เมนู

มนสิการพร้อมกับขันธ์ 2 (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์). แต่ในพระอภิธรรมนี้
เมื่อจะทรงสงเคราะห์นามทั้งหมดที่ตรัสแล้วก็ดี ยังมิได้ตรัสก็ดี ในพระสุตตันตะ
นั้น จึงตรัสว่า ตโย ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ สญฺยากฺขนฺโธ สงฺขารกฺ-
ขนฺโธ
ขันธ์ 3 คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ดังนี้.
ถามว่า ขันธ์ เหล่านี้เท่านั้น ชื่อว่าเป็นนาม วิญญาณไม่ชื่อว่า
เป็นนามหรือ ?.
ตอบว่า วิญญาณมิใช่ไม่เป็นนาม แต่เมื่อถือเอาวิญญาณนั้น วิญญาณ
ทั้ง 2 คือ วิญญาณซึ่งเป็นนาน วิญญาณที่เป็นปัจจัย ก็จะปรากฏรวมกัน
เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ 3 เพื่อทรงแสดงนามที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเว้น
วิญญาณไว้ในฐานะเป็นปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนา ด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความเป็นไปในภพเป็นต้น


ก็ในข้อว่า โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้ง-
ปวง
นี้อธิบายว่า ยกเว้นสัตตาวาส (อสัญญสัตตภูมิ) หนึ่งแล้ว นามย่อมเป็น
ไปในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาสที่เหลือทั้งปวง.
รูปย่อมเป็นไปในภพ 2 ในกำเนิด 4 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 4 แสดงสัตตาวาส
5 ข้างต้น เมื่อนามและรูปนี้เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็เพราะในขณะปฏิสนธิของคัพภ
ไสยกะไม่มีภาวะ และอณัฑชะ ย่อมปรากฏ สันติรูปเป็นประธาน 2 อย่าง
โดยรูปด้วยอำนาจแห่งวัตถุ และกาย (ทสกะ) และอรูปขันธ์ 3 ฉะนั้น ว่า
โดยพิสดารของสัตว์เหล่านั้น ธรรม 23 ทั้งรูปและอรูป คือธรรม (ที่เป็นรูป)