เมนู

เกิดต่างขณะกัน และด้วยอุปนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ 10
ดวง ในกามภพ กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกันใน
ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ 13 ดวง ในกามภพ แก่
วิปากวิญญาณ 9 ดวง ในรูปภพ. กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยเหมือน
อย่างนั้นทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ 23 ดวง ใน
กามภพ. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยจิตตสังขาร 19 ดวง เป็นปัจจัย


ส่วนจิตตสังขารที่จำแนกด้วยเจตนา 19 ดวง เป็นปัจจัยเหมือนอย่าง
นั้น แหละในปฏิสนธิกาล มิใช่ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ 19 ดวงในภพ
ทั้ง 3 จิตตสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาลมิใช่ปฏิสนธิกาล แก่วิปาก
วิญญาณ 22 ดวง คือ แก่วิปากวิญญาณ 13 ดวง ในกามภพ และแก่วิปาก-
วิญญาณ 9 ดวง ในรูปภพ ตามที่กล่าวมาแล้วในภพทั้งสอง อนึ่ง จิตตสังขาร
นั้น เป็นปัจจัยอย่างนั้นแหละทิ้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปาก
วิญญาณ 32 ดวง ในภพ 3
บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารเหล่านั้นว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใดและ
เป็นปัจจัยโดยประการใดนั้น ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลใน
ภพทั้งหลายอย่างนี้ก่อน. แม้ในกำเนิด เป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน

ว่าด้วยสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ


ในนิเทศแห่งสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น คำที่ประกาศพอเป็นหัว
ข้อตั้งแต่ต้น มีดังนี้ ก็บรรดาสังขารเหล่านี้ ปุญญาภิสังขาร อำนวยปฏิสนธิ

ให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในภพทั้ง 2 ก่อน ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบาก
ทั้งหมดของตนเหมือนกันในกำเนิด 4 มีอัณฑชะเป็นต้น ในคติ 2 กล่าวคือ
เทวคติและมนุษยคติ ในวิญญาณฐิติ 4 กล่าวคือผู้มีกายต่างกันมีสัญญาต่าง
กัน 1 มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน 1 มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่าง
กัน 1 มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน 1 ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์
ทั้งหลาย และในปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ แต่ในอสัญญ-
สัตตาวาส ปุญญาภิสังขารนี้ย่อมปรุงแต่งเพียงแต่รูปเท่านั้น ฉะนั้น จึงอำนวย
ปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในสัตตาวาส 4 (เหมือนวิญญาณฐิติ) นั้น
แหละ. เพราะฉะนั้น ปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และ
ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาน 21 ดวง ตามควรแก่การเกิดขึ้นในภพ 2
กำเนิด คติ 2 วิญญาณฐิติ 4 และสัตตาวาส 4 เหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าว
นั่นแล.
อนึ่ง อปุญญาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในกาม-
ภพ 1 เท่านั้น ในกำเนิด 4 ในคติ 3 ที่เหลือ ในวิญญาณฐิติ 1 คือที่มีกาย
ต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน และในสัตตาวาส 1 เช่นเดียวกับวิญญาณฐิตินั้น
แหละ เพราะฉะนั้น อปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และ
ในปวัตติกาลแก่วิปากวิญญาน 7 ในภพ 1 กำเนิด คติ 3 วิญญาณฐิติ 1
และในสัตตาวาส 1 โดยนัยที่กล่าวนั่นแหละ.
แต่ อาเนญชาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในอรูป
ภพ 1 ในโอปปาติกะกำเนิด 1 ในเทวคติ 1 ในวิญญาณฐิติ 3 มี อากาสานัญจาย
ตนะเป็นต้น1 ในสัตตาวาส 4 มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น2 เพราะฉะนั้น
1. ต่อสัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ 1 วิญญาณัญจายตนะ 1 อากิญจัญญายตนะ 1
2. ผู้เข้าถึงอรูปภพ 4

อาเนญชาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัย ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แก่
วิญญาณ 4 ดวง ในภพ 1 เหล่านั้น ในกำเนิด 1 ในคติ 1 ในวิญญาณฐิติ 3
ในสัตตาวาส 4 ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
แม้กายสังขาร ก็ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้วิบากของตนทั้งหมดเกิดขึ้น
ในกามภพ 1 ในกำเนิด 1 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 2 และในสัตตาวาส 2
เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้น จึงเป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละทั้งใน
ปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ 23 ดวง ในภพ 1 ในกำเนิด
4 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 2 และในสัตตาวาส 2. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ส่วนจิตตสังขาร เว้นสัตตาวาส (อสัญญีสัตว์) อย่างเดียว จะไม่
ให้ผลในที่ไหน ๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จิตตสังขารนี้จึงเป็นเหมือนกันนั่น
แหละทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณทั้ง 32 ดวง
ตามควรในภพ 3 กำเนิด 4 คติ 5 วิญญาณฐิติ 7 และในสัตตาวาส 8 อนึ่ง
ในสัตตาวาสที่ไม่มีวิญญาณ วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.
อีกอย่างหนึ่ง ปุญญาภิสังขาร เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายในพวก
อสัญญีสัตว์ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยประการฉะนี้แล
บัณฑิตพึงทราบสังขารเหล่านั้นเป็น
ปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นโดยประ
การใด ด้วยอำนาจปฏิสนธิสนธิกาล และปวัตติ-
กาล ในฐานะทั้งหลาย มีภพเป็นต้น.

นิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ จบ

ว่าด้วยนิเทศนามรูป

(บาลีข้อ 259)
ในนิเทศนามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย โดยประเภท
เทศนา โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลาย
ภพเป็นต้นทั้งปวง โดยสงเคราะห์ และโดย
นัยแห่งปัจจัย.


ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทเทศนา


ข้อว่า โดยประเภทเทศนา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทำเทศนาถึงรูปบทเช่นเดียว โดยให้ต่างกันก่อนนั้นพระสูตรและในนามรูป
นิเทศนี้อย่างนี้ว่า ตตฺถ กตมํ รูปํ จตฺตาโร จ มหาภูตา จตุนฺนญฺจ
มหาภูตานํ อุปาทายรูปํ
บรรดานามและรูปเหล่านั้น รูปเป็นไฉน ? มหา-
ภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4. แต่บทว่า นาม ทรงกระทำเทศนาไว้
ต่างกัน เพราะในพระสุตตันตะ ตรัสไว้ว่า ในนามและรูปนั้น นามเป็น
ไฉน ? เวทนาขันธ์ สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ในพระอธิธรรมนี้
ตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
ด้วยว่า ในพระสูตรนั้น
นามแม้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย และนามใดที่เกิดแล้ว
เมื่อจะทรงแสดงนามนั้นที่ปรากฏ โดยความไม่ควรถือเอาโดยอาศัยร่วมกับธรรม
อื่นอย่างนี้ว่า "ความตั้งอยู่แห่งจิตเป็นอายุของอรูปธรรมทั้งหลาย" ดังนี้ จึง
ทรงแสดงจำแนกสังขารขันธ์โดย 3 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งเจตนา ผัสสะ