เมนู

มหัคคตจิตเป็นคติ ฉะนั้น จึงเกิดจุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็น
อารมณ์ในลำดับแห่งชวนะนั้นแล ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ย่อมเกิดปฏิสนธิจิต
มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ทั้งหลายตามที่ปรากฏ อันนับเนื่องในสุคติ
อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งสุคติของกามาพจร หรือมหัคคตะ. ปฏิสนธินี้มีอารมณ์
อดีต ปัจจุบัน นวัตตัพพะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากจุติที่มีอารมณ์เป็นนวัต-
ตัพพะ.
พึงทราบปฏิสนธิ ในลำดับแม้จุติในอรูปภูมิ โดยทำนองนี้. นี้เป็น
อาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อดีต มีอารมณ์นวัตตัพพะ มีอารมณ์ปัจจุบัน
ต่อจากจุติในสุคติภูมิมีอารมณ์อดีต และอารมณ์นวัตตัพพะ.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต


ส่วนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิ ผู้มีบาปกรรม กรรม กรรมนิมิตหรือ
คตินิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารโดยนัยที่กล่าวนั้นแหละ แต่อารมณ์ที่
เป็นเหตุเกิดอกุศลย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตของบุคคล
นั้นมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ 3 เหล่านั้น อันนับเนื่องในทุคติภูมินี้
ที่สุดแห่งจุติจิตตามลำดับก็เกิดขึ้น. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิจิตมีอารมณ์
อดีต และปัจจุบันในลำดับต่อจากจิตในทุคติภูมิมีอารมณ์อดีต ฉะนี้แล ด้วย
ลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งวิญญาณ 19 ดวง
ด้วยอํานาจปฏิสนธิ.
อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ 19 ดวงทั้งหมดนี้นั้น
เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไป
ด้วยธรรม 2 อย่าง และวิญญาณที่แตกต่างกัน
เป็นไป 2 อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกัน
แห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น.

จริงอยู่ วิปากวิญญาณ 19 ดวงนี้ เมื่อจะเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็น
ไปด้วยกรรม 2 อย่าง ด้วยว่า กรรมอัน ให้กำเนิดวิปากวิญญาณ 19 ดวงนั้น
ย่อมเป็นปัจจัยโดยนานาขณิกกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัยตามควรแก่ตน
ข้อนี้สมกับคำที่ตรัสว่า กุสลากุสลํ กมฺมวิปากสฺส อุปนิสฺสยปจฺจเยน
ปจฺจโย
กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กรรมวิบาก ด้วยอุปนิสสยปัจจัย1 ก็เมื่อ
วิญญาณนี้เป็นไปอย่างนี้ ก็พึงทราบความแตกต่างกันแม้มี 2 อย่าง เป็นต้น
โดยความแตกต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น อย่างไร ? คือ วิญญาณนี้
แม้เป็นไปอยู่อย่างเดียวด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่ามี 2 อย่าง โดยความต่างกัน
แห่งธรรมที่ระคนกันและไม่ระคนกันกับรูป มี 3 อย่าง เพราะความต่างกัน
แห่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ มี 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งกำเนิดอัณฑชะ
ชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ มี 5 อย่าง ด้วยสามารถคติ (มีทาง
ไปสู่นรกเป็นต้น)2 มี 7 อย่าง ด้วยอำนาจวิญญาณฐิติ มี 9 อย่าง ด้วย
อำนาจ สัตตาวาส.
บรรดาวิญญาณเหล่านั้น
วิญญาณที่ระคนกับรูป 2 อย่าง
เพราะความต่างกันแห่งภาวะ และในวิญญาณ
ทั้ง 2 นั้น วิญญาณที่มีภาวะ 2 อย่าง มี 2
ทสกะบ้าง 3 ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ เกิด
พร้อมกับวิญญาณที่ระคนกันกับรูปเบื้องต้น.

