เมนู

กายวิญญาณ โดยอาการ 6 อย่าง ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย
อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย. ส่วนวัตถุรูป
เป็นปัจจัย 5 อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่มนายตนะที่เหลือ
ยกเว้นวิญญาณ 5 นั้นแล ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตต-
ปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย รูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใด ๆ
ในปฏิสนธิกาล หรือปวัตติกาล และเป็นโดยประการใด พึงทราบโดยประการนั้น
ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยนามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตะ


ก็นามรูปทั้ง 2 อันใด เป็นปัจจัยแก่
อายตนะใด และโดยประการใด บัณฑิตพึง
ทราบนามรูปแม้นั้นและโดยประการนั้น ใน
ที่ทุกแห่ง.

พึงทราบอย่างไร ? คือในเบื้องต้น นามรูปกล่าวคือนามขันธ์ 3 และ
วัตถุรูปในปฏิสนธิกาลปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ด้วยสหชาต-
ปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัยเป็นต้น.
คำที่กล่าวนี้พอเป็นหัวข้อในข้อว่านามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ แต่
บุคคลผู้ฉลาดอาจประกอบเนื้อความทั้งหมด โดยทำนองแห่งคำที่กล่าวแล้ว
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่แสดงความพิสดารไว้ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
นิเทศสฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศผัสสะ

(บาลีข้อ 261)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ต่อไป
ว่าโดยย่อผัสสะ 6 อย่างเท่านั้น มี
จักขุสัมผัสเป็นต้น ว่าโดยพิสดาร ผัสสะ
เหล่านั้นก็มี 32 อย่าง เหมือนวิญญาณ.

จริงอยู่ ว่าโดยย่อ ผัสสะ 6 อย่างเท่านั้น มีคำอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺโส
(จักขุสัมผัส) ดังนี้มาแล้วในบาลี. แต่โดยพิสดาร ผัสสะแม้ทั้งหมดมี 32
อย่าง เหมือนวิญญาณตามที่กล่าว เพราะสังขารเป็นปัจจัยอย่างนี้ คือ ผัสสะ
ทั้งหลาย มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบาก 5 ที่เป็นอกุศลวิบาก 5
เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็น 10 ผัสสะที่เหลือ 22 ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วย
วิปากวิญญาณที่เป็นโลกีย์ 22 แล.

ว่าด้วยสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ


ก็ในสฬายตนะเป็นปัจจัย แก่ผัสสะทั้ง 32 นั้น
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอาย-
ตนะภายในมีจักขวายตนะเป็นต้นกับอาย-
ตนะที่ 6 พร้อมกับอายตนะแม้ภายนอก 6
ว่าชื่อว่า สฬายตนะ.

ในพระบาลีว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย นั้น มี
อธิบายว่า บัณฑิตเหล่าใดย่อมแสดงปัจจัยและปัจจยุปบัน (ธรรมที่เกิดเพราะ
ปัจจัย) อันเนื่องด้วยสันตติหนึ่งเท่านั้นว่า นี้เป็นกถาแสดงความเป็นไปแห่ง
อุปาทินนกสังขาร ดังนี้ก่อน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมปรารถนาอายตนะภายในมี