เมนู

จริงอยู่ วิญญาณใดเป็นเหตุแห่งนามรูป วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ 2
อย่างโดยแยกเป็นวิบากและไม่เป็นวิบาก และในอสัญญีสัตว์ทั้งหลายก็เกิด
เพราะวิญญาณที่เป็นอภิสังขารที่.เป็นไปในปัญจโวการภพเป็นปัจจัยเพราะความ
ที่รูปเป็นลำนั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพในปวัตติกาลในขณะแห่ง
จิตเป็นกุศลเป็นต้น ก็มีกรรมเป็นสมุฏฐานเหมือนกัน เพราะฉะนั้น วิญญาณนี้
จึงสมควรเป็นปัจจัยเหมือนกัน. พึงทราบวินิจฉัยโดยสงเคราะห์ในอธิการนี้ด้วย
ประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย


ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า โดยนัยแห่งปัจจัย นี้ ต่อไป.
นามสฺส ปากวิญฺญาณํ นวธา โหติ ปจฺจโย
วตฺถุรูปปสฺส นวธา เสสรูปสฺส อฏฺฐธา
อภิสัขารวิญฺญาณํ โหติ รูปสฺส เอกธา
ตทญฺญํ ปย วิญฺญาณํ ตสฺส ตสฺส ยถารหํ

วิปากวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม 9 อย่าง
เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูป 9 อย่าง เป็นปัจจัยแก่
รูปที่เหลือ 8 อย่าง อภิสังขารวิญญาณเป็น
ปัจจัยแก่รูปอย่างเดียว ส่วนวิญญาณอื่นนอก
จากนั้นเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ๆ ตามควร.

จริงอยู่ นาม กล่าวคือวิบากในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาลนี้ใด
ปฏิสนธิวิญญาณ หรือวิปากวิญญาณอื่น เป็นปัจจัย 9 อย่าง แก่นามนั้นซึ่ง

ระคนด้วยรูปบ้าง ไม่ระคนด้วยรูปบ้าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย สัมปยุตนปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย
อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล 9 ปัจจัย โดย
สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย
อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยแก่รูป
ที่เหลือ 8 ปัจจัย เว้นวัตถุรูปแล้วนำอัญญมัญญปัจจัยในปัจจัย 9 ปัจจัยนี้ออก.
ส่วนอภิสังขารวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่อสัญญสัตตรูป หรือแก่กรรม-
ชรูปในปัญจโวการภูมิ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย อย่างเดียวเท่านั้น โดย
ปริยายอันมาในพระสุตตันตะ วิญญาณทั้งหมดที่เหลือ จากเดิมแต่ปฐมภวังค์
พึงทราบวา เป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ๆ ตามควร อนึ่ง เมื่อจะแสดงนัยแห่ง
ปัจจัยของนามรูปนั้น โดยพิสดาร บัณฑิตก็จะพึงยังปัฏฐานกถาแม้ทั้งหมดให้
กว้างขวาง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักยังไม่เริ่มปัฏฐานกถานั้น.
ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า "นามรูปใน
ปฏิสนธิกาลมีวิญญาณเป็นปัจจัย ตอบว่า รู้ได้โดยพระสูตร และโดยยุกติ
(ความชอบด้วยเหตุผล) เพราะในพระสูตร ความที่ธรรมมีเวทนาเป็นต้นเป็น
ปัจจัยสำเร็จแล้วโดยมาก โดยนัยมีอาทิว่า จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา
(ธรรมทั้งหลายคล้อยไปตามจิต) ดังนี้* ส่วนโดยยุกติว่า
ความจริง วิญญาณ ย่อมสำเร็จได้
ด้วยจิตตรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้ วิญญาณก็
เป็นปัจจัย แม้แก่รูปที่เห็นไม่ได้แล.

จริงอยู่ เมื่อจิตผ่องใสหรือไม่ผ่องใสก็ตาม รูปทั้งหลายที่ควรแก่จิตนั้น
เมื่อเกิดขึ้น วิญญาณจึงเห็น ก็การอนุมาน (คาดคะเน) รูปที่เห็นไม่ได้
ย่อมมีด้วยรูปที่เห็นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบทนี้ว่า วิญญาณย่อม
เป็นปัจจัยแก่รูปในปฏิสนธิ แม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยจิตตชรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้.
เพราะความที่รูปในปฏิสนธินั้นแม้มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยมาแล้วใน
ปัฏฐาน เหมือในรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัยโดยนัย
แห่งปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ในข้อว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
(นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) นี้ ชื่อว่า ทรงประกาศพระธรรมจักร
อันยอดเยี่ยม ที่สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารดาก็ดี พรหมก็ดี
หรือว่าใคร ๆ ในโลกก็ดี เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะบรรดาบัณฑิตเข้าไป
ใคร่ครวญอยู่ ย่อมเห็นเป็นเพียงนามรูป โดยปรมัตถ์เท่านั้น กำลังเป็นไป
หาใช่สัตว์บุคคลไม่ ฉะนี้แล.
นิเทศแห่งนามรูปมีวิญญาณเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศสฬายตนะ

(บาลีข้อ 260)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยต่อไป
นามํ ขนฺธตฺตยํ รูปํ ภูตวตฺถาทิกํ มตํ
กเตกเสสํ ตนฺตสฺส ตาทิสสฺเสว ปจฺจโย

นามคือ ขันธ์ 3 รูป ได้แก่ รูปที่
กล่าวว่า ภูตะ และวัตถุเป็นต้น นามรูปนั้น
ท่านทำเอกเสสนัยว่าเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ
นั้นเช่นนั้นแล.