คำว่า วิญญาณที่ระคนกับรูป 2 อย่าง เพราะความแตกต่าง
กันแห่งภาวะ
นั้น ความว่า จริงอยู่ บรรดาวิญญาณเหล่านั้น ปฏิสนธิ-
1. อภิ. ป. เล่มที่ 40 1378/460
2. ดูคติ 5 ที่เชิงอรรถ หน้า 456

วิญญาณนั้นระคนด้วยรูปเกิดขึ้นเว้นอรูปภพ. ปฏิสนธิวิญญาณนั้น มี 2 อย่าง
คือ มีภาวะ 1 ไม่มีภาวะ 1 เพราะในรูปภพเกิดขึ้นเว้นจากภาวะ คือ อิตถิ-
นทรีย์ และปุริสินทรีย์ เพราะในกามภพเกิดพร้อมกับภาวะ เว้นแต่ปฏิสนธิ
ของบัณเฑาะก์โดยกำเนิด.
คำว่า และในวิญญาณทั้ง 2 นั้น วิญญาณที่มีภาวะ 2 อย่าง
นั้น ความว่า ในวิญญาณแม้เหล่านั้น วิญญาณมีภาวะ 2 อย่าง โดยการเกิด
พร้อมกันแห่งอิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะอย่างใดนั่นแหละ.
คำว่า มี 2 ทสกะบ้าง มี 3 ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ
เกิดพร้อมกับวิญญาณที่ระคนกับรูปเบื้องต้น
ความว่า ในวิญญาณ
เหล่านั้น วิญญาณ 2 อย่าง คือ วิญญาณที่ระคนกับรูป และไม่ระคนกับรูป
ปฏิสนธิวิญญาณที่ระคนกับรูปอันเป็นเบื้องต้นนี้ใด เกิดพร้อมกัน 2 ทสกะ
คือ กายทสกะและวัตถุทสกะ หรือ 3 ทสกะ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ
ภาวทสกะ เป็นอย่างต่ำไม่มีรูปลดลงกว่านั้น.
ก็ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น มีกำหนดรูปอย่างต่ำอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติได้การนับว่าเป็นกลละ มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงา
ใสที่ปลายขนเส้นหนึ่งแห่งเนื้อทราย ในกำเนิดทั้ง 2 อันมีชื่อว่า อัณฑชะ
และชลาพุชะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งการเกิดขึ้นกำเนิดเหล่านั้น ด้วย
สามารถแห่งคติของกำเนิดทั้งหลาย.
จริงอยู่ บรรดาการเกิดด้วยสามารถแห่งคติเหล่านั้น
นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ เทเวสุ จ น โยนิโย
ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ จตสฺโสปิ คติตฺตเย

กำเนิด 3 ข้างต้น* ย่อมไม่มีในนรก
และไม่มีในพวกเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา
กำเนิด 4 ย่อมมีในคติ 3.

ในคาถานั้น ด้วย จ ศัพท์ ในบทว่า เทเวสุ จ นี้ กำเนิด 3
ข้างต้น พึงทราบว่า ไม่มี ในนิชฌามตัณหิกเปรต เหมือนไม่มีในนรกและใน
เทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นโอปปาติกะกำเนิดอย่าง
เดียว แต่กำเนิด 4 มีในคติ 3 ที่เหลือกล่าวคือสัตว์เดรัจฉาน ปีตติวิสัยและ
มนุษย์ และพวกภุมมเทวดาที่เว้นไว้ในเบื้องต้น.
บรรดากำเนิดเหล่านั้น
ในรูปพรหม ย่อมเกิดรูป 39 กลาป
ในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด
ย่อมเกิดรูป 70 กลาป โดยกำหนดอย่างสูง
หรืออย่างต่ำมี 30 กลาป.

ในรูปพรหมซึ่งกำเนิดเป็นโอปปาติกะก่อน รูป 39 กลาป ย่อมเกิด
พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณด้วยสามารถแห่งกลาป 4 คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ
วัตถุทสกะ และชีวิตนวกะ. ส่วนในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด
เหล่าอื่นเว้นพวกรูปพรหม ย่อมได้รูป 70 กลาปอย่างสูง ด้วยอำนาจแห่ง
วัตถุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ และ
วัตถุทสกะ และรูป 70 กลาปเหล่านั้น ย่อมเกิดในพวกเทพเป็นนิตย์ ในรูป
ที่เป็นทสกะเหล่านั้น กองรูป 10 เหล่านั้น คือ วรรณะ 1 คันธะ 1 รสะ 1
* ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ

โอชา 1 และธาตุ 4 (คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม) จักขุประสาท 1
ชีวิตินทรีย์ 1 ชื่อว่า จักขุทสกะ โสตทสกะเป็นต้น ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.
อนึ่ง กำหนดอย่างต่ำ รูป 30 กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิ-
วิญญาณ ด้วยสามารถแห่งชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะ แก่บุคคลผู้บอด
หนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานประสาท และผู้เป็นนปุงสกะมาแต่กำเนิด. บัณฑิต
พึงทราบการกำหนด โดยสมควรในระหว่างรูปที่กำหนดอย่างสูง และอย่างต่ำ
ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว
พึงกำหนดรู้ธรรมพิเศษ แห่งความ
ต่างกันและไม่ต่างกันของจุติ และปฏิสนธิ
โดยขันธ์ โดยอารมณ์ โดยคติ โดยเหตุ
โดยเวทนา โดยปีติ โดยวิตก และโดยวิจาร

ต่อไป.
อธิบายว่า ก็ปฏิสนธิจิต 2 อย่าง โดยระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย
รูปอันใดนี้ และจุติในลำดับแห่งอดีตแห่งปฏิสนธินั้นอันใด บัณฑิตพึงทราบ
ธรรมพิเศษแห่งความต่างกันและไม่ต่างกัน แห่งจิตและปฏิสนธิเหล่านั้น โดย
ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น อย่างไร คือ บางคราว ขันธ์ เท่านั้น เป็นปฏิสนธิโดย
ไม่ต่างกันแม้โดยอารมณ์ ในลำดับแห่งจุติในอรูปภูมิซึ่งมีขันธ์ 4 บางคราว
เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิมีอารมณ์เป็นมหัคคตะและอารมณ์ภายใน ต่อจากจุติที่มี
อารมณ์มิใช่มหัคคตะและมีอารมณ์ภายนอก. นี้เป็นนัยในอรูปภูมิอย่างเดียวก่อน.
อนึ่ง ในบางคราว อรูปขันธ์ 4 เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิ ต่อจากจุติ
ในกามาพจร หรือจุติในรูปาพจรที่มีขันธ์ 5 ด้วยอาการอย่างนี้ ปฏิสนธิก็มี

อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต. ปฏิสนธิในทุคติบางอย่างต่อจากจุติใน
สุคติภูมิบางอย่าง ปฏิสนธิที่เป็นสเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิ
ที่เป็นติเหตุกะ ต่อจากจิตที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิที่เป็นโสมนัสสสหคตะ ต่อจาก
จุติที่เป็นอุเบกขาสหคตะ ปฏิสนธิที่มีปีติ ต่อจากจุติที่ไม่มีปีติ ปฏิสนธิที่มี
วิตก ต่อจากจุติที่ไม่มีวิตก ปฏิสนธิที่เป็นสวิจาร ต่อจากจุติที่ไม่มีวิจาร
ปฏิสนธิที่เป็นสวิตักกะและสวิจารต่อจากจุติที่เป็นอวิตักกะอวิจา เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยตรงกันข้ามกับวิญญาณนั้น ๆ เถิด.
ลทฺธปฺปจิจยมิติ ธมฺม มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ
นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุํ วินา โหติ

วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย
อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก
ภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา
ปรากฏไม่.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ
อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับ
แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.

ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ


ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือ
โดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา