เมนู

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสังขารเหล่านั้นโดยชนิดต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
คติถ กตโม ปุญฺญาภิสํขาโร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน ?
ในพระบาลีนั้น แม้เจตนาที่เป็นไปในภูมิ 4 ตรัสโดยไม่กำหนด
ไว้ว่า เจตนาที่เป็นกุศล แต่เพราะทรงกำหนดว่า กามาวจร รูปาวจร
ดังนี้ เจตนา 13 ดวง คือ กามาวจรกุศลเจตนา 8 ดวง และรูปาวจรกุศล-
เจตนา 5 ดวง ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. ด้วยบททั้งหลายว่า ทานมยา
(ทานมัย) เป็นต้น ทรงแสดงความเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุแห่ง
เจตนาเหล่านั้นนั่นเอง.
ในพระบาลีนั้น เจตนา 8 ดวงเป็นกามาพจรย่อมสำเร็จด้วยทานและ
ศีลเท่านั้น แต่เจตนาแม้ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา เปรียบเหมือนบุคคล
สาธยายธรรมคล่องแคล่ว ย่อมไม่รู้ซึ่งธรรมที่เป็นไปแม้สนธิหนึ่ง แม้สนธิ
สอง เมื่อนึกถึงจึงรู้ในภายหลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรกระทำกสิณบริกรรม
พิจารณาฌานที่เกิดคล่องแคล่ว และเมื่อมนสิการกรรมฐานที่ชำนาญก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เจตนาแม้ปราศจากญาณ ก็ย่อมสำเร็จเป็นภาวนา ด้วยเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนาแม้ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.
ในเทศนานั้น เทศนานี้เป็นเทศนาโดยย่อในบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น
ว่า เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น
ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน
เจตนา ความตั้งใจ ความคิด ปรารภศีล ฯลฯ ปรารภภาวนาทำภาวนาให้
เป็นใหญ่อันใด นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

ส่วนกถานี้เป็นกถาโดยพิสดารว่า บรรดาปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น หรือ
บรรดาอารมณ์ 6 มีรูปารมณ์เป็นต้น หรือทานวัตถุ 10 มีการให้ข้าวเป็นต้น
เจตนาของบุคุคลผู้ให้วัตถุนั้น ๆ ที่เป็นไปในกาลทั้ง 3 คือ ในบุรพภาค (ส่วน
เบื้องต้น ) จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งของนั้น ๆ 1 ในเวลาบริจาค 2 ในการ
ระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในภายหลัง 1 ชื่อว่า ทานมัย. ส่วนเจตนาที่เป็นไป
แก่บุคคลผู้ไปสู่วิหารผู้ตั้งใจว่า เราจักบวชเพื่อบำเพ็ญศีล ดังนี้ บวชแล้วยัง
มโนรถให้ถึงที่สุดแล้ว รำพึงอยู่ว่า เราบวชแล้วเป็นการดีหนอ ๆ ดังนี้
สำรวมพระปาฏิโมกข์ พิจารณาอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ระวังอยู่ซึ่ง
จักขุทวารเป็นต้นในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลอง และชำระอาชีวะให้หมด
จดอยู่ ชื่อว่า ศีลมัย. เจตนาที่เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้เจริญอยู่ซึ่งจักษุ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญรูปทั้งหลาย ฯลฯ
เจริญธรรมทั้งหลาย เจริญจักขุวิญญาณ ฯลฯ เจริญมโนวิญญาณ เจริญจักขุ
สัมผัส ฯลฯ เจริญมโนสัมผัส เจริญจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญมโน
สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญรูปสัญญา ฯลฯ เจริญชรามรณะ โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยทางแห่งวิปัสสนาที่กล่าวไว้ในปฏิสัม-
ภิทามรรค ชื่อว่า ภาวนามัย ดังนี้.

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขาร


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอปุญญาภิสังขาร ต่อไป
บทว่า อกุสลา เจตนา (อกุศลเจตนา) ได้แก่ เจตนาสัมปยุต
ด้วยอกุศลจิต 12 ดวง. บทว่า กามาวจรา (เป็นกามาพจร) ความว่า