เมนู

ว่าด้วยเหตุที่ตทารัมมณะไม่เป็นไปในรูปและอรูปภูมิ


ในวิบากวิญญาณ 32 ดวงเหล่านั้น ตรัสตารัมมณจิต 11 ดวงนั้น
เหล่าใดไว้ วิบากจิตแม้หนึ่งดวง เป็นตทารัมมณะในรูปภพและอรูปภพเป็นไป
หามีไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีพืช จริงอยู่ ในรูปภูมิและอรูปภูมินั้น
พืช คือ ปฏิสนธิ กล่าวคือ กามาวจรวิบาก ที่จะให้เกิดตทารัมมณกิจใน
อารมณ์มีรูปเป็นต้น ย่อมไม่มี หากมีผู้แย้งว่า ถ้าเช่นนั้น จักขุวิญญาณ
เป็นต้น ก็ไม่มีปรากฏในรูปภพนะซิ ขอตอบว่า มิใช่เช่นนั้น เพราะอานุภาพ
แห่งความเป็นไปของอินทรีย์ และเพราะจิตตนิยมในความต่างกันแห่งทวารวิถี.
ก็ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพโดยแน่นอน
ฉันใด ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่ไม่ใช่กามาพจรแม้ทั้งหมด ฉันนั้น เพราะ
เหตุไร ? เพราะความที่ธรรมมิใช่กามาพจร ทำให้ตทารัมมณะเกิดไม่ได้ และ
เพราะไม่เหมือนกับธรรมที่เป็นตัวให้กำเนิด. จริงอยู่ ตทารัมมณะนั้น
เปรียบเหมือนทารกผู้เยาว์ออกจากบ้านต้องการจะไปภายนอกก็จะเกาะนิ้วมือบิดา
ผู้ให้กำเนิดของตน หรือญาติผู้มุ่งประโยชน์เช่นกับบิดาไป หาใช่ติดตามคนอื่น
มีราชบุรุษเป็นต้นไปไม่ ฉันใด ตทารัมมณะแม้นี้ก็ฉันนั้น ย่อมติดตาม
กามาวจรชวนะเท่านั้น ซึ่งเป็นบิดาผู้กำเนิดของตน หรือผู้เป็นญาติผู้เช่นเดียว
กับบิดาของตน เพราะเป็นธรรมทั้งหลายที่ออกไปภายนอกจากอารมณ์ภวังค์
เหมือนกัน ย่อมไม่ติดตามจิตอื่น คือ มหัคคตะหรือโลกุตระ.
อนึ่ง ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่ติดตามมหัคคตะและโลกุตรธรรม ฉันใด
แม้กามาวจรธรรมเหล่านี้ ก็ฉันนั้น เมื่อใด จิตเป็นธรรมมีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เป็นไป เมื่อนั้น ตทารัมมณะนี้ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์

เป็นไป เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นถิ่นไม่เคยไป. และเพราะความที่ตน
เป็นปริตตะ (กาม) อารมณ์โดยส่วนเดียว. จริงอยู่ตทารัมมณะนั้นเปรียบ
เหมือนทารกยังเยาว์ เมื่อจะติดตามบิดาหรือญาติผู้เช่นกับบิดาไป ย่อมติดตาม
ไปในถิ่นที่เคยไปมีประตูเรือนระหว่างถนน ทางสี่แพร่งเป็นต้นเท่านั้น ย่อม
ไม่ติดตามผู้ไปสู่ป่า หรือสนามรบ ฉันใด แม้ตทารัมมณะนั้นก็ฉันนั้น เมื่อ
ติดตามกามาวจรธรรมทั้งหลายไป ก็ย่อมติดตามธรรมเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปในถิ่น
ที่คุ้นเคยมีธรรมที่มิใช่มหัคคตะเป็นต้นเท่านั้น หาใช่ติดตาม คือ ปรารภม-
หัคคตะและโลกุตรธรรมเหล่านั้นไปไม่ เพราะอารมณ์ที่เป็นปริยา (กาม)
โดยส่วนเดียว ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ
กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ธรรมที่สหรคตด้วยโสมนัส เหล่านี้เป็นปริตตา-
รมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น ตทารัมมณะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ติดตามแม้
กามาวจรธรรมที่มีมหัคคตะและโลกุตรธรรมเป็นอารมณ์ไป ฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง จะมิประโยชน์อะไรด้วยยุติกถา (กถาประกอบ) นี้
เพราะท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาโดยส่วนเดียวเท่านั้นว่า ตทา-
รัมมณจิต 11 ดวง ย่อมไม่รับตทารัมณในเมื่อชวนะปรารภนามและโคตรแล่น
ไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้เมื่อชวนะปรารภบัญญัติแล่นไป. ตทารัมมณ์ย่อมไม่
ได้ในวิปัสสนาที่มีอารมณ์ไตรลักษณ์. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในพลวิปัสสนาที่เป็น
วุฏฐานคามินี. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะที่ปรารภธรรมที่เป็นรูปและอรูป
แล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ใน
ธรรมที่เป็นสัมมัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภโลกุตรธรรม
แล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภอภิญญาญาณทั้งหลายแล่นไป.

ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภปฏิสัมภิทาญาณแล่นไป. ตทารมณ์ย่อม
ไม่ได้ในกามาพจรที่มีอารมณ์ทุรพล ย่อมได้ในอารมณ์ที่มีกำลังมาสู่คลองใน
ทวาร 6 เท่านั้น และตทารมณ์นั้น เมื่อได้ย่อมได้ในกามาพจรอย่างเดียว ขึ้น
ชื่อว่า ตทารมณ์ในรูปภพและอรูปภพนั่นแหละ ย่อมไม่มี ดังนี้.
อนึ่ง คำใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "บรรดาจิต 19 ดวงที่เหลือ จิต
อะไร ๆ ไม่เป็นไปด้วยปฏิสนธิสมควรแก่ตน" ดังนี้ คำนั้นใคร ๆ ก็เข้าใจได้
โดยยาก เพราะย่อเกินไป เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงนัยโดยพิสดารแห่งคำนั้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวเป็นคำถามว่า ปฏิสนธิมีเท่าไร ? ปฏิสนธิจิต มีเท่าไร ?
ปฏิสนธิ มีในภูมิไหนด้วยจิตอะไร ? อารมณ์ของปฏิสนธิ มีอย่างไร
ดังนี้.

ว่าด้วยปฏิสนธิ 20 ประเภท


ในปัญหากรรมนั้น วิสัชนาว่า ปฏิสนธิมี 20 ประเภท รวมทั้ง
อสัญญีปฏิสนธิ. ปฏิสนธิจิตมี 19 ดวง มีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. บรรดา
ปฏิสนธิจิตเหล่านั้น ปฏิสนธิในอุบายภูมิ ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ
ที่เป็นอกุศลวิบาก 1 ดวง ปฏิสนธิของสัตว์ผู้บอดแต่กำเนิด หนวกแต่กำเนิด
บ้าแต่กำเนิด ผู้ทั้งหนวกทั้งใบ้แต่กำเนิด และเป็นกะเทยเป็นต้น ในมนุษยโลก
(มนุษย์) ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก 1 ดวง ปฏิสนธิ
ของผู้มีบุญทั้งหลาย ในหมู่เทพชั้นกามาพจรและในพวกมนุษย์ ย่อมมีด้วย
สเหตุกมหาวิบาก 8 ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญโนโลกรูปพรหม ย่อมมีด้วยรูปาว-
จรวิบาก 5 ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญในอรูปโลก ย่อมมีด้วยอรูปาวจรวิบาก 4
ดวง. ก็ปฏิสนธิย่อมมีในภูมิใด ด้วยจิตใดปฏิสนธินั้นแหละ ชื่อว่า ปฏิสนธิ
สมควรแก่จิตดวงนั้น.