เมนู

(การปฏิบัติของโค) เป็นต้น เป็นตัวอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า
"ความบริสุทธิ์มีด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็น
เหตุกล่าวของคนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเหตุยืดมั่นของคนทั้งหลาย
ถามว่า ย่อมกล่าวอะไร หรือยึดมั่นอะไร ? ตอบว่า กล่าวอัตตา ยึดมั่นอัตตา
คือ การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง อัตตา
ก็เป็นเพียงกล่าวถึงคนเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะ
อรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่นของคนทั้งหลาย นี้เป็นการจำแนกโดยอรรถแห่งอุปา-
ทาน 4 เหล่านั้น ก่อน.

ว่าด้วยความย่อและพิสดารแห่งธรรม


ก็พึงทราบวินิจฉัยในความย่อและพิสดารแห่งธรรม ต่อไป
กามุปาทานก่อน ว่าโดยย่อ ตรัสว่า ความยึดมั่นด้วยตัณหา เพราะบาลี
มาแล้วว่า บรรดาอุปาทาน 4 นั้น กามุปาทานเป็นไฉน ความพอใจ
คือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความ
ใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ
ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ใน
กามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามุปาทาน*
ดังนี้ ตัณหาหลังเกิดขึ้น
มั่นคงด้วยอุปนิสสยปัจจัย เพราะตัณหาแรกนั่นเอง ชื่อว่า ความยึดมั่นด้วย
ตัณหา.

มิติของอาจารย์บางพวก


แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ความปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง
ชื่อว่า ตัณหา เหมือนโจรเหยียดมือไปเพื่อขโมยของในที่มืด การรับอารมณ์
*อภิ. สํ. เล่ม 34. 781/306

ที่มาถึงแล้ว ชื่อว่า อุปาทาน เหมือนโจรนั้นแหละจับภัณฑะไว้ ก็ธรรม (คือ
ตัณหาอุปาทาน) เหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความมักน้อยและความสันโดษ อนึ่ง
ธรรมเหล่านี้ ยังเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์เพราะต้องแสวงหา และรักษา" ดังนี้ ก็อุปา-
ทาน 3 ที่เหลือโดยย่อก็เป็นเพียงทิฏฐิเท่านั้น.
แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ความยืดมั่นด้วยตัณหาทั้ง 108 ประเภท
ตามที่กล่าวไว้ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ในก่อน ชื่อว่า กามุปาทาน.
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ชื่อว่า ทิฏฐฺปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
บรรดาอุปาทาน 4 เหล่านี้ ทิฏฐุปาทานเป็นไฉน ? ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ที่ทำ
ให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้
คนอื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส เห็น
ปานนี้อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน*
ดังนี้.
อนึ่ง การยึดมั่นว่าความบริสุทธิ์มีด้วยศีลและพร ชื่อว่า สีลัพพตุ-
ปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า บรรดาอุปาทาน 4 เหล่านั้น สีลัพพตุ-
ปาทาน เป็นไฉน ? ความเห็นผิด ฯลฯ การถือโดยวิปลาส โดย
ลักษณะนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและด้วยพรต
เห็นปานนี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน
ดังนี้.
สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เหมือนอย่างที่
ตรัสว่า บรรดาอุปาทาน 4 เหล่านั้น อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาด

* อภิ. สํ. เล่ม 34. 782/306

ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ การถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า อัตตวา
ทุปาทาน
ดังนี้. นี้เป็นความย่อและความพิสดารแห่งธรรมในอธิการนี้.

ว่าโดยลำดับ


ก็ในข้อว่า โดยลำดับ นี้ ลำดับมี 3 อย่าง คือ
อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด
ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ และ
เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.
บรรดาลำดับทั้ง 3 นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย
ไม่ตรัสไว้โดยนิปปริยาย (โดยตรง) เพราะไม่มีคำว่า อุปาทานนี้เกิดขึ้นก่อนใน
สังสารมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว แต่ก็ตรัสไว้โดยปริยาย (โดย
อ้อม) ว่าเป็นความยึดมั่นในสัสสตะและอุจเฉทะซึ่งมีความยึดถืออัตตาเป็นใหญ่
ในภพหนึ่งโดยมาก ต่อจากนั้น เมื่อยึดถือว่า "อัตตานี้เที่ยง" ดังนี้ จึงเกิด
สีลัพพตุปาทาน เพื่อความปฏิบัติอันบริสุทธิ์แห่งอัตตา เมื่อยึดถือว่า "อัตตา
ย่อมขาดสูญ" ดังนี้ ก็จะเกิดกามุปาทานแก่บุคคลผู้ไม่มีความอาลัยในโลกอื่น
เพราะฉะนั้น อัตตาทุปาทานจึงเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้นก็เกิดทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทานและกามุปาทาน ดังนี้ เป็นลำดับแห่งความเกิดขึ้นของอุปาทาน
เหล่านั้นในภพหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในข้อว่า ลำดับแห่งการละนี้ ทิฏฐุปาทานเป็นต้นอันบุคคลย่อม
ละก่อน เพราะเป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ภายหลังจึงละกามุ-