เมนู

(การปฏิบัติของโค) เป็นต้น เป็นตัวอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า
"ความบริสุทธิ์มีด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็น
เหตุกล่าวของคนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเหตุยืดมั่นของคนทั้งหลาย
ถามว่า ย่อมกล่าวอะไร หรือยึดมั่นอะไร ? ตอบว่า กล่าวอัตตา ยึดมั่นอัตตา
คือ การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง อัตตา
ก็เป็นเพียงกล่าวถึงคนเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะ
อรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่นของคนทั้งหลาย นี้เป็นการจำแนกโดยอรรถแห่งอุปา-
ทาน 4 เหล่านั้น ก่อน.

ว่าด้วยความย่อและพิสดารแห่งธรรม


ก็พึงทราบวินิจฉัยในความย่อและพิสดารแห่งธรรม ต่อไป
กามุปาทานก่อน ว่าโดยย่อ ตรัสว่า ความยึดมั่นด้วยตัณหา เพราะบาลี
มาแล้วว่า บรรดาอุปาทาน 4 นั้น กามุปาทานเป็นไฉน ความพอใจ
คือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความ
ใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ
ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ใน
กามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามุปาทาน*
ดังนี้ ตัณหาหลังเกิดขึ้น
มั่นคงด้วยอุปนิสสยปัจจัย เพราะตัณหาแรกนั่นเอง ชื่อว่า ความยึดมั่นด้วย
ตัณหา.

มิติของอาจารย์บางพวก


แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ความปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง
ชื่อว่า ตัณหา เหมือนโจรเหยียดมือไปเพื่อขโมยของในที่มืด การรับอารมณ์
*อภิ. สํ. เล่ม 34. 781/306