เมนู

ก็ความที่อวิชชานั้นเป็นปัจจัยนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า จริง
อยู่ บุคคลใด ยังสะอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชา ในสัจจะ 4 มีทุกข์
เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นจะยึดถือสังสารทุกข์ โดยความไม่รู้ในทุกข์และใน
ขันธ์ที่เป็นส่วนอดีตเป็นต้น ด้วยความสำคัญว่าเป็นสุขก่อนแล้วย่อมปรารภสัง-
ขารแม้ 3 อย่าง (มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) ที่เป็นเหตุของทุกข์นั้น ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอีกอย่างหนึ่ง


อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบปริยายแม้อื่น ดังต่อไปนี้ว่า
บุคคลใด หลงใหลอยู่ในการตาย
และการเกิด (จุติและอุปบัติ) ในสังสาร
ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ในธรรมที่
อาศัยกันเกิดขึ้น บุคคลนั้น ย่อมปรุงแต่ง
สังขาร 3 เหล่านี้ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็น
ปัจจัยแต่สังขารแม้ทั้ง 3 เหล่านี้
ดังนี้.
อนึ่ง หากมีผู้กล่าวถามว่า ก็บุคคล ผู้หลงใหลในธรรมเหล่านั้น
ย่อมทำสังขารแม้ทั้ง 3 เหล่านี้ อย่างไร ?
ขอตอบว่า บุคคลผู้หลงใหลในการตาย (จุติ) ก่อน เมื่อเขา
ไม่ถือเอาซึ่งจุติว่า การแดกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มรณะ ในที่ทุกแห่ง
ดังนี้ ย่อมกำหนดว่า สัตว์ย่อมหลาย คือ การก้าวไปสู่กายอื่นของสัตว์เป็นต้น.
ผู้หลงใหลในการเกิด (อุปปาตะ) เมื่อไม่ถือการเกิดว่า ความปรากฏแห่ง
ขันธ์ทั้งหลาย ในที่ทั้งปวง ชื่อว่า ชาติ ย่อมกำหนดว่า สัตว์เกิด คือ ความ
ที่สัตว์ปรากฏมีสรีระใหม่เป็นต้น. ผู้หลงใหลในสังสาร เมื่อไม่ถือ ซึ่ง
สังสารที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฺฉินฺนา วตฺตมานา สํสาโร ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย และแห่ง
ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย
เรียกว่า สังสาร
ดังนี้
ย่อมกำหนดเหตุเป็นต้นว่า สัตว์นี้ย่อมไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้ ย่อมมาสู่
โลกนี้จากโลกอื่น ดังนี้. ผู้หลงใหลในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย
เมื่อไม่ถือเอาสภาวลักษณะ (ลักษณะแห่งความมีของคน) และสามัญลักษณะ
(ลักษณะที่เสมอกัน) ของสังขารทั้งหลาย ย่อมกำหนดสังขารทั้งหลาย โดย
ความเป็นตน โดยเป็นของเนื่องด้วยตน โดยความยั่งยืน โดยความงาม และ
โดยความสุข. ผู้หลงใหลในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่อไม่ถือเอาความ
เป็นไปแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น ย่อมกำหนดว่า
"อัตตาย่อมรู้บ้าง ย่อมไม่รู้บ้าง อัตตานั้นแหละย่อมกระทำ ย่อมยังผู้อื่นให้
กระทำ อัตตานั้นย่อมเกิดในปฏิสนธิ อณู และพระอิศวรเป็นต้นตั้งสรีระของ
อัตตานั้นไว้โดยความเป็นกลละเป็นต้น แล้วยังอินทรีย์ทั้งหลายให้บริบูรณ์
อัตตานั้นสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมถือเอา ย่อม
ยึดถือ ย่อมสืบต่อ อัตตานั้นจะมีในภพอื่นอีก" ดังนี้บ้าง ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ทั้งปวง เป็นผู้แปรเปลี่ยนไปเป็นของเที่ยง เป็นของเกี่ยวข้องกัน ดังนี้บ้าง
บุคคลนั้นอันอวิชชาทำให้บอดแล้ว เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ ย่อมปรุงแต่งอภิ-
สังขาร คือบุญบ้าง บาปบ้าง อาเนญชาบ้าง เหมือนคนตาบอด เมื่อเที่ยว
ไปบนแผ่นดิน ย่อมเดินสู่ทางบ้าง นอกทางบ้าง ที่ดอนบ้าง ที่ลุ่มบ้าง

ที่เสมอบ้าง ที่ไม่เสมอบ้าง" ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวคาถานี้
ไว้ว่า
ยถาปี นาม ชจฺจนฺโธ นโร อปรินายโก
เอกธา ยาติ มคฺเคน อุมฺมคฺเคนาปิ เอกธา

ธรรมดา คนบอดแต่กำเนิด ไม่มี
ผู้นำไป ในกาลบางครั้งย่อมไปตามทาง ใน
กาลบางครั้ง ย่อมเดินไปนอกทาง แม้ฉันใด
สํสาเร สํสรํ พาโล ตถา อปรินายโก
กโรติ เอกธา ปุญฺณํ อปุญฺญํปิ เอกธา

คนพาล ก็ฉันนั้น เมื่อท่องเที่ยวไป
ในสังสาร ไม่มีผู้แนะนำ ในกาลบางคราว
ย่อมทำบุญ บางคราวก็ย่อมทำบาป.
ยทา ญตฺวา จ โส ธมฺมํ สจฺจานิ อภิสเมสฺสติ
ตทา อวิชฺชูปสมา อุปสนฺโต จริสฺสติ

อนึ่ง เมื่อใดคนพาลนั้นรู้ธรรมแล้ว
จักตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เมื่อนั้นเขาจักเข้าไป
สงบ เพราะอวิชชาสงบแล้ว เที่ยวไป ดังนี้.
นี้ เป็นกถาพิสดารในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา แล.
นิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทสสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ เป็นต้น ในนิเทศแห่ง
บทว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ต่อไป.
จักขุวิญญาณ มี 2 อย่าง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก.
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็มีอย่างละ 2
เหมือนกัน (เรียกว่า ทวิปัญจวญญาณ 10). ส่วนมโนวิญญาณมี 22 อย่าง
คือ.
มโนธาตุที่เป็นกุศลและอกุศลวิบาก 2
อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 3
สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8
รูปาวจรจิต 5
อรูปาวจรจิต 4.
โลกิยวิญญาณแม้ทั้งหมดมี 32 ที่สงเคราะห์ (รวบรวมไว้) ด้วย
วิญญาณ 6 อย่างเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ส่วนโลกุตรวิญญาณทั้งหลายไม่
ควรในวัฏฏกถา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอา.
ในนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น หากมีคำถามว่า ก็ข้อนี้จะ
พึงรู้ได้อย่างไรว่า วิญญาณมีประการตามที่กล่าวมานี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็น
ปัจจัย.
ตอบว่า รู้ได้ เพราะเมื่อไม่มีกรรมที่สร้างไว้ วิบากก็ไม่มี.
จริงอยู่ วิญญาณนี้เป็นวิบาก และวิบากย่อมไม่เกิด เพราะไม่มีกรรม
ที่สร้างไว้ หากว่า จะพึงเกิดไซร้ วิบากทั้งหมดก็พึงเกิดแก่เหล่าสัตว์ทุกจำพวก