เมนู

แม้อปุญญาภิสังขาร พึงเป็นกายสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจ
กายทุจริตนั่นแหละก็มี พึงเป็นวจีสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจวีทุจริตก็มี
พึงเป็นจิตตสังขารในเวลาเป็นไปในมโนทวารยกเว้นทวาร 2 ก็มี ดังนั้น
อปุญญาภิสังขารจึงเป็นกายสังขารบ้าง เป็นวจีสังขารบ้าง เป็นจิตตสังขารบ้าง.
ก็กายสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็น
อาเนญชาภิสังขาร. วจีสังขารก็เหมือนกัน (คือเป็นปุญญาภิสังขารก็มี
อปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร) แต่จิตตสังขาร พึงเป็น
ปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอาเนญชาภิสังขารก็มี เพราะ
ฉะนั้น ชื่อว่า สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

ว่าด้วยสังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร


ถามว่า

ก็ข้อนี้ จะพึงทราบได้อย่างไรว่า สังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. ตอบว่า รู้ได้เพราะความที่อวิชชามีสังขารจึงมี
จริงอยู่ บุคคลใดยังละอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชาในสัจจะ 4 มี
ทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นก็ยึดถือสังสารทุกข์ โดยความสำคัญว่าเป็นสุข
ด้วยความไม่รู้ธรรมมีขันธ์เป็นอดีตเป็นต้นก่อน แล้วย่อมปรารภสังขารแม้ทั้ง 3
(มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) อันเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้น. ด้วยความไม่รู้ใน
ทุกขสมุทัย เมื่อเขาสำคัญก็ย่อมปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริวารของตัณหา
แม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ โดยความเป็นเหตุแห่งสุข. อนึ่ง เพราะความที่ไม่รู้ใน
นิโรธและมรรค บุคคลจึงมีความสำคัญในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ใน
คติพิเศษแม้มิใช่ความดับทุกข์ และมีความสำคัญในพิธีกรรมทั้งหลายมีการ

บูชายัญ และบำเพ็ญตบะเพื่อให้เป็นเทวดาเป็นต้นแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์
ว่าเป็นทางดับทุกข์ เมื่อปรารถนาทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ก็ย่อมปรารภ
สังขารแม้ 3 อย่าง โดยมุ่งหน้าพิธีกรรมมีการบูชายัญ และทำตบะเพื่อความ
เป็นเทวดาเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น ยังไม่ได้ละอวิชชาในสัจจะ 4 นั้น จึง
ไม่รู้อยู่ซึ่งทุกข์กล่าวคือผลแห่งบุญแม้ระคนด้วยโทษเป็นอเนกมีชาติ ชรา และ
มรณะเป็นต้น โดยความเป็นทุกข์พิเศษ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันต่าง
ด้วยกายสังขารและวจีสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น เหมือนผู้ต้องการนางฟ้า
(เทพอัปสร) ปรารถนาเกิดเป็นเทพบุตรฉะนั้น และเมื่อบุคคลนั้นแม้ไม่เห็น
ผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นสุขซึ่งถึงความเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนอันยังความ
เร่าร้อนใหญ่ให้เกิดขึ้นในบั้นปลาย และความที่ผลบุญนั้นมีความสำราญน้อย
ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ซึ่งมีผลบุญนั้น
เป็นปัจจัย เหมือนตั๊กแตนบ่ายหน้าตกลงสู่เปลวประทีป และเหมือนบุคคลผู้
ติดใจในหยดน้ำผึ้งถึงกับเลียคมศัสตราที่เปื้อนน้ำผึ้งฉะนั้น.
อนึ่ง เมื่อไม่เห็นโทษในธรรมที่มีวิบากมีการเสพกามเป็นต้น ย่อม
ปรารภอปุญญาภิสังขาร แม้เป็นไปด้วยทวาร 3 เพราะสำคัญว่าเป็นสุข
และเพราะความเป็นผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ดุจทารกเล่นอยู่ซึ่งคูถอันปฏิกูล
ดุจผู้ต้องการตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น และเมื่อไม่หยั่งรู้ความทุกข์อันมีความ
แปรปรวนแห่งสังสาร แม้ในวิมากของความเป็นอรูป ก็ย่อมปรารภ อาเน-
ญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารโดยวิปลาสมีความเที่ยงเป็นต้น ดุจคน
หลงทิศ เริ่มเดินทางมุ่งหน้าไปสู่นครปิศาจฉะนั้น. เพราะความที่อวิชชามีอยู่.

นั่นแหละสังขารจึงมี มิใช่เพราะความไม่มี ฉะนั้น ข้อนี้จึงทราบได้ว่า สังขาร
เหล่านี้ย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
ด้วยประการฉะนี้ แม้คำนี้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเขลาตกอยู่ในอวิชชา
แล้ว เพราะความไม้รู้ ย่อมปรุงแต่งปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่ง
อุปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่งอาเนญชาภิสังขารบ้าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแลภิกษุละอวิชชาเสียแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
เพราะการสำรอกอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา ภิกษุนั้นย่อม
ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร
ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไร


ถามว่า ในอธิการนี้ หากมีผู้กล่าวว่า พวกเรายอมรับว่า อวิชชา
เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย
นี้ไว้ก่อน แต่คำที่ท่านกล่าวว่า อวิชชาเป็น
ปัจจัยอย่างไรแก่สังขารเหล่าไหนเล่า ?
ในปัญหากรรมนี้ ท่านย่อมกล่าวคำนี้ว่า
ปจฺจโย โหติ ปุญฺญานํ ทุวิธาเนกธา ปน
ปเรสํ ปจฺฉิมานํ สา เอกธา ปจฺจโย มตา

อวิชชานั้นเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสัง-
ขาร 2 อย่าง เป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขาร
ซึ่งมีข้างหน้าหลายอย่าง เป็นปัจจัยแก่
อาเนญชาภิสังขารสุดท้ายอย่างเดียว
ดังนี้.
ในการกล่าวแก้ปัญหานั้น ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิ-
สังขาร 2 อย่าง
ได้แก่ เป็นปัจจัย 2 อย่าง คือ ด้วยอารัมมณปัจจัย