เมนู

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังนี้แล สังขาร
ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย

เป็นต้น1 อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
2 เป็นต้น.
ในที่บางแห่ง ทรงแสดงธรรมแม้ทั้ง 2 เป็นมูล คือ อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลผู้มีอวิชชานิวรณ์ ประกอบพร้อมด้วย
ตัณหาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ และกายนี้ด้วย นามรูปภายนอกทั้งนี้ย่อม
มีด้วยประการฉะนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปภายนอกทั้ง 2 จึงเกิด
ผัสสะ สฬายตนะทั้งหลาย คนพาลผู้อันผัสสะและสฬายตนะทั้ง 2
เหล่าใด ถูกต้องแล้ว ก็ย่อมเสวยเฉพาะสุขหรือทุกข์
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาเทศนาเหล่านั้น ๆ เทศนานั้นอธิการนี้ ด้วยอำนาจอวิชชาว่า
สังขารทั้งหลายย่อมเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า
เป็นธรรมอันหนึ่งที่เป็นมูล (เอกธมฺมมูลิกา).
พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างแห่งเทศนาในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ข้อว่า โดยอรรถ ได้แก่ โดยอรรถ (เนื้อความ) แห่งบททั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นต้น คืออย่างไร คือ กายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า อวินฺทิยํ
(ธรรมชาติไม่ควรได้) เพราะอรรถว่าไม่ควรบำเพ็ญ คือสิ่งที่ไม่ควรได้
(วิเคราะห์ว่า) ตํ อวินฺทิยํ วินฺทตีตํ อวิชฺชา ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะ
อรรถว่า ย่อมได้สิ่งที่ไม่ควรได้นั้น.
1. สํ. นิทาน. เล่ม 16. 69/37 2. สํ. นิทาน เล่ม 16. 196/102

กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมชาติที่ควรได้ เพราะเป็นภาวะ
ตรงกันข้ามกับกายทุจริตเป็นต้นนั้น. (วิเคราะห์ว่า) ตํ วินฺทิยํ น วินฺทตีตํ
อวิชฺชา
ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ได้สิ่งที่ควรได้นั้น.
ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำ (ปัญญา) ไม่ให้รู้แจ้ง
ซึ่งอรรถ (เนื้อความ) แห่งกองขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งการเกิดของอายตนะ
ทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งความว่างเปล่าของธาตุทั้งหลาย ซึ่งอรรถอันแท้จริงของ
สัจจะทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งความเป็นอธิบดีของอินทรีย์ทั้งหลาย.
ที่ชื่อว่า อวิชชา แม้เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำอรรถอย่างละ 4*
ตามที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจการบีบคั้นเป็นต้นของทุกข์เป็นต้น.
* ในวิสุทธิมรรคบาลีตอนญาณทัสสนวิสุทธิ หน้า 346 แสดงว่า
ทุกฺขสฺส บีฬนฏฺโฐ ทุกข์มีความบีบคั้นเป็นอรรถ
สงฺขตฏฺโฐ มีความปรุงแต่งเป็นอรรถ
สนฺตาปฏฺโฐ มีความให้เร่าร้อนเป็นอรรถ
วิปริณามฏฺโฐ มีความแปรปรวนเป็นอรรถ
สมุทยสฺส อายูหนฏฺโฐ สมุทัยมีอันประมวลมาเป็นอรรถ
นิทานฏฺโฐ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นอรรถ
สํโยคฏฺโฐ มีอันประกอบไว้เป็นอรรถ
ปสิโพธฏฺโฐ มีความกังวลใจเป็นอรรถ
นิโรธสฺส นิสฺสรณฏฺโฐ นิโรธมีอันสลัดออกเป็นอรรถ
วิเวกฏฺโฐ มีความสงัดจากทุกข์เป็นอรรถ
อสงฺขตฎฺโฐ มีสภาวะไม่ปรุงแต่งเป็นอรรถ
อมตฏิโฐ มีอมตะเป็นอรรถ
มคฺคสฺส นิยฺยานฏิโฐ มรรคมีการนำออกเป็นอรรถ
เหตวฏฺโฐ มีอันเป็นเหตุเป็นอรรถ
ทสฺสนฏฺโฐ มีการเห็นนิพพานเป็นอรรถ
อธิปเตยฺยฏฺโฐ มีความเป็นอธิบดีในการสำเร็จกิจเป็นอรรถ.

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้แล่นไปในสงสาร
อันไม่มีที่สุด คือ ในกำเนิด คติ ภพ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส.
ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมแล่นไปในหญิงชายเป็นต้น
อัน ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ย่อมไม่แล่นไปในธรรมมีขันธ์เป็นต้น แม้อันเป็นของ
มีอยู่.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อวิชชา แม้เพราะปกปิดธรรมซึ่งอาศัย
กันและกันเกิดขึ้นแห่งปฏิจจสมุปบาทด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์มีจักขุวิญญาณ
เป็นต้น ยํ ปฏิจฺจ ผลเมติ โส ปจฺจโย ผลอาศัยธรรมใดเกิดขึ้นเป็น
ไป เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ปัจจัย. คำว่า ปฏิจฺจ (อาศัย)
ได้แก่ ไม่เว้นธรรมนั้น คือเว้นธรรมนั้นแล้วก็ไม่ปรากฏ. คำว่า เอติ*
ได้แก่ ย่อมเกิดขึ้น และย่อมเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง อรรถแห่งปัจจัยมีความ
หมายถึงอุปการธรรม.
อวิชชา จ สา ปจฺจโย จาติ อวิชฺชาปจฺจโย อวิชชานั้นด้วย
เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อวิชชาปจฺจโย (อวิชชาเป็นปัจจัย).
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. สํขตมภิสํขโรฺตีติ สํขารา ธรรมที่ชื่อว่า
สังขารทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม.
อีกนัยหนึ่ง สังขาร มี 2 อย่าง คือ
สังขารที่มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย 1
สังขารที่มาด้วยศัพท์ว่า สังขาร 1
บรรดาสังขารทั้ง 2 นั้น สังขารที่มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย 6
เหล่านี้ คือ สังขาร 3 ได้แก่ ปัญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร
* คำว่า เอติ แยกมาจากบทว่า ผลเมติ

อาเนญชาภิสังขาร และสังขาร 3 กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
สังขารเหล่านั้นแม้ทั้งหมดสักว่าเป็นโลกิยกุศล และอกุศลเท่านั้น.
ก็สังขาร ที่มาแล้วโดยสังขารศัพท์เหล่านั้น คือ สังขตสังขาร
อภิสังขตสังขาร อภิสังขรณกสังขาร ปโยคาภิสังขาร.
บรรดาสังขาร
เหล่านั้น ธรรมพร้อมทั้งปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในประโยคมีอาทิว่า
อนิจฺจา วต สํขารา แม้ทั้งหมด ชื่อว่า สังขตสังขาร. รูปธรรม
อรูปธรรมเป็นไปในภูมิ 3 ที่เกิดแต่กรรมซึ่งกล่าวไว้ในอรรถกถา ชื่อว่า
อภิสังขตสังขาร. รูปธรรมและอรูปธรรมแม้เหล่านั้น ย่อมสงเคราะห์ใน
บาลีนี้ว่า อนิจฺจา วต สํขารา ดังนี้ทั้งหมด แต่อาคตสถานแห่งธรรม
เหล่านั้น ไม่ปรากฏส่วนหนึ่ง ก็เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นไปในภูมิ 3
ท่านเรียกว่า อภิสังขรณกสังขาร. อาคตสถานแห่งอภิสังขรณกสังขารนั้น
ย่อมปรากฏในประโยคมีคำว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา
ถ้าอภิสังขารคือบุญ ย่อมปรุงแต่ง ดังนี้เป็นต้น. อนึ่ง ความเพียรอันเป็น
ไปทางกายและจิต ท่านเรียกว่า ปโยคาภิสังขาร. ปโยคาภิสังขารนั้นมาใน
ประโยคว่า "ล้อนั้น เมื่อนายช่างรถหมุนไป ก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุน
ไปแล้วตั้งอยู่เหมือนอยู่ในเพลา ฉะนั้น2" เป็นต้น.
อนึ่ง มิใช่แต่สังขารเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้สังขารเหล่าอื่นเป็น
อเนก ที่มาโดยศัพท์สังขาร โดยนัยมีอาทิว่า "ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุ
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับ ต่อ
จากนั้น จิตสังขารก็ย่อมดับ3" ดังนี้ บรรดาสังขารเหล่านั้น สังขารที่ไม่
สงเคราะห์เข้าให้สังขตสังขาร ย่อมไม่มี.
1. อํ ติก. เล่ม 20. 454/141 2. อํ ติก เล่ม 20. 454/141
3. ม. มูล เล่ม 12. 510/551

เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำใดที่ตรัสไว้ในประโยคมีอาทิว่า สํขารปจฺจยา
วิญฺญาณํ
(วิญญาณเกิด เพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ คำนั้น พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ส่วนในคำที่ยังมิได้กล่าวนั้น พึงทราบวินิจฉัย
ต่อไปนี้
วิชชานาตีติ วิญฺญาณํ ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้แจ้ง.
นมตีติ นามํ ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า ย่อมน้อมไป.
รุปฺปตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมสลาย.
อาเย ตโนติ อายตญฺจ นยตีติ อายตนํ ที่ชื่อว่า อายตนะ
เพราะอรรถว่า ย่อมแผ่ไปซึ่งกาย (นามรูป) อันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ และ
ย่อมนำไปสู่สังสารอันยาวนาน.
ผุสตีติ ผสฺโส ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง.
เวทยตีติ เวทนา ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์.
ปริตสฺสตีติ ตณฺหา ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่า ทะยานอยาก.
อุปาทิยตีติ อุปาทานํ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่น.
ภวติ ภาวยติ จาติ ภโว ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็น
และย่อมให้เป็น.
ชนนํ ชาติ ความเกิด ชื่อว่า ชาติ.
ชิรณํ ชรา ความคร่ำคร่า ชื่อว่า ชรา.
มรนฺติ เอเตนาติ มรณํ ชื่อว่า มรณะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุตาย
ของสัตว์ทั้งหลาย. โสจนํ โสโก ความเศร้า ชื่อว่า โสกะ ปริเทวนํ ปริเท-
โว
ความร้องคร่ำครวญ ชื่อว่า ปริเทวะ ทุกฺขยตีติ ทุกฺขํ ชื่อว่า ทุกข์

เพราะอรรถว่า ทำให้ลำบาก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า
ย่อมขุด 2 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอุปปาทะและฐีติ. ทุมฺมนสฺส ภาโว ภาวะ
แห่งทุมนัส ชื่อว่า โทมนัส. ภูโส อายาโส อุปายาโส ความดับแค้น
ใจอย่างมาก ชื่อว่า อุปายาส.
บทว่า สมฺภวนฺติ แปลว่า ย่อมเกิด บัณฑิตพึงทำการประกอบศัพท์
สมฺภวนฺติ ด้วยบทมีความโศกเป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้
ควรทำประกอบด้วยบททั้งหมด เพราะเมื่อกล่าวว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา
นอกจาก สมฺภวนฺติ ศัพท์นี้ ธรรมคืออวิชชาและสังขารก็ไม่พึงปรากฏว่า.
ย่อมกระทำซึ่งกิจอะไรกัน แต่เมื่อมีการประกอบด้วยบทว่า สมฺภวนฺติ ศัพท์
ก็เป็นอันกำหนดธรรมที่เป็นปัจจัยและธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย* ว่า อวิชชา
นั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่า อวิชชาเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลาย
จึงเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้. ในบททั้งหลายก็นัยนี้.
บทว่า เอวํ (ด้วยประการฉะนี้) นี้เป็นบทอธิบายนัยแห่งปฏิจจสมุป-
บาทที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อธิบายว่า ด้วยบทว่า เอวํ นั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมที่เป็นปัจจยาการเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะเหตุ
ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น เท่านั้นมิใช่เกิดขึ้นด้วยเหตุมีพระอิศวรเนรมิตเป็นต้น.
บทว่า เอตสฺส (นี้) ได้แก่ ตามที่กล่าวแล้ว.
บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ (กองทุกข์) ที่ไม่ปะปนกัน หรือว่า
ทั้งมวล.
* คือที่เป็น ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม.

บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส (กองทุกข์) ได้แก่ ประชุมแห่งทุกข์
มิใช่ประชุมแห่งสัตว์ มิใช่ประชุมแห่งวิปัลลาสมีความสุขและความงามเป็นต้น
บทว่า สมุทโย ได้แก่ ความเกิด.
บทว่า โหติ ได้แก่ ย่อมเกิด.
พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น


ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น ได้แก่ โดยธรรม 4 มีลักษณะเป็นต้น
แห่งปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้น อย่างไร ? คือ อวิชชา
1. อญาณลกฺณา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ
สมฺโมหนรสา มีความหลงเป็นกิจ
ฉาทนปจฺจุปฏฺฐานา มีความปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์
เป็นปัจจุปัฏฐาน
อาสวปทฏฺฐานา มีอาสวะเป็นปทัฏฐาน
2. อภิสํขรณลกฺขณา สังขารทั้งหลายมีการปรุงแต่งเป็น
ลักษณะ
อายูหนรสา มีความขวนขวายเป็นกิจ
เจตนาปจฺจุปฏฺฐานา มีเจตนาเป็นปัจจุปัฏฐาน
อวิชฺชาปทฏฺฐานา มีอวิชชาเป็นปทัฏฐาน
3. วิชานนลกฺขณํ วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเป็นประธานเป็นกิจ