เมนู

นั่นแหละสังขารจึงมี มิใช่เพราะความไม่มี ฉะนั้น ข้อนี้จึงทราบได้ว่า สังขาร
เหล่านี้ย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
ด้วยประการฉะนี้ แม้คำนี้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเขลาตกอยู่ในอวิชชา
แล้ว เพราะความไม้รู้ ย่อมปรุงแต่งปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่ง
อุปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่งอาเนญชาภิสังขารบ้าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแลภิกษุละอวิชชาเสียแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
เพราะการสำรอกอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา ภิกษุนั้นย่อม
ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร
ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไร


ถามว่า ในอธิการนี้ หากมีผู้กล่าวว่า พวกเรายอมรับว่า อวิชชา
เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย
นี้ไว้ก่อน แต่คำที่ท่านกล่าวว่า อวิชชาเป็น
ปัจจัยอย่างไรแก่สังขารเหล่าไหนเล่า ?
ในปัญหากรรมนี้ ท่านย่อมกล่าวคำนี้ว่า
ปจฺจโย โหติ ปุญฺญานํ ทุวิธาเนกธา ปน
ปเรสํ ปจฺฉิมานํ สา เอกธา ปจฺจโย มตา

อวิชชานั้นเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสัง-
ขาร 2 อย่าง เป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขาร
ซึ่งมีข้างหน้าหลายอย่าง เป็นปัจจัยแก่
อาเนญชาภิสังขารสุดท้ายอย่างเดียว
ดังนี้.
ในการกล่าวแก้ปัญหานั้น ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิ-
สังขาร 2 อย่าง
ได้แก่ เป็นปัจจัย 2 อย่าง คือ ด้วยอารัมมณปัจจัย

และอุปนิสสยปัจจัย จริงอยู่ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารที่เป็น
กามาพจร ในการพิจารณาสังขารโดยความสิ้นไปเสื่อมไป และเป็นปัจจัยแก่
ปุญญาภิสังขารที่เป็นรูปาวจรในกาลรู้จิตมีโมหะด้วยอภิญญาจิต ด้วยอารัมมณ
ปัจจัย.
อนึ่ง เมื่อบุคคลบำเพ็ญซึ่งบุญกิริยาวัตถุที่เป็นกามาพจร มีการให้ทาน
เป็นต้น และเมื่อบุคคลยังรูปาวจรฌานทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่เพื่อก้าวล่วงอวิชชา
ก็เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารเหล่านั้น แม้ทั้งสองด้วยอุปนิสสยปัจจัย และ
เมื่อบุคคลปรารถนาสมบัติในกามภพและรูปภพ กระทำซึ่งบุญเหล่านั้นแหละ
ก็ย่อมเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัยเหมือน เพราะความหลงใหลด้วยอวิชชา.
อนึ่ง ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อปุญญาภสังขารซึ่งมีข้างหน้า
หลายอย่าง
ได้แก่ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขารหลายอย่าง อย่างไร ?
คือ อวิชชานี้ปรารภอวิชชา ในกาลเกิดกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยด้วย
อารัมมปัจจัย ในเวลาที่ยินดีการทำให้หนักก็เป็นปัจจัย ด้วยอารัมมณา-
ธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย.
เมื่อบุคคลหลงใหลด้วยอวิชชา
ไม่เห็นโทษกระทำอยู่ซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัย
เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่ 2 เป็นต้น ด้วยอนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ
อาเสวนะ นัตถิ
และวิคตปัจจัย. เมื่อทำอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็น
ปัจจัยหลายอย่าง คือ ด้วยเหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ
อัตถิ และอวิคตปัจจัย.
ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขารสุดท้ายอย่างเดียว
ความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขาร ด้วยอุปนิสสยปัจจัย อย่าง

เดียวเท่านั้น ก็ความที่อวิชชาเป็นอุปนิสสยปัจจัยนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ในปุญญาภิสังขารนั่นแหละ.
ก็ในที่นี้มีผู้สงสัยกล่าว ถามว่า อวิชชาอย่างเดียวเท่านั้นเป็นปัจจัย
แก่สังขารทั้งหลาย หรือว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นเป็นปัจจัยก็มีอยู่. พึงเฉลยว่า ใน
ข้อนี้จะมีคำกล่าวอะไรเล่า ? ถ้ามีอวิชชาอย่างเดียวเท่านั้น ลัทธิว่าเหตุสำหรับ
กระทำมีอย่างเดียวก็จะปรากฏ ถ้าธรรมแม้อื่นเป็นปัจจัยมีอยู่ การอธิบายถึง
เหตุอย่างเดียวว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้
ก็ไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุไร ? เพราะว่า
เอกํ น เอกโต อิธ นาเนกมเนกโตปี โน เอกํ
ผลมตฺถิ อตฺถิ ปน เอก เหตุผลทีปเน อตฺโถ

ในโลกนี้ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเพราะ
เหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลหลายอย่าง ย่อมมี
เพราะเหตุอย่างเดียวก็ทาไม่ ผลอย่างเดียว
ย่อมมีเพราะเหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ว่า
ประโยชน์ในการแสดงเหตุ และ แต่ละ-
อย่างมีอยู่.
อธิบายว่า โนโลกนี้ ผลอย่างเดียวย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่
ผลหลายอย่างย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลอย่างเดียวย่อมมี แม้เพราะ
เหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ว่า ผลมากอย่างเท่านั้น ย่อมมีเพราะเหตุมากอย่าง
จริงอย่างนั้น ผล (พืชพันธุ์ไม้) กล่าวคือหนอมีรูป (สี) กลิ่นรสเป็นต้น
ซึ่งเกิดขึ้นมิใช่น้อยเลย ย่อมปรากฏได้ เพราะเหตุทั้งหลายเป็นอเนก คือ อุตุ

แผ่นดิน พืชและน้ำ. ก็แต่ว่า การแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างอันใดนี้ว่า
อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา สํขารปจฺจยา วิญฺญาณํ (สังขารทั้งหลายเกิด
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ที่ทรงทำไว้แล้ว
ความต้องการคือประโยชน์ในการอธิบายเหตุผลแต่ละอย่างเหล่านั้น มีอยู่.
เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงเหตุหรือผลอย่างเดียวเท่านั้น โดย
สมควรแก่เทศนาวิลาส (ความไพเราะแห่งเทศนา) และแก่เหล่าเวไนยสัตว์
เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลเป็นประธาน เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผล
ปรากฏแล้ว เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลเป็นอสาธารณะ.
จริงอยู่ ในข้อว่า ผสฺสปจิจยา เวทนา (เวทนาย่อมเกิด เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย) นี้ พระองค์ตรัสเหตุและผลอย่างเดียวเท่านั้น. เพราะ
ผัสสะเป็นปธานเหตุ (เหตุอันเป็นประธาน) ของเวทนา เพราะทรงกำหนด
เวทนาตามผัสสะ และเวทนาก็เป็นปธานผล (ผลที่เป็นประธาน) ของผัสสะ
เพราะทรงกำหนดผัสสะตามเวทนา.
ในข้อว่า เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา (อาพาธทั้งหลายย่อมเกิด
เพราะเสมหะเป็นสมุฏฐาน) นี้ พระองค์ตรัสเหตุอย่างเดียว เพราะเป็นของ
ปรากฏ (ชัดเจน) แล้ว ก็ในอธิการนี้เสมหะปรากฏ มิใช่กรรมเป็นต้นปรากฏ.
ในข้อว่า เยเกจิ ภิกฺขเว อกุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต
อโยนิโสมนสิการ มูลกา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่า-
หนึ่ง มีอยู่ อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีอโยนิโสมนสิการเป็นมูล) ดังนี้
ตรัสเหตุอย่างเดียว เพราะเป็นเหตุไม่ทั่วไป. จริงอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายมี
อโยนิโสมนสิการเป็นอสาธารณเหตุ แต่มีวัตถุและอารมณ์เป็นต้น เป็นสาธารณ-
เหตุ ฉะนี้แล.

เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ อวิชชานี้ เมื่อธรรมอื่น ๆ มีวัตถุ อารมณ์
และสหชาตธรรมเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขารแม้มีอยู่ บัณฑิตก็พึงทราบว่า
พระองค์ทรงแสดงโยความเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะคำว่า เหตุ ดังนี้
เป็นประธานแห่งเหตุของสังขารแม้เหล่าอื่นมีตัณหาเป็นต้น โดยพระบาลีว่า
เมื่อบุคคลมีปรกติตามเห็นความชอบใจเนือง ๆ ตัณหาย่อมเจริญและพระบาลีว่า
อาสวสมุทัยย่อมเกิดเพราะ.วิชชาสมุทัย ดังนี้ และเพราะความเป็นเหตุปรากฏ
และเป็นอสาธารณเหตุ โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความ
ไม่รู้ คนเขลาผู้ตกอยู่ในอวิชชาย่อมปรุงแต่งซึ่งปุญญาภิสังขารบ้างเป็นต้น. ก็
ด้วยคำเฉลยการแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างนี้นั้นแหละ พึงทราบประโยชน์ใน
การแสดงเหตุและผลในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้แล.
ในข้อนี้ หากมีผู้กล่าวถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาเป็นธรรม
มีโทษมีผล ไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียวย่อมควรซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ปุญญา-
ภิสังขารและอาเนญชาภิสังขารได้อย่างไร เพราะอ้อยย่อมไม่เกิดแต่พืชสะเดา
ตอบว่า อวิชชานั้น จักไม่ควรซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร และ
อาเนญชาภิสังขารได้อย่างไร เพราะในโลกนี้
ธรรมทั้งหลายที่สำเร็จเป็นปัจจัยแล้ว
ผิดฐานะกันก็มี เหมือนกันก็มี อนึ่ง เป็นเช่น
เดียวกันและไม่เป็นเช่นเดียวกันก็มี ธรรม
เหล่านั้นหาใช่วิบากอย่างเดียวไม่.

อธิบายว่า ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สำเร็จแล้วในโลก เป็นธรรมที่
ผิดแผกกันโดยฐานะ โดยสภาวะ และโดยกิจ (หน้าที่) เป็นต้นก็มี ที่ไม่

ผิดกันก็มี จริงอยู่ จิตดวงแรกเป็นปัจจัยที่ผิดฐานของจิตดวงหลัง และ
การศึกษาศิลป์ครั้งแรกเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ผิดฐานแก่การทำศิลป์เป็นต้นที่
กำลังเป็นไปในภายหลัง. กรรมเป็นปัจจัยที่ผิดสภาวะของรูป นมสดเป็นต้น
เป็นปัจจัยที่ผิดสภาวะ ของนมส้มเป็นต้น. แสงสว่างเป็นปัจจัยที่ผิดกิจ
ของจักขุวิญญาณและงบน้ำอ้อยเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ผิดกิจของเครื่องหมักดอง
เป็นต้น.
ส่วนจักขุและรูปเป็นต้น เป็นปัจจัยไม่ผิดฐานะของจักขุวิญญาณ
เป็นต้น ชวนะดวงแรกเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ไม่ผิดสภาวะและไม่ผิดกิจ
ของชวนะดวงหลังเป็นต้น. อนึ่ง ปัจจัยที่สำเร็จแล้วผิดฐานกันและไม่ผิดฐานกัน
มีอยู่ฉันใด แม้ปัจจัยที่สำเร็จแล้วที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกันก็มีอยู่ฉันนั้น.
จริงอยู่ รูปกล่าวคือ อุตุและอาหารเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละเป็นปัจจัยแก่รูป.
พืชข้าวสาลีเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ผล แห่งข้าวสาลีเป็นต้น. แม้สิ่งที่ไม่เหมือนกัน
คือ รูปเป็นปัจจัยแก่รูป อรูปเป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้. และขนโค ขนแกะ
เขาสัตว์ นมส้ม งา และแป้งเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่หญ้าแพรกและตะไคร้
น้ำเป็นต้น อนึ่ง ธรรมเหล่าใดที่มีปัจจัยที่ผิดกันและไม่ผิดกัน ที่เหมือนกัน
และไม่เหมือนกัน ธรรมเหล่านั้นมิใช่วิบากแห่งธรรมเหล่านั้น. อวิชชานี้แม้
เป็นธรรมมีโทษ ด้วยอำนาจแห่งการให้ผล (วิบาก) และด้วยอำนาจสภาวะที่มี
ผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ก็พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร
เป็นต้นเหล่านี้แม้ทั้งหมดตามควร ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ผิดกัน และไม่ผิดกัน
โดยฐานะ โดยกิจ โดยสภาวะ และด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหมือนกันและ
ไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.

ก็ความที่อวิชชานั้นเป็นปัจจัยนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า จริง
อยู่ บุคคลใด ยังสะอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชา ในสัจจะ 4 มีทุกข์
เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นจะยึดถือสังสารทุกข์ โดยความไม่รู้ในทุกข์และใน
ขันธ์ที่เป็นส่วนอดีตเป็นต้น ด้วยความสำคัญว่าเป็นสุขก่อนแล้วย่อมปรารภสัง-
ขารแม้ 3 อย่าง (มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) ที่เป็นเหตุของทุกข์นั้น ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอีกอย่างหนึ่ง


อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบปริยายแม้อื่น ดังต่อไปนี้ว่า
บุคคลใด หลงใหลอยู่ในการตาย
และการเกิด (จุติและอุปบัติ) ในสังสาร
ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ในธรรมที่
อาศัยกันเกิดขึ้น บุคคลนั้น ย่อมปรุงแต่ง
สังขาร 3 เหล่านี้ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็น
ปัจจัยแต่สังขารแม้ทั้ง 3 เหล่านี้
ดังนี้.
อนึ่ง หากมีผู้กล่าวถามว่า ก็บุคคล ผู้หลงใหลในธรรมเหล่านั้น
ย่อมทำสังขารแม้ทั้ง 3 เหล่านี้ อย่างไร ?
ขอตอบว่า บุคคลผู้หลงใหลในการตาย (จุติ) ก่อน เมื่อเขา
ไม่ถือเอาซึ่งจุติว่า การแดกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มรณะ ในที่ทุกแห่ง
ดังนี้ ย่อมกำหนดว่า สัตว์ย่อมหลาย คือ การก้าวไปสู่กายอื่นของสัตว์เป็นต้น.
ผู้หลงใหลในการเกิด (อุปปาตะ) เมื่อไม่ถือการเกิดว่า ความปรากฏแห่ง
ขันธ์ทั้งหลาย ในที่ทั้งปวง ชื่อว่า ชาติ ย่อมกำหนดว่า สัตว์เกิด คือ ความ
ที่สัตว์ปรากฏมีสรีระใหม่เป็นต้น. ผู้หลงใหลในสังสาร เมื่อไม่ถือ ซึ่ง
สังสารที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า