ทิฏฐุปาทานเป็นต้นอันบุคคลย่อม
ละก่อน เพราะเป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ภายหลังจึงละกามุ-

ปาทาน เพื่อเป็นกิเลสอันอรหัตมรรคพึงประหาณ นี้ลำดับการละอุปาทาน
เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็บรรดาอุปาทาน 4 เหล่านี้ ทรงแสดงกามุปาทานก่อน เพราะเป็น
กิเลสมีอารมณ์มาก และเพราะกิเลสปรากฏแล้ว จริงอยู่ กามุปาทานนั้น ชื่อว่า
มีอารมณ์มาก เพราะประกอบด้วย (โลภมูล) จิต 8 ดวง อุปาทานนอกจากนี้
มีอารมณ์น้อย เพราะประกอบด้วย (โลภมูลที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ) จิต 4 ดวง.
อนึ่ง กามุปาทานปรากฏแก่หมู่สัตว์ เพราะความอาลัยและยินดีโดยมาก อุปาทาน
นอกนี้ไม่เป็นเช่นนั้น อีกอย่างหนึ่ง กามุปาทานเป็นของมีมากแก่บุคคลผู้ถือ
มงคลตื่นข่าวเป็นต้น เพื่อบรรลุวัตถุกามทั้งหลาย สัสสตทิฏฐิหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงทิฏฐุปาทานในลำดับต่อจากกามุปาทานนั้น ทิฏฐุ-
ปาทานนั้น เมื่อจำแนกก็เป็น 2 อย่าง ด้วยสามารถแห่งสีลัพพตุปาทาน และ
อัตตวาทุปาทาน. ในอุปาทาน 2 นั้นทรงแสดงสีลัพพตุปาทานมีอารมณ์อันหยาบ
ก่อน เพราะบุคคลแม้เห็นกิริยาของโค หรือกิริยาของสุนัขแล้วก็รู้ได้ แล้ว
ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในที่สุด เพราะเป็นธรรมมีอารมณ์ละเอียด. นี้ลำดับ
แห่งเทศนาของอุปาทานทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน


ก็บรรดาอุปาทานเหล่านี้ ตัณหาเป็น
ปัจจัยอย่างเดียวแก่อุปาทานแรก ตัณหาแม้-
นั้น เป็นปัจจัย 7 อย่างบ้าง 8 อย่างบ้าง แก่
อุปาทาน 3 ที่เหลือ.