เมนู

ว่าด้วยนิเทสสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ เป็นต้น ในนิเทศแห่ง
บทว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ต่อไป.
จักขุวิญญาณ มี 2 อย่าง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก.
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็มีอย่างละ 2
เหมือนกัน (เรียกว่า ทวิปัญจวญญาณ 10). ส่วนมโนวิญญาณมี 22 อย่าง
คือ.
มโนธาตุที่เป็นกุศลและอกุศลวิบาก 2
อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 3
สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8
รูปาวจรจิต 5
อรูปาวจรจิต 4.
โลกิยวิญญาณแม้ทั้งหมดมี 32 ที่สงเคราะห์ (รวบรวมไว้) ด้วย
วิญญาณ 6 อย่างเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ส่วนโลกุตรวิญญาณทั้งหลายไม่
ควรในวัฏฏกถา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอา.
ในนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น หากมีคำถามว่า ก็ข้อนี้จะ
พึงรู้ได้อย่างไรว่า วิญญาณมีประการตามที่กล่าวมานี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็น
ปัจจัย.
ตอบว่า รู้ได้ เพราะเมื่อไม่มีกรรมที่สร้างไว้ วิบากก็ไม่มี.
จริงอยู่ วิญญาณนี้เป็นวิบาก และวิบากย่อมไม่เกิด เพราะไม่มีกรรม
ที่สร้างไว้ หากว่า จะพึงเกิดไซร้ วิบากทั้งหมดก็พึงเกิดแก่เหล่าสัตว์ทุกจำพวก

แต่ก็หาเกิดไม่ เพราะฉะนั้น ข้อนี้ก็จะพึงทราบได้ว่า "วิญญาณนี้ ย่อมมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้.
หากมีคำถามว่า วิญญาณไหน มีเพราะสังขารไหนเป็นปัจจัย
ตอบว่า กุศลวิบากจิต 16 ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้น
ที่เป็นกุศลวิบาก 5 ดวง มโนธาตุ ที่เป็นกุศลวิบาก 1 ดวง มโน-
วิญญาณธาตุ (กุศลวิบาก) 2 ดวง กามาวจรมหาวิบาก 8 ดวง
มีเพราะ
ปุญญาภิสังขารที่เป็นกามาพจรเป็นปัจจัยก่อน.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญาณอันเป็นวิบากจิตเกิดขึ้น
เพราะกามาพจรกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว*.
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน (รวม 5 ดวง).
มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก (สัมปฏิจฉันนจิต 1 ดวง) ก็เกิดขึ้น. มโนวิญญาณ-
ธาตุ
2 ดวง คือ ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส และสัมปยุตด้วยอุเบกขา ก็เกิดขึ้น
กามาวจรมหาวิบาก 8 คือ มโนวิญญาณธาตุ ที่สหรคตด้วยโสมนัส
สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นอสังขาร (ไม่มีการชักชวน) 1 ดวง ที่สหรคต
ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นสสังขาร 1 ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส
ที่เป็นญาณวิปปยุตโดยอสังขาร 1 ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส ที่เป็นญาณ-
วิปปยุต โดยสสังขาร 1 ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ โดย
อสังขาร 1 ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณโดยสสังขาร 1 ดวง
* อภิ. สํ เล่ม 34. 338/128

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยอสังขาร 1 ดวง ที่สหรคตด้วย
อุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต ที่เป็นสสังขาร 1 ดวงเกิดขึ้น.*
อนึ่ง รูปาวจรวิบาก 5 ดวง เกิดเพราะปุญญาภิสังขารที่เป็นรูปาวจร
เป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลนั้นแหละ สงัด
จากกามทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญญจฌานอันเป็น
วิบาก เพราะรูปาวจรกุศลอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว อยู่
2
ดังนี้.
วิญญาณมี 21 ดวง มีเพราะปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยด้วยประการ
ฉะนี้.
อนึ่ง วิญญาณ 7 ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นอกุศล-
วิบาก 5 ดวง มโนธาตุ
(สัมปฏิจฉันนจิต) 1 ดวง มโนวิญญาณธาตุ
1 ดวง
มีเพราะอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบากเกิดขึ้น
เพราะอกุศลกรรม ที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว.
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน
(รวม 5 ดวง) มโนธาตุวิบาก 1 ดวง มโนวิญญาณธาตุ (สันตีรณจิต) 13
ดังนี้.
วิญญาณ 4 ดวงอย่างนี้ คือ อรูปวิบาก 4 ดวง มีเพราะอาเนญชาภิ-
สังขารเป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โยคาวจรบุคคลก้าวล่วงรูปสัญญา
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานภูมิอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอากาสา-
1. อภิ. สํ เล่ม 34. 415/143 2. อภิ. สํ เล่ม 34. 417/144
3. อภิ. สํ. เล่ม 34. 472/173

นัญจายตนสัญญา ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา
ฯลฯ อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เพราะละสุขเสียได้ เพราะ
อรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละอันได้ทำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้ว* ดังนี้.

ว่าด้วยปวัตติวิญญาณ 2 อย่าง


วิญญาณโดย ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย บัณฑิตทราบวิญญาณนั้น
ตามที่พรรณนามาฉะนี้แล้ว บัดนี้พึงทราบปวัตติ (ความเป็นไป) ของวิญญาณ
นั้น ต่อไป.
จริงอยู่ วิญญาณทั้งหมดนี้แหละย่อมเป็นไป 2 อย่าง ด้วยอำนาจ
ปวัตติวิญญาณ และปฏิสนธิวิญญาณ ในวิญญาณทั้ง 2 นั้น ทวิปัญจวิญญาณ
(วิญญาณ 10 ดวง) มโนธาตุ 2 ดวง อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย
โสมนัส 1 ดวง รวมเป็น 13 ดวงเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจ-
โวการภพเท่านั้น วิญญาณที่เหลือ 19 ดวง ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ใน
ปฏิสนธิกาลบ้าง ตามควรในภพทั้ง 3. อย่างไร.

วิญญาณในปัญจโวการภพในปวัตติกาล 13 ดวง


วิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากก่อน สำหรับผู้เกิด
ด้วยกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ผู้มีอินทรีย์ที่เข้าถึงความแก่รอบตามลำดับ
ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา ที่มาสู่คลองแห่ง
จักขุทวารเป็นต้น อาศัยประสาทมีจักษุเป็นต้น จึงให้สำเร็จทัสสนกิจ (การเห็น)
*ภิ. สํ เล่ม 34. 419/145