เมนู

คำว่า วจีสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา 20 ดวงนั้นนั่นเองเป็นไป
ทางวจีทวารยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้น แม้จะกล่าวว่า เจตนา 20 ดวงที่เกิดขึ้น
ให้คงหวั่นไหวถึงเปล่งวาจา ในวจีทวารดังนี้ก็ควร. แต่ในอธิการนี้ อภิญญา-
เจตา ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณข้างหน้า เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอา
แม้อุทธัจจเจตนาก็ไม่เป็นปัจจัยเหมือนอภิญญาเจตนา เพราะฉะนั้น แม้อุทธัจจ-
เจตนานั้น ก็พึงนำออกจากความเป็นปัจจัยของวิญญาณ ก็เจตนาแม้ทั้งหมด
เหล่านั้น ย่อมที่เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.
คำว่า มโนสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา 29 ดวงแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ในมโนทวาร ไม่ยังวิญญัตติแม้ทั้ง 2 ให้ตั้งขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารแห่งกรรมที่สัตว์พยายามไว้ว่า สัตว์
ทั้งหลายในจักรวาลซึ่งนับประมาณมิได้ เมื่อประกอบกุศลและ
อกุศลกรรม ย่อมประกอบด้วยทวาร 3 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


ว่าด้วยสัมปโยคะแห่งอภิสังขาร


อนึ่ง พึงทราบสัมปโยคะ (การประกอบพร้อมกัน) แห่งหมวด 3
ทั้ง 2 เหล่านั้น ต่อไป. สัมปโยคะกันอย่างไร ? คือ ปุญญาภิสังขาร
พึงเป็นกายสังขารแก่บุคคลผู้งดเว้นจากกายทุจริตก็มี พึงเป็นวจีสังขารแก่บุคคล
ผู้งดเว้นจากวจีทุจริตก็มี ดังนั้น กุศลเจตนา 8 ดวง จึงเป็นกามาพจร
เป็นปุญญาภิสังขาร เป็นกายสังขาร และวจีสังขาร. ส่วนเจตนา 13 ดวง
ที่เกิดในมโนทวารเป็นปุญญาภิสังขาร และจิตตสังขาร.