เมนู

คำว่า วจีสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา 20 ดวงนั้นนั่นเองเป็นไป
ทางวจีทวารยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้น แม้จะกล่าวว่า เจตนา 20 ดวงที่เกิดขึ้น
ให้คงหวั่นไหวถึงเปล่งวาจา ในวจีทวารดังนี้ก็ควร. แต่ในอธิการนี้ อภิญญา-
เจตา ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณข้างหน้า เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอา
แม้อุทธัจจเจตนาก็ไม่เป็นปัจจัยเหมือนอภิญญาเจตนา เพราะฉะนั้น แม้อุทธัจจ-
เจตนานั้น ก็พึงนำออกจากความเป็นปัจจัยของวิญญาณ ก็เจตนาแม้ทั้งหมด
เหล่านั้น ย่อมที่เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.
คำว่า มโนสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา 29 ดวงแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ในมโนทวาร ไม่ยังวิญญัตติแม้ทั้ง 2 ให้ตั้งขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารแห่งกรรมที่สัตว์พยายามไว้ว่า สัตว์
ทั้งหลายในจักรวาลซึ่งนับประมาณมิได้ เมื่อประกอบกุศลและ
อกุศลกรรม ย่อมประกอบด้วยทวาร 3 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


ว่าด้วยสัมปโยคะแห่งอภิสังขาร


อนึ่ง พึงทราบสัมปโยคะ (การประกอบพร้อมกัน) แห่งหมวด 3
ทั้ง 2 เหล่านั้น ต่อไป. สัมปโยคะกันอย่างไร ? คือ ปุญญาภิสังขาร
พึงเป็นกายสังขารแก่บุคคลผู้งดเว้นจากกายทุจริตก็มี พึงเป็นวจีสังขารแก่บุคคล
ผู้งดเว้นจากวจีทุจริตก็มี ดังนั้น กุศลเจตนา 8 ดวง จึงเป็นกามาพจร
เป็นปุญญาภิสังขาร เป็นกายสังขาร และวจีสังขาร. ส่วนเจตนา 13 ดวง
ที่เกิดในมโนทวารเป็นปุญญาภิสังขาร และจิตตสังขาร.

แม้อปุญญาภิสังขาร พึงเป็นกายสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจ
กายทุจริตนั่นแหละก็มี พึงเป็นวจีสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจวีทุจริตก็มี
พึงเป็นจิตตสังขารในเวลาเป็นไปในมโนทวารยกเว้นทวาร 2 ก็มี ดังนั้น
อปุญญาภิสังขารจึงเป็นกายสังขารบ้าง เป็นวจีสังขารบ้าง เป็นจิตตสังขารบ้าง.
ก็กายสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็น
อาเนญชาภิสังขาร. วจีสังขารก็เหมือนกัน (คือเป็นปุญญาภิสังขารก็มี
อปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร) แต่จิตตสังขาร พึงเป็น
ปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอาเนญชาภิสังขารก็มี เพราะ
ฉะนั้น ชื่อว่า สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

ว่าด้วยสังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร


ถามว่า

ก็ข้อนี้ จะพึงทราบได้อย่างไรว่า สังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. ตอบว่า รู้ได้เพราะความที่อวิชชามีสังขารจึงมี
จริงอยู่ บุคคลใดยังละอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชาในสัจจะ 4 มี
ทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นก็ยึดถือสังสารทุกข์ โดยความสำคัญว่าเป็นสุข
ด้วยความไม่รู้ธรรมมีขันธ์เป็นอดีตเป็นต้นก่อน แล้วย่อมปรารภสังขารแม้ทั้ง 3
(มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) อันเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้น. ด้วยความไม่รู้ใน
ทุกขสมุทัย เมื่อเขาสำคัญก็ย่อมปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริวารของตัณหา
แม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ โดยความเป็นเหตุแห่งสุข. อนึ่ง เพราะความที่ไม่รู้ใน
นิโรธและมรรค บุคคลจึงมีความสำคัญในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ใน
คติพิเศษแม้มิใช่ความดับทุกข์ และมีความสำคัญในพิธีกรรมทั้งหลายมีการ