เมนู

ว่าด้วยมติของอาจารย์


บรรดาเวทนาหยาบและละเอียดเหล่านั้น อาจารย์รูปหนึ่งไม่ฉลาดใน
กุศลติกะ ไม่ฉลาดในเวทนาติกะ อาจารย์นั้นประสงค์จะรักษากุศลติกะย่อมทำ
ลายเวทนาติกะ ประสงค์จะรักษาเวทนาติกะย่อมทำลายกุศลติกะ. อาจารย์รูป
หนึ่งประสงค์จะรักษาติกะย่อมทำลายธรรมภูมิอื่น. อาจารย์รูปหนึ่งย่อมไม่ทำลาย
อย่างไร ? ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเวทนาติกะว่า สุขเวทนา และทุกข
เวทนา เป็นเวทนาหยาบ อทุกขมมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียดดังนี้ พระดำรัส
นั้น อาจารย์รูปหนึ่งย่อมคัดค้านว่า อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมดมิใช่เวทนาละเอียด
เพราะอทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
บรรดาอทุกขมสุขเวทนา 3 ชนิดนั้น เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนา
หยาบ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร ? เพราะความ
ที่เวทนานั้นมาในพระบาลีหมวดกุศลติกะ ด้วยอาการอย่างนี้ อาจารย์นั้น ชื่อ
ว่า รักษากุศลติกะ แต่ทำลายเวทนาติกะ.
แม้พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในกุศลติกะว่า กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา
ชื่อว่า เวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาชื่อว่า เวทนาละเอียด ดังนี้ พระดำรัส
นั้น อาจารย์รูปหนึ่งก็คัดค้านว่า อัพยากตเวทนาทั้งหมดไม่ใช่เวทนาละเอียด
เพราะอัพยากตเวทนานั้นเป็นสุขก็มี เป็นทุกข์ก็มี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็มี.
บรรดาอัพยากตเวทนา 3 ชนิดนั้น อัพยากตเวทนาที่เป็นสุขและเป็นทุกข์เป็น
เวทนาหยาบ อัพยากตที่เป็นอทุกขมสุขเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร ?
เพราะความที่อัพยากตเวทนานั้นมาในพระบาลีในเวทนาติกะ ด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาติกะเป็นอันอาจารย์นั้นรักษาแล้ว แต่ทำลายกุศลติกะ.
ก็อาจารย์ผู้ไม่เหลียวแลดูเวทนาติกะในที่แห่งกุศลติกะมาแล้ว ไม่แลดู
กุศลติกะในที่แห่งเวทนาติกะมาแล้ว กล่าวซึ่งความที่เวทนาหยาบและเวทนา-

ละเอียด โดยลักษณะแห่งกุศลติกะของธรรมมีกุศลเป็นต้น โดยลักษณะแห่ง
เวทนาติกะของเวทนามีสุขเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.
อีกอย่างหนึ่ง ในพระดำรัสที่ตรัสในกุศลติกะว่า เวทนาที่เป็นกุศล
และอกุศลเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้นั่น อาจารย์
รูปหนึ่งย่อมกล่าวว่า เวทนาที่เป็นกุศลแม้เป็นโลกุตรเวทนาก็ชื่อว่า เวทนา
หยาบ
เวทนาที่เป็นวิบากโดยที่สุดแม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับทวิปัญจวิญญาณ
ชื่อว่า เวทนาละเอียด ดังนี้. อาจารย์นั้นกระทำโลกุตรเวทนาอันสงบ
ประณีตเห็นปานนี้ ให้ชื่อว่า เวทนาหยาบ กระทำอยู่ซึ่งเวทนาอันสัมปยุต
ด้วยทวิปัญจวิญญาณอันเป็นอเหตุกะอันทรามเขลา ให้ชื่อว่า เวทนาละเอียด
ประสงค์จะรักษาติกะ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายธรรมภูมิอื่น. แต่อาจารย์
ผู้กล่าวประกอบกุศลในภูมินั้น ๆ กับด้วยวิบากในภูมินั้น ๆ ชื่อว่า ย่อมไม่
ทำลาย.

บรรดานัยเหล่านั้น มีนัยที่พึงทราบดังต่อไปนี้
จริงอยู่ อาจารย์ผู้กล่าวโดยทำนองนี้ว่า ก็เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศล
เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็น
รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจร
อรูปาวจร และโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.
แต่พระจุฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ในอกุศลไม่ควรยก
ชื่อเวทนาว่าหยาบและละเอียด เพราะอกุศลนั้นเป็นสภาพหยาบโดยส่วนเดียว
เท่านั้น แม้ในโลกุตระก็ไม่ควรยกความที่เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบและละเอียด
เพราะโลกุตระนั้น เป็นสภาวะละเอียดโดยส่วนเดียว ดังนี้. พวกอันเตวาสิก
ได้นำถ้อยคำนี้มาบอกแก่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกว่า พระเถระกล่าว
อย่างนี้.

ฝ่ายพระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธะ
ตรัสพระอภิธรรมไว้ในฐานะที่มาของบทหนึ่งก็ดี สองบทก็ดี ชื่อว่า มิได้ทรง
ประทานนัยในฐานะที่ควรประทานย่อมไม่มี ชื่อว่า มิได้ทรงกระทำนัยในฐานะ
ที่ควรกระทำก็ไม่มี แต่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เที่ยวพูดอยู่ว่า กระผม
เป็นอาจารย์ เพื่อจะยกความที่เวทนาในอกุศลเป็นเวทนาหยาบและละเอียดขึ้น
ก็รังเกียจ แต่พระสัมมาสัมพุทธะทรงยกความที่เวทนาเหล่านั้นเป็นเวทนาหยาบ
และละเอียด ขึ้นแม้ในโลกุตระ ดังนี้ ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงยกพระสูตร
นี้มาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปฏิปทา 4 เหล่านั้น ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้
ช้านี้ เรียกว่าปฏิปทาเลวโดยเหตุทั้งสองทีเดียว คือ เพราะความลำบาก และ
เพราะตรัสรู้ช้า " ดังนี้. ที่จริง ในพระสูตรนี้ตรัสปฏิปทา 4 ไว้เป็นปฏิปทา
คละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ ไม่พึงเพ่งถึงนัยข้างต้น บัณฑิตพึงกล่าว
ด้วยอำนาจแห่ง ตังตังวาปนกนัย เท่านั้น.
จริงอยู่ เวทนาที่เป็นอกุศลมี 2 อย่าง คือ เวทนาที่เกิดพร้อมกับ
โลภะ และเวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะ ในเวทนาทั้ง 2 นั้น เวทนาที่เกิด
พร้อมกับโทสะเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นเวทนาละเอียด แม้
เวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะก็มี 2 อย่าง คือ นิยตเวทนา อนิยตเวทนา. บรรดา
เวทนาทั้ง 2 นั้น นิยตเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด
อนึ่ง นิยตเวทนาคือเวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนา
ไม่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปถ้าเป็นอสัง-
ขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด.
แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับโลภะก็มี 2 อย่าง คือ ทิฏฐิคตสัมปยุต และ
ทิฏฐิวิปยุต. ในเวทนาทั้ง 2 นั้น เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็น
เวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นเวทนาละเอียด แม้

เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ถ้าเป็นนิยตะก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็น
อนิยตะก็เป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิดแม้นั้นถ้าเป็น
อสังขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด. ว่าโดยย่อ
เวทนาใดถึงอกุศลแล้วให้วิบากมาก เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้วิบากน้อย
เป็นเวทนาละเอียด ส่วนเวทนาที่ถึงกุศลให้วิบากน้อยเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้
วิบากมากเป็นเวทนาละเอียด.
ในกุศล 4 อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนา
ที่เป็นรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลนั้น ก็เป็น
เวทนาหยาบ ที่เป็นอรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เป็นอรูปา-
วจรกุศลก็เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นโลกุตรกุศลก็เป็นเวทนาละเอียด. นัยนี้
โดยไม่ต่างกัน ในภูมิทั้ง 4 ก่อน.
แต่ว่าโดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรมี 3 อย่าง ด้วย
อำนาจแห่ง ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย.
บรรดาเวทนาทั้ง 3 นั้น เวทนาที่สำเร็จด้วยการให้ทานเป็นเวทนา
หยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยการรักษาศีลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่สำเร็จ
ด้วยการรักษาศีลนั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาเป็นเวทนา
ละเอียด เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาแม้นั้นก็มี 2 อย่าง คือ เป็นทุเหตุกะ
(ประกอบด้วยเหตุ 2) และติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ 3) ใน 2 อย่างนั้น
เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ 2 เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ 3
เป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาประกอบด้วยเหตุ 3 ก็มี 2 อย่าง โดยเป็น
สสังขาริก และอสังขาริก. ในบรรดาเวทนาทั้ง 2 นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริก
เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริก เป็นเวทนาละเอียด. ในรูปาวจร เวทนา
ที่เกิดพร้อมกับกุศลในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับกุศลในทุติย-

ฌาน ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด เวทนา
ที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิด
พร้อมกับกุศลในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับ
กุศลในอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เกิด
พร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เกิด
พร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนา
ที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาแม้
นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคเป็นเวทนา
ละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ
เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตมรรคเป็นเวทนาละเอียด.
ในวิบาก 4 อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาหยาบ
เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากแม้นั้น
ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด.
นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน.
แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากที่เป็น
อเหตุกะ (ไม่ประกอบด้วยเหตุ) มีอยู่ ที่เป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ)
ก็มีอยู่ แม้เวทนาที่เป็นสเหตุกะก็มี 2 คือ เวทนาที่เป็นทุเหตุกะ (ประกอบ
ด้วยเหตุ 2) มีอยู่ ที่เป็นติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ 3) ก็มีอยู่.
ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นเวทนาหยาบ ที่
เป็นสเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นสเหตุกะแม้นั้น ที่เป็นทุเหตุกะ
เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นติเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. แม้ในเวทนาที่เป็นติเหตุกะ
นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด

เวทนาที่เป็นวิบากของปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นวิบากของทุติยฌานเป็น
เวทนาละเอียด ฯลฯ ที่เป็นวิบากของ จตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนา
ที่เป็นวิบากของจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นวิบากของ
อากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของอากาสานัญจาย-
ตนะแม้นั้นก็ยังหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญาตนะแม้นั้นก็ยัง
เป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้นก็ยัง
เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลเป็นเวทนาละเอียด เวทนา
ที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับ
สกทาคามิผล ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตผลเป็นเวทนาละเอียด.
ในบรรดากิริยาทั้ง 3 ภูมิ เวทนาที่เป็นกิริยาในกามาวจรเป็นเวทนา
หยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาใน
รูปวจรแม้นั้นก็ยังหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด.
นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน.
แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน ในกามาวจรกิริยาที่ทรงแยกไว้ด้วย
อำนาจเวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นต้น เวทนาที่เป็นอเหตุกกิริยาเป็นเวทนาหยาบ
ที่เป็นสเหตุกกิริยาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นทุเหตุกกิริยาแม้นั้นก็เป็น
เวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นติเหตุกิริยาเป็นเวทนาละเอียด. ในเวทนาที่เป็น
เหตุกกิริยาแม้นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริก
เป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ เวทนา
ที่เป็นกิริยาในทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในทุติยฌานแม้
นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในตติยฌาน ฯลฯ เวทนาที่เป็น
กิริยาในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในจตตุถฌานแม้นั้น
ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนา

ละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
เวทนาที่เป็นกิริยาในวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาใดหยาบ เวทนานั้นทราม. เวทนา
ใดละเอียด เวทนานั้นประณีต.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาทูรทุกะ

(บาลีข้อ 13)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาทูรทุกะ (ไกลใกล้) ต่อไป.
เวทนาเป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาไกล จากเวทนาที่เป็นกุศลและ
อัพยากต ด้วยอรรถว่าไม่เสมอกัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน บัณฑิต
พึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาพไกล ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
จริงอยู่ แม้ว่าคน 3 คนผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาที่เป็นอกุศลเป็นต้น
และพร้อมด้วยเวทนามีทุกข์เป็นต้น นั่งในเตียงเดียวกันไซร้ เวทนาเหล่านั้น
ของบุคคลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่า ไกลกัน นั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเวทนาไม่เสมอ
กัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน. แม้ของในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาของ
บุคคลผู้เข้าสมาบัติเป็นต้น.
ส่วนเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาใกล้ ด้วยอรรถว่ามีส่วน
เสมอกัน และด้วยอรรถว่าเหมือนอกุศล บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็น
สภาวะใกล้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ก็ถ้าบุคคล 3 คน ผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนา
มีอกุศลเป็นต้น คนหนึ่งเกิดในกามภพ คนหนึ่งเกิดในรูปภพ คนหนึ่งเกิดใน
อรูปภพ เวทนาเหล่านั้น ของบุคคลแม้เหล่านั้น ชื่อว่า เวทนาใกล้กันทั้งนั้น
ด้วยอรรถว่าเสมอกัน และด้วยอรรถว่าคล้ายกัน. แม้ในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
เวทนามีกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.