เมนู

อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต. ปฏิสนธิในทุคติบางอย่างต่อจากจุติใน
สุคติภูมิบางอย่าง ปฏิสนธิที่เป็นสเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิ
ที่เป็นติเหตุกะ ต่อจากจิตที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิที่เป็นโสมนัสสสหคตะ ต่อจาก
จุติที่เป็นอุเบกขาสหคตะ ปฏิสนธิที่มีปีติ ต่อจากจุติที่ไม่มีปีติ ปฏิสนธิที่มี
วิตก ต่อจากจุติที่ไม่มีวิตก ปฏิสนธิที่เป็นสวิจาร ต่อจากจุติที่ไม่มีวิจาร
ปฏิสนธิที่เป็นสวิตักกะและสวิจารต่อจากจุติที่เป็นอวิตักกะอวิจา เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยตรงกันข้ามกับวิญญาณนั้น ๆ เถิด.
ลทฺธปฺปจิจยมิติ ธมฺม มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ
นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุํ วินา โหติ

วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย
อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก
ภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา
ปรากฏไม่.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ
อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับ
แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.

ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ


ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือ
โดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา

อันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง
ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด
เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น
ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภ
อารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป
วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้น ทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ
เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น
เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
สิยุํ นิสฺสนาเนตฺถ ปฏิโฆสาทิกา อถ
สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ เอกตา นาปิ นานตา

เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น
พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อน
นั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียง
ต่างกัน ( กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วย
ความสืบต่อ.

ก็ธรรมที่จำแนกโดยเสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และ
เงาพึงเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือ ในการที่วิญญาณนี้ ไม่มาในภพนี้แต่ภพก่อน
และความที่วิญญาณนี้เกิดขึ้นเหตุที่นับเนื่องด้วยอดีตภพ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า
เสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และเงา มีเหตุมาแต่เสียงเป็น
เบื้องต้น มิได้แยกกันไปในที่ใด ฉันใด จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ในฐานะนี้
จิตนี้มิใช่เป็นดวงเดียวกัน ทั้งมิใช่ต่างกัน เพราะเนื่องกันโดยความสืบต่อ
จริงอยู่ ถ้าว่า เมื่อมีความเนื่องกันด้วยความสืบต่อ ความเป็นอย่างเดียวกัน
พึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้ม ก็ไม่พึงเกิดแต่นม ก็ถ้าว่า ความต่างกันพึงมี
โดยส่วนเดียวไซร้ นมส้มก็ไม่พึงมีเพราะนมสดเป็นใหญ่. ในเหตุที่เกิดขึ้น
แห่งเหตุทั้งหมดก็นัยนี้. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะพึงเป็นการตัดโวหารแห่งโลก
ทั้งหมดไปเสีย และการตัดโวหารของโลกทั้งหมดนั้น ไม่น่าปรารถนา เพราะ
ฉะนั้น ในเรื่องนี้ ไม่ควรเข้าใกล้ความเป็นอันเดียวกัน หรือความต่างกันโดย
ส่วนเดียวกัน ฉะนี้แล.
ก็ในอธิการนี้ หากมีผู้ถามว่า เมื่อความไม่เคลื่อน ความปรากฏมีอยู่
อย่างนี้ เหตุทีขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัย
แก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น ผลนั้นของกรรมอื่น ก็พึงมีแต่กรรมอื่น

มิใช่หรือ ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้น พึงมีแก่ใคร เพราะฉะนั้น
วิธีนี้ไม่ดี ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า
สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ นาญฺญสฺส น จ อญฺญโต
วีชานํ อภิสํขาโร เอตสฺสถสฺส สาธโก

ผลใด ในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่
ของกรรมอื่น และมิใช่แต่กรรมอื่น สภาพ-
ปรุงแต่งพืชทั้งหลาย เป็นเครื่องสาธกเนื้อ-
ความนี้.
จริงอยู่ ผล เมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน ก็เพราะความที่
เป็นอันเดียวกัน และความต่างกัน จึงสำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น
จึงไม่มีว่า เป็นของกรรมอื่น หรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย
เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืช มะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษ
ในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้น ๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น
ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น อนึ่ง พืชเหล่านั้น หรือเครื่องปรุงแต่ง
นั้น ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ ฉันนั้น และพึงทราบ
เนื้อความนี้ ด้วยวิชชา ศิลปะ และโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็ก
อำนวยผลให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้า
ไปเสวย ผลนี้ พึงมีแก่แก่ใคร. ในข้อนั้น
สมมติว่าผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้
ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ชาวโลกย่อมเรียกว่า ย่อมผลิผล หรือออกผล
แล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียก
ว่าต้นไม้นั้นแหละ ฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวย
หรือเรียกว่า ผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่
เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและ
มนุษย์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไร ๆ ด้วยบุคคล
อื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.
แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม
ไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผิว่าสังขารที่มีอยู่ วิบากก็พึงมีแก่สังขาร
เหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่ง
ผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง แต่ความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้
สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็น
ผู้ทำและมิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อ
นั้นพึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็น
อุทาหรณ์.

จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้
กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุ
วิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกระทำ เพราะการสั่งสมกุศลกรรมที่เป็น
กามาพจร เป็นต้น และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้
ซ้ำซาก เพราะความวิบากอันให้ผลแล้ว. ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้
พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.

เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งให้โลก เพื่อรับมอบ
ประโยชน์บางอย่าง ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การทำนั้น
ซึ่งก็เป็นเพียงการทำการงานของนายประกันนั้นนั่น เองเป็นปัจจัยในการรับมอบ
หมายประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่ หรือไม่มี เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้
เกินกว่าการรับมอบหมายในประโยชน์นั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความมอบ
หมายเป็นต้น ตนการทำไว้แล้ว ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็
ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของนี้ เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้
เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งปฏิสนธิวิญญาณ
ที่กำลังเป็นไปทั้ง 2 อย่าง ด้วยสามารถธรรมที่ระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย
รูป เพราะสังขารเป็นปัจจัย.
บัดนี้ เพื่อป้องกันความหลงลืมในวิญญาณ 32 ดวง เหล่านั้นทั้งหมด
นั้นแหละ
พึงทราบสังขารเหล่านั้นว่าเป็นปัจจัย
แล้ววิญญาณเหล่าใด และเป็นปัจจัยใด ประ-
การใด ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และ
ปวัตติกาล ในที่ทั้งหลายมีภพเป็นต้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ภพ 3 กำเนิด 4 คติ 5
วิญญาณฐิติ 7 สัตตาวาส 9 ชื่อว่า ภพเป็นต้น ในภพเป็นต้นเหล่านั้น สังขาร
เหล่านี้เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าใด และสังขารเหล่านั้น เป็นปัจจัย ใน
ปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล โดยประการใด บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น.

ว่าด้วยปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย


บรรดาสังขารเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสังขารก่อน
ว่าโดยไม่ต่างกัน ปุญญาภิสังขารจำแนกด้วยเจตนา 8 ดวง นี้
กามาพจรได้ปัจจัย 2 อย่าง คือ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน และด้วย
อุปนิสสยปัจจัยในปฏิสนธิ แก่วิปากวิญญาณ 9 ดวง ในปฏิสนธิกามภพสุคติภูมิ
ปุญญาภิสังขารที่จำแนกด้วยกุศลเจตนา 5 ดวง ในรูปาวจรก็เป็นปัจจัยแก่
วิปากวิญาณ 5 ดวง ในปฏิสนธิกาลรูปภพเหมือนกัน แต่กามาพรประเภท
ตามที่กล่าวเป็นปัจจัย 2 อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ปฏิสนธิกาลแก่ปริตตวิปาก-
วิญญาณ 7 ดวง เว้นมโนวิญญาณธาตุอเหตุกะที่สหรคด้วยอุเบกขา ในกาม
ภพสุคติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ปุญญาภิสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยใน
ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล. แก่วิปากวิญญาณ 5 ดวง ในรูปภพ อย่าง
นั้น เหมือนกัน.
ก็ในกามภพทุคติภูมิ ก็เป็นปัจจัยแก่ปริตตวิปากวิญญาณทั้ง 8 ใน
ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นเหมือนกัน ในกามภพทุคติภูมินั้น
ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นปัจจัย ด้วยการประสบอิฏฐารมณ์ในนรก ในคราวเที่ยว
ไปในนรกเป็นต้นของพระมหาโมคคัลลานเถระ. แต่อิฏฐารมร์ย่อมได้ในพวก
สัตว์เดรัจฉาน และในพวกนาค สุบรรณ และเปรตผู้มีฤทธิ์มากทีเดียว
ปุญญาภิสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาล แก่กุศล
วิปากวิญญาณทั้ง 16 ดวง ในกามภพสุคติภูมิ ว่าโดยไม่แปลกกัน ปุญญา-
ภิสังขาร เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ 10 ดวง
ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.