เมนู

มนสิการพร้อมกับขันธ์ 2 (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์). แต่ในพระอภิธรรมนี้
เมื่อจะทรงสงเคราะห์นามทั้งหมดที่ตรัสแล้วก็ดี ยังมิได้ตรัสก็ดี ในพระสุตตันตะ
นั้น จึงตรัสว่า ตโย ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ สญฺยากฺขนฺโธ สงฺขารกฺ-
ขนฺโธ
ขันธ์ 3 คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ดังนี้.
ถามว่า ขันธ์ เหล่านี้เท่านั้น ชื่อว่าเป็นนาม วิญญาณไม่ชื่อว่า
เป็นนามหรือ ?.
ตอบว่า วิญญาณมิใช่ไม่เป็นนาม แต่เมื่อถือเอาวิญญาณนั้น วิญญาณ
ทั้ง 2 คือ วิญญาณซึ่งเป็นนาน วิญญาณที่เป็นปัจจัย ก็จะปรากฏรวมกัน
เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ 3 เพื่อทรงแสดงนามที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเว้น
วิญญาณไว้ในฐานะเป็นปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนา ด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความเป็นไปในภพเป็นต้น


ก็ในข้อว่า โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้ง-
ปวง
นี้อธิบายว่า ยกเว้นสัตตาวาส (อสัญญสัตตภูมิ) หนึ่งแล้ว นามย่อมเป็น
ไปในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาสที่เหลือทั้งปวง.
รูปย่อมเป็นไปในภพ 2 ในกำเนิด 4 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 4 แสดงสัตตาวาส
5 ข้างต้น เมื่อนามและรูปนี้เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็เพราะในขณะปฏิสนธิของคัพภ
ไสยกะไม่มีภาวะ และอณัฑชะ ย่อมปรากฏ สันติรูปเป็นประธาน 2 อย่าง
โดยรูปด้วยอำนาจแห่งวัตถุ และกาย (ทสกะ) และอรูปขันธ์ 3 ฉะนั้น ว่า
โดยพิสดารของสัตว์เหล่านั้น ธรรม 23 ทั้งรูปและอรูป คือธรรม (ที่เป็นรูป)

20 ขันธ์ที่เป็นอรูป 3 เหล่านี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญานเป็น
ปัจจัย" ดังนี้.
แต่เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ธรรม 14 โดยคัด
เอารูปธรรม 9 ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานหนึ่ง สำหรับสัตว์ผู้มีภาวะก็เพิ่ม
ภาวทสกะเข้าเป็น 33 อนึ่ง เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาของ
สัตว์แม้เหล่านั้น ก็ได้ธรรม 15 โดยนำรูปธรรม 18 ออกจากสันตติรูปที่เป็น
ประธานทั้ง 2 ก็เพราะในขณะของปฏิสนธิของรูปพรหมเป็นต้นในสัตว์ผู้เป็น
โอปปาติกะกำเนิดย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน 4 โดยเป็นรูปรูป ด้วย
อำนาจแห่งจักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และชีวิตินทริยนวกะ และอรูป
ขันธ์ 3 ฉะนั้น เมื่อว่าโดยพิสดาร ของกำเนิดเหล่านั้น ธรรม 2 คือรูป
ธรรม 39 โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ 3 นี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิด
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย" ดังนี้ แต่เมื่อว่าโดยสภาวะที่ถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก
ก็จะได้ธรรม 15 อย่าง โดยนำเอารูปธรรม 27 ออกจากสันตติรูปที่เป็นประ-
ธานทั้ง 3 ก็เพราะในกามภพ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกะที่เหลือ หรือ
สังเสทชะผู้มีภาวะและอายตนะบริบูรณ์ ย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน 7
โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ 3 เพราะฉะนั้น ว่าโดยพิสดารแห่งธรรมเหล่า
นั้น ก็ได้ธรรม 73 เหล่านั้น คือ (รูป) ธรรม 70 โดยเป็นรูปรูป และอรูป
ขันธ์ 3 เหล่านั้น พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แต่เมื่อ
ว่าโดยการถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก ก็ได้ธรรม 19 โดยนำธรรม 54 ออกจาก
สันตติรูปที่เป็นประธาน 6. นี้ว่าโดยอุกฤษฏ์.

แต่เมื่อว่าโดยอย่างต่ำ บัณฑิตพึงลดลง ๆ แห่งธรรมคือสันตติรูปที่
เป็นประธานอันบกพร่องนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งสัตว์นั้น ๆ แล้ว ทราบธรรม
กล่าวคือ นามรูปเกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร. ส่วน
สำหรับอรูปพรหม ได้อรูปขันธ์เกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัย สำหรับ
อสัญญีสัตว์ทั้งหลาย ได้ชีวิตินทริยนวก (ชีวิตินทรีย์ 9 กลาป) โดยรูปอย่าง
เดียวแล. นี้เป็นนัยในปฏิสนธิกาล ก่อน.
ส่วนในปวัตติกาล สุทธัฏฐกะ (อวินิโภครูป 8 ล้วน) ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐานแต่อุตุที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิต ย่อมปรากฏในฐิติขณะของปฏิสนธิจิตซึ่ง
เป็นถิ่นที่เป็นไปแห่งรูปทั้งหมด แต่ว่า ปฏิสนธิจิตย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ ก็
ปฏิสนธิจิตนั้นไม่อาจเพื่อยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ เพราะความที่วัตถุมีกำลังอ่อน
เหมือนบุรุษตกลงไปในเหวไม่สามารถจะช่วยเหลือคนอื่นได้ฉะนั้น. แต่เมื่อพ้น
ปฏิสนธิจิตไปแล้ว จำเดิมแต่ปฐมภวังค์ สุทธัฏฐกรูป มีจิตเป็นสมุฏฐานก็ตั้ง
ขึ้นในกาลปรากฏแห่งเสียง ย่อมปรากฏเป็นสัททนวกรูป แต่อุตุชรูปที่เป็นไป
ข้างหน้าปฏิสนธิจิต และแต่จิต. คัพภไสยกสัตว์เหล่าใด เป็นอยู่ด้วยกพฬิง
การาหาร ในสรีระของสัตว์เหล่านั้น ซึมซาบไปด้วยอาหารที่มารดากลืนกินเข้า
ไปแล้ว โดยพระบาลีว่า
ก็มารดา ของคัพภไสยกสัตว์นั้น
ย่อมบริโภคข้าวและน้ำอันใด นระผู้อยู่ใน
ครรภ์ของมารดานั้น ยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยข้าว และน้ำนั้น ในครรภ์นั้น ดังนี้.

สำหรับโอปปาติกะกำเนิด ในเวลาที่ตนกลืนเข้าไปในปากคำแรก
ทั้งหมด ก็ปรากฏเป็นสุทธัฏฐกรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ฉะนี้แล แต่เมื่อว่า
โดยย่อได้แก่กรรม 99 อย่าง คือ รูป 26 ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกรุปี่มี
อาหารเป็นสมุฏฐาน และนวกรูปทั้งสองโดยอุกฤษฏ์แห่งรูปที่มีอุตุและจิตเป็น
สมุฏฐานและรูป 70 อย่าง ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้นสามครั้งในขณะ
แห่งจิตแต่ละดวงอันกล่าวแล้วในเบื้องต้นนี้ รวมเป็นรูป 96 อย่าง และอรูป
ขันธ์ 3. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสียงไม่แน่นอนปรากฏในกาลบางครั้งบางคราว
ฉะนั้น น้ำเสียงทั้ง 2 นั้นออกแล้ว ธรรม 97 เหล่านั้น พึงทราบว่า "นาม
รูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายตามที่เกิดขึ้น.
ก็ธรรม (ทั้งรูปและอรูป) เหล่านั้น ย่อมเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
แก่สัตว์เหล่านั้นผู้ประมาทบ้าง ผู้กำลังท่องเที่ยวบ้าง ผู้กำลังเคี้ยวกินบ้าง ผู้กำลัง
คือบ้าง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. และความที่วิญญาณเป็นปัจจัย แก่รูปเหล่า
นั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาข้างหน้า.
อนึ่ง ในอธิการนี้ กรรมชรูปนี้ใด แม้ดำรงอยู่ครั้งแรกในที่ทั้งปวง
คือในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาส อันสมุฏฐานิก
รูปทั้ง 3 ไม่อุปถัมภ์แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ได้ แม้สมุฏฐานิกรูปทั้ง 3
นั้น อันกรรมชรูปนั้นไม่อุปถัมภ์แล้วก็ดำรงอยู่ไม่ได้ โดยที่แท้ รูปเหล่านั้นต่าง
ก็อุปถัมภ์ซึ่งกันและกันไม่ให้ตกไป จึงดำรงอยู่ได้ 1 ปีบ้าง 2 ปีบ้าง ฯลฯ
100 ปีบ้าง จนถึงสิ้นอายุหรือสิ้นบุญของสัตว์เหล่านั้นไป เหมือนกลุ่มอ้อเป็น
ต้นที่เกี่ยวเกาะกันทั้ง 4 ทิศ ถูกลมพัดแล้วก็ยังเป็นอยู่ได้ หรือเปรียบเหมือน
คนมีพาหนะคือ เรืออับปางในมหาสมุทรบางแห่งได้ที่พึงแล้ว แม้ถูกกำลังคลื่น

ชัดแล้ว ก็ยังเป็นอยู่ได้ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้ โดยความเป็นไป
ในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสงเคราะห์


ก็ในข้อว่า โดยสงเคราะห์ นี้อธิบายว่า บัณฑิตพึงสงเคราะห์
โดยสรุปเสสนัยแห่เอกเทศอย่างนี้ว่า นามอย่างเดียวเกิดเพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัยในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลในอรูปภพ และในปวัตติกาล ในปัญจ
โวการภพอันใด และรูปอย่างเดียวเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ในปฏิสนธิ
กาลและปวัตติกาลทั้งหมดในพวกอสัญญีภพ และในปวัตติกาลในปัญจ
โวการภพ อันใด และนามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในกาลทั้งหมดใน
ปัญจโวการภพ อันใด นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า
นามรูปดังนี้ แล้วทราบว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
หากมีผู้สงสัย ถามว่า เพราะความที่อสัญญีสัตว์ไม่มีวิญญาณ วิญญาณ
จึงไม่ควรหรือ.
ตอบว่า ไม่ควร หามิได้.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ ( ท่านกล่าวไว้ว่า)
นามรูปสฺส ยํ เหตุ วิญฺญาณนฺตํ ทฺวิธา มตํ
วิปากมวิปากญฺจ ยุตฺตเมว ตโต อิทํ

วิญญาณนั้น เป็นเหตุแห่งนามรูป
วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ 2 อย่าง คือ วิญญาณ
ที่เป็นวิบาก และวิญญาณที่ไม่เป็นวิบาก
วิญญาณนี้ จึงควรเป็นปัจจัยแก่รูปใน
อสัญญีภพนั้นทีเดียว